อุปกรณ์ป้องกันการตก

แชร์บทความนี้


อุปกรณ์ป้องกันการตก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถทำงานในสถานที่เสี่ยงอันตรายในการพลัดตกลงมา โดยเฉพาะใน การปฏิบัติงานบนที่สูงเกิน 4 เมตร

การป้องกันการตกมีอยู่ 3 ประเภท
1.การป้องกันในสถานที่ทำงาน
– มีการจัดระบบงานเพื่อที่จำกัดการทำงานบนที่สูง
– ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการตกเพื่อลดความเสี่ยง เช่น นั่งร้าน,ตาข่าย
– ใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกส่วนบุคคลเมื่อไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการตกได้
2. การป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน
– การฝึกอบรมให้กับผู้ที่ต้องขึ้นไปปฏิบัติงานบนที่สูง
3. การป้องกันโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันการตก
– โดยการใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานให้ขอใบรับรองผลการทดสอบจากโรงงานผู้ผลิต
– ไม่สร้างระบบการป้องกันการตกด้วยตนเอง

องค์ประกอบหลักของระบบการป้องกันการตก
3 Elements of Fall Protection System:

1. จุดยึด Anchor Point (tie-off point): (ดูตัวอย่างอุปกรณ์ กดที่นี่)
จุดยึดคือจุดที่เอาไว้สำหรับยึดตัวกับฐานหรือโครงสร้างต่างๆ โดยตามมาตรฐาน ANSI ของอเมริกา อุปกรณ์ต้องสามารถรับแรงได้อย่างน้อย 22 KN (5000lb) การใช้งานควรอยู่ในตำแหน่งเหนือหัวขึ้นไปและอยู่ในแนวเดียวกับผู้ใช้ เพื่อป้องกันการลดระยะการตกและลดการเหวี่ยงตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากการกระแทกกับโครงสร้าง


2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ Connecting Device (lanyard & Connector): (ดูตัวอย่างอุปกรณ์ กดที่นี่)

อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connector) จะมีอยู่อย่างน้อย 2 จุดคือจุดที่เชื่อมต่อกับจุดยึด (Anchor Point Connector) และจุดที่ยึดกับตัว Harness (Harness Connector) จะต้องทนต่อการกัดกร่อนผิวจะต้องเรียบ ไม่มีรอยเชื่อม และทำจากเหล็กที่ผ่านการหล่อขึ้นรูปหรือ ปั๊มขึ้นรูป (ตัวเชื่อมต่อ 1 จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างจุดยึดกับอุปกรณ์ป้องกันการตก จะต้องไม่มีรอยร้าว รอยแตก หรือการเปลี่ยนรูปถาวรรับแรงอย่างน้อย 16KN

เชือก (Landyard) การใช้งานจะใช้สำหรับรักษาตำแหน่งการทำงานของผู้ใช้และป้องกันการตก
– เชือกในลักษณะรักษาตำแหน่ง (Restrain Lanyard) ความยาวเชือกควรมีระยะสั้นที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้ใช้พลัดตกไปเกิน 2 ฟุต ซึ่งเชือกสามารถทำจากวัสดุได้หลายชนิดทั้ง ลวดสลิง, โซ่, เชือกไนล่อน (โพลีเอไมด์)

– เชือกสำหรับป้องกันการตก (Fall Absorbing Lanyard) จะทำจากเหล็ก ไนล่อน(โพลีเอไมด์)หรือเส้นใย Dacron โดยอาจจะมีเสริมอุปกรณ์ดูดซับแรง (Shock-Absorb) เพื่อลดแรงกระแทกเวลาตก ซึ่งให้จำไว้ว่าเชือกจะต้องช่วยไม่ทำให้เกิดแรงสูงสุดที่เข็มขัดรัดลำตัว (Full-Body Harness)เกิน 1800 ปอนด์เวลาตก และความยาวเชือกสูงสุดจะต้องไม่ทำให้ผู้ใช้งานตกลงมาเกิน 6 ฟุต

เชือกช่วยชีวิต (Lifelines) เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการใช้งานให้กับระบบการป้องกันการตก โดยจะใช้ร่วมกับอุปกรณ์ยึดจับเชือก(Rope Grap) เชือกช่วยชีวิตทำให้ผู้ใช้งานเคลื่อนไหวได้ไปตามความยาวของเชือกที่ขึงอยู่ แทนที่จะต้องปลดและหาจุดยึดใหม่ตลอดเวลา โดยอุปกรณ์ยึดจับเชือก(Rope Grap) จะทำหน้าที่ยัดจับเชือกโดยอัตโนมัติที่เกิดการตกขึ้น นอกจากนี้ยังมีเชือกช่วยชีวิตแบบที่หดกลับอัตโนมัติ(Retractable lifelines) ซึ่งเชือกแบบนี้ไม่ต้องใช้ Rope Grap เนื่องจากมันจะหดกลับเองดัตโนมัติเมื่อมีการตกขึ้น

อุปกรณ์ป้องกันการตก
อุปกรณ์ป้องกันการตก
อุปกรณ์ป้องกันการตก

3. เข็มขัดแบบรัดทั้งตัว Body wear (full body harness) (ดูตัวอย่างอุปกรณ์ กดที่นี่)
ใส่โดยผู้ใช้งาน โดยต้องสวมใส่ทั้งตัวไม่ใช่จุดใดจุดหนึ่ง เป็นอุปกรณ์ดึงผู้ปฏิบัติงานถ้ามีการตก โดยHarness จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงานและจะต้องมีจุดเชื่อมต่ออย่างน้อย 1 จุดซึ่งปกติจะอยู่ทางด้านหลัง สายรัดกันตกต้องทำจากวัสดุอ่อนนุ่มแต่ทนทาน ทำจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น โพลีเอไมด์ หรือ โพลีเอสเตอร์ ป้องกันการบาดเจ็บโดยการตกจากที่สูง

อุปกรณ์ป้องกันการตก
อุปกรณ์ป้องกันการตก

***เมื่อเกิดการตกขึ้นให้ทำการเปลี่ยนโดยทันทีและไม่แนะนำกลับมาใช้อีกครั้งจนกว่าจะได้ทำการตรวจสอบจากผู้ชำนาญหรือผู้ผลิตในความเสียหายและความเหมาะสมที่จะใช้งานต่อหรือไม่

สามารถดูตัวอย่างอุปกรณ์กันตกได้ที่นี่

แหล่งที่มา

  • 29 CFR 1926.104, Safety Belts, Lifelines and Lanyards
  • ANSI A10.14-1991, Standard for Construction and Demolition Operations-Requirements for Safety Belts, Harnesses, Lanyards and Lifelines for Construction and Demolition Use.
  • ANSI Z359.1-1992, Standard for Personal Arrest Systems, Subsystems and Components.

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

การเลือก “หนัง” รองเท้าเซฟตี้

แชร์บทความนี้

รองเท้านิรภัย หรือรองเท้าเซฟตี้ ตามมาตรฐานทั้ง มอก. และ EN20345 ได้ กำหนดคุณสมบัติของหนัง รองเท้านิรภัย ให้สามารถทำได้จาก หนังแท้

อ่านต่อ »

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านเพิ่มเติม »