อุปกรณ์ป้องกันร่างกายสำหรับการทำความสะอาดหลังน้ำท่วม
(Personal Protective Equipment for Cleaning after Flooding)
การทำความสะอาดหลังน้ำลด เราต้องใช้เวลา ความอดทนและความระวังเป็นอย่างมาก เพราะพื้นที่ที่เป็นบ้าน บริษัทหรือโรงงานของเรา ตอนนี้สภาพอาจคล้ายสภาพหลัง สมรภูมิรบกันเลยทีเดียว มีทั้งเศษโคลน ขยะ เศษสิ่งของ ซึ่งอาจจะมีการแตกหักจนมีคม สารเคมีที่หลุดออกมาในน้ำ รวมถึงกลิ่นขยะเน่าเหม็น ผสมกับสารเคมีนานาชนิด
ในการทำความสะอาดสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การป้องกันตนเองของผู้ทำ เช่น การใส่ถุงมือยาง, รองเท้าบู๊ต ซึ่งสำคัญมากพอๆกับการใส่หน้ากากนิรภัยในการทำงาน ใส่ถุงมือยางและรองเท้าบู๊ตช่วยป้องกันการสัมผัสโดนเชื้อโรคเชื้อราสารเคมี, ของมีคม รวมถึงป้องกันไฟดูด ส่วนหน้ากากนิรภัย ช่วยป้องกันกลิ่นเหม็น การหายใจเอาสปอร์ของเชื้อโรค แบคทีเรียต่างๆ และไอระเหยของสารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งในระหว่างการทำความสะอาดควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศระบายได้มากที่สุด อาจเปิดพัดลมเพดานช่วยระบายอากาศ
**ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะเชื้อต่างๆจะถูกดูดเข้าไปอยู่ในระบบปรับอากาศ และจะกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เชื้อราต่อไป เป็นภัยเงียบที่เรามองไม่เห็น
**หากสิ่งของใดๆ ที่ได้เกิดเชื้อราขึ้นแล้ว ให้นำออกไปทำความสะอาดในที่ๆอากาศถ่ายเทและห่างออกไปจากตัวอาคาร เพื่อไม่ให้สปอร์ของเชื้อรากระจายเข้าไปอยู่ในบ้าน หากเกิดเชื้อราเกิดขึ้นแล้ว บนพื้นผิวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้น, ผนัง,เพดาน หรือเฟอร์นิเจอร์ ควรจะต้องใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดเพื่อไม่ให้เชื้อฟุ้งกระจาย ก่อนจะล้างทำความสะอาดล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ อย่าลืมที่จะใส่เครื่องป้องกันตนเอง โดยเฉพาะหน้ากากกรองอากาศ ผ้าปิดปากปิดจมูก ถุงมือยาง รองเท้าบู๊ตเพื่อป้องกันตนเอง
(ข้อมูลประกอบ http://www.iurban.in.th/highlight/cleanhouseafterflooding/)
คราวนี้เรามาทำความรู้จักอุปกรณ์ป้องกันร่างกายที่จะช่วยให้เราสามารถทำความสะอาดได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากขึ้น
แว่นครอบตากันละอองน้ำและสารเคมี
--- ใช้ป้องกันดวงตาจากละอองน้ำสกปรก และสารเคมี ควรใช้แว่นครอบตาที่ มีวาล์วระบายความร้อน ไม่ควรเลือกแว่นตาที่ช่องระบายอากาศเป็นรูๆ เนื่องจากน้ำและเชื้อโรคสามารถเข้าได้
ถุงมือ
--- ถุงมือที่เหมาะสำหรับทำความสะอาดหลังน้ำท่วมคงหนีไม่พ้นถุงมือยางสำหรับแม่บ้านทั่วไปเนี่ยแหละ ใช้ได้อเนกประสงค์ทั้งล้างทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายสิ่งของ อย่างไรเพื่อให้ปลอดภัยในการเก็บของ และขยะซึ่งอาจจะมีสิ่งของที่แตกหักหรือมีคม ความหนาของถุงมือก็ไม่ควรจะให้บางเกินไปนัก
หรือถ้าต้องการถุงมือที่เน้นการเคลื่อนย้ายของหนักโดยเฉพาะไม่ได้เอาไปล้างหรือจุ่มน้ำ ก็แนะนำให้ใช้ถุงมือผ้าเคลือบยางไปเลย จะได้ยกของได้สะดวกและป้องกันของมีคมได้ด้วย
หน้ากากนิรภัย
---- โดยทั่วไปอันตรายที่มาจากการหายใจในช่วงน้ำลด จะแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ
1.อันตรายจากฝุ่นละออง เชื้อโรค สปอร์ของเชื้อรา เชื้อโรคในอากาศ
2. กลิ่นเหม็นจากขยะ สิ่งปฎิกูล และ ไอระเหยจากสารเคมีต่างๆที่รั่วไหลออกมา
ดังนั้น จึงควรเลือกหน้ากากนิรภัยที่เหมาะสมกับหน้างาน ดังนี้
1. หน้ากากอนามัย N95 หรือ P2 สามารถกรองอนุภาคได้ถึง 0.3 ไมครอนและประสิทธิภาพในการกรอง 95% เหมาะจะใช้สำหรับการป้องกันฝุ่นและเชื้อโรคต่างๆ ในอากาศ เหมาะสำหรับหน้างานที่ไม่มีสารเคมี หรือกลิ่นจากขยะเน่าเหม็น (กลิ่นน้อยมาก)
2.หน้ากากอนามัย N95 หรือ P2 แบบมีคาร์บอน สามารถป้องกันฝุ่น เชื้อโรคและกลิ่นแบบเบาได้ เหมาะจะใช้ เหมาะสำหรับหน้างานกลิ่นสารเคมี หรือกลิ่นจากขยะเน่าเหม็นไม่รุนแรงนัก
1.หน้ากากไส้กรองเดี่ยว --- สำหรับหน้างานที่มีกลิ่นหรือไอสารเคมีเข้มข้นปานกลางถึงมาก น้ำหนักเบา คล่องตัว
2.หน้ากากไส้กรองคู่ --- สำหรับหน้างานที่มีกลิ่นหรือไอสารเคมีเข้มข้นปานกลางถึงมาก แต่เนื่องจากมีไส้กรองคู่จึงทำให้หายใจได้สะดวกกว่า หน้ากากไส้กรองเดี่ยว
นอกจากนี้ หน้ากากไส้กรองยังสามารถเพิ่มแผ่นกรองกันฝุ่นแบบ N95 ได้ ทำให้นอกจากกันกลิ่นแล้ว ยังสามารถกันเชื้อโรคได้อย่างดีด้วย
(ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.thai-safetywiki.com/index.php?option=com_content&view=category&id=38:knowledge-respirator&Itemid=53&layout=default )
ชุดกันละอองน้ำและสารเคมี
--- เป็นชุดสำหรับป้องกันการกระเด็นและละอองน้ำสกปรก และสารเคมี เวลาล้างทำความสะอาด แบ่งเป็น 2 ประเภท
รองเท้าบู๊ท
--- รองเท้าที่เหมาะสมก็คงหนีไม่พ้นรองเท้าบู๊ท ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะทำมาจากยางหรือ PVC หลังๆในตลาดมีให้เลือกเยอะมาก ชอบแบบไหนก็เลือกแบบนั้น แต่อาจไม่ต้องสูงเหมือนตอนลุยน้ำท่วม เพื่อความคล่องตัว เวลาใส่ก็ควรใส่ไว้ข้างใต้กางเกง หรือชุดกันละอองน้ำนะครับ (ต่างกับตอนลุยน้ำที่เอากางเกงใส่ไว้ในบู๊ทกันเปียก) แต่ถ้าในพื้นที่กองสิ่งของ หรือขยะเยอะมาก เพื่อความปลอดภัยก็อาจจะเลือกที่เป็นบู๊ทนิรภัย แบบมีหัวเหล็ก พื้นเหล็ก จะได้มั่นใจว่าปลอดภัยชัวร์ ไม่บาดเจ็บ
หวังว่าบทความนี้ คงเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังทำความสะอาดหลังน้ำท่วมกันบ้างนะครับ
Tag: ชุดทำความสะอาด, รองเท้าบูท, น้ำท่วม, ทำความสะอาด หลังน้ำท่วม, หน้ากากกันกลิ่น, ล้างทำความสะอาด หลังน้ำท่วม, ทำความสะอาดโรงงาน หลังน้ำท่วม, ชุดลุยน้ำ, ชุดกันน้ำ, หลังน้ำท่วม
ระดับชุดปฏิบัติงานสารเคมี
ชุดปฏิบัติงานสารเคมีมีการแบ่งระดับตามความสามารถในการป้องกันสารเคมีอย่างชัดเจนคือระดับ A, B, C และ D ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักบริหารการป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสหรัฐฯ (EPA) ทั้งนี้ เสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ในแต่ละระดับจะใช้ในการปฏิบัติงานขั้นเริ่มต้นของสถานการณ์ที่ระบุไว้ แต่หากปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทางที่เลวร้ายขึ้นก็ต้องเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันของเสื้อและอุปกรณ์เป็นระดับที่สูงขึ้น เช่น หากมีแนวโน้มความเป็นพิษสูงขึ้นหลังจากปฏิบัติงานไประยะหนึ่ง ควรจะใช้ชุดหมีไทเว็กซ์ (Tyvex coverall)หรือชุดกันกระเซ็นทำด้วยพีวีซี (PVC splash suits) สวมทับชุดป้องกันเดิมที่ใช้ในการทำงานอยู่ก่อนหน้านั้น
ชุดป้องกันระดับ A (Level A)
องค์ประกอบหลัก (Principle)
- ชุดป้องกันไอสารเคมี (Vapor protective suit) ที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน NFPA 1991
- เครื่องช่วยหายใจชนิดบรรจุอากาศในตัว (SCBA) ประกอบด้วย ถังอากาศอัดความดันและหน้ากากชนิดเต็มหน้า
- ถุงมือชั้นในชนิดต้านทานสารเคมี (Inner chemical-resistant gloves)
- รองเท้าบู๊ทนิรภัยชนิดต้านทานสารเคมี (Chemical-resistant safety boots)
- วิทยุสื่อสารที่รับและส่งได้ในตัว (Two- way radio communication)
องค์ประกอบเสริม (Optional)
-ระบบทำความเย็น (Cooling system)
- ถุงมือชั้นนอก (Outer gloves) สำหรับสวมทับถุงมือชั้นใน
-หมวกแข็ง (Hard hat)
การป้องกัน (Protection Provide)
- ป้องกันระบบหายใจให้นะระดับสูงสุด
- ป้องกันผิวหนังและตาจากสารเคมีทั้ง ที่เป็นของแข็ง ของเหลวและก๊าซ
ใช้งานเมื่อ (Use When)
- สามารถระบุชนิดของสารเคมีซึ่งมีระดับอันตรายสูงต่อระบบหายใจผิวหนังและตา
- สารที่มีอยู่เป็นที่ทราบหรือสงสัยว่ามีความเป็นพิษต่อผิวหนังหรือสามารถก่อมะเร็งได้
- การปฏิบัติงานจะต้องเข้าไปในพื้นที่อับอากาศ หรือมีการระบายอากาศในระดับต่ำ
ข้อจำกัด (Limitation)
- เนื้อผ้าที่ใช้ป้องกันต้องมีคุณสมบัติต่อต้านการซึมผ่าน (Resist permeation) ของสารเคมีหรือส่วนผสมที่มีอยู่
- องค์ประกอบของชุดป้องกันทั้งหมดจะต้องมีคุณสมบัติเข้ากันได้ (Integration) กับสิ่งแวดล้อมขณะนั้นและประสิทธิภาพการป้องกันต้องไม่ลดลง
ชุดป้องกันระดับ B (Level B)
องค์ประกอบหลัก (Principle)
- ชุดป้องกันการกระเซ็นของสารเคมีที่เป็นของเหลว (Liquid splash-protective suit)ที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน NFPA 1992
- เครื่องช่วยหายใจชนิดบรรจุอากาศในตัว (SCBA) ประกอบด้วย ถังอากาศอัดความดันและหน้ากากชนิดเต็มหน้า
- ถุงมือชั้นในชนิดต้านทานสารเคมี (Inner chemical-resistant gloves)
- รองเท้าบู๊ทนิรภัยชนิดต้านทานสารเคมี(Chemical-resistant safety boots)
- วิทยุสื่อสารที่รับและส่งได้ในตัว (Twoway radio communication)
- หมวกแข็ง (Hard hat)
องค์ประกอบเสริม (Optional)
- ระบบทำความเย็น (Cooling system)
- ถุงมือชั้นนอก (Outer gloves) สำหรับสวมทับถุงมือชั้นใน
การป้องกัน (Protection Provide)
- ป้องกันระบบหายใจในระดับเดียวกับชุดป้องกันระดับ A
- ป้องกันผิวหนังในระดับต่ำกว่าระดับชุดป้องกันระดับ A
- ป้องกันกระเซ็นของสารเคมีที่เป็นของเหลว แต่ไม่ป้องกันสารเคมีที่เป็นไอหรือก๊าซ
ใช้งานเมื่อ (Use When)
- สามารถระบุชนิดของสารเคมีได้ แต่ไม่ต้องการการปกป้องผิวหนังในระดับสูง
- มีการสำรวจเริ่มแรกในพื้นที่จนกระทั่งระบุอันตรายในระดับที่สูงขึ้นได้
- สามารถระบุได้ว่าอันตรายหลักในพื้นที่ภายในเป็นอันตรายจากสารเคมีในสถานะของเหลวและไม่ใช่การสัมผัสไอสาร
ข้อจำกัด (Limitation)
- เนื้อผ้าที่ใช้ป้องกันต้องมีคุณสมบัติต่อต้านการซึมผ่าน (Resist permeation) ของสารเคมีหรือส่วนผสมที่มีอยู่
- องค์ประกอบของชุดป้องกันทั้งหมดจะต้องมีคุณสมบัติเข้ากันได้ (Integration) กับสิ่งแวดล้อมขณะนั้น และประสิทธิภาพการป้องกันต้องไม่ลดลง
ชุดป้องกันระดับ C (Level C)
องค์ประกอบหลัก (Principle)
- เสื้อผ้าสนับสนุนการป้องกัน (Support Function Protective Garment) ที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน NFPA 1993
- หน้ากากป้องกันเต็มหน้าที่ติดไส้กรองอากาศ (Full-facepiece, air-purifying, canister-equipped respirator)
- ถุงมือป้องกันสารเคมีและรองเท้าบู๊ทนิรภัย (Chemical resistant gloves and safety boots)
- วิทยุสื่อสารที่รับและส่งได้ในตัว (Twoway communications system)
- หมวกแข็ง (Hard hat)
องค์ประกอบเสริม (Optional)
- กระบังหน้า (Faceshield)
- เครื่องช่วยหายใจ SCBA สำหรับการหนี (Escape SCBA)
การป้องกัน (Protection Provide)
- ป้องกันผิวหนังได้ในระดับเดียวกับชุดป้องกันระดับ B
- ป้องกันระบบหายใจได้ในระดับที่น้อยกว่าชุดป้องกันระดับ B
- ป้องกันการกระเซ็นของสารเคมีที่เป็นของเหลวแต่ไม่ป้องกันไอสารหรือก๊าซ
ใช้เมื่อ (Use When)
- เมื่อมีการสัมผัสกับสารเคมีที่ไม่มีผลกระทบต่อผิวหนัง
- มีการตรวจวัดชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนแล้ว
- ไส้กรองที่ใช้กับหน้าสามารถขจัดการปนเปื้อนได้
- มีการระบุลักษณะพิเศษของสารและอันตรายที่มีอยู่ได้
ข้อจำกัด (Limitation)
- เนื้อผ้าที่ใช้ป้องกันต้องมีคุณสมบัติต่อต้านการซึมผ่าน (Resist permeation) ของสารเคมีหรือส่วนผสมที่มีอยู่
- ปริมาณส่วนผสมสารเคมีที่ลอยอยู่ในอากาศจะต้องต่ำกว่าระดับที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพอย่างเฉียบพลัน (IDLH)
- ในบรรยากาศจะต้องมีผสมของก๊าซออกซิเจนไม่น้อยกว่า 19.5%
- ไม่ยอมรับให้ใช้ในปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมี (Not Acceptable for Chemical Emergency Response)
ชุดป้องกันระดับ D (Level D)
องค์ประกอบหลัก (Principle)
- ชุดหมี (Coveralls),
- บู๊ทนิรภัย/รองเท้านิรภัย (Safety boots/shoes)
- แว่นตานิรภัย หรือ ที่ครอบตากันการกระเซ็น (Safety glasses or chemical splash goggles)
องค์ประกอบเสริม (Optional)
- ถุงมือ
- เครื่องช่วยหายใจ SCBA สำหรับการหนี(Escape SCBA)
- กระบังหน้า (Faceshield)
การป้องกัน (Protection Provide)
- ไม่ป้องกันระบบหายใจ
- ป้องกันผิวหนังในระดับต่ำ
ใช้เมื่อ (Use When)
- ในบรรยากาศมีอันตรายไม่ทราบชนิด
- ในพื้นที่มีการปฏิบัติงานได้มีการป้องกันอันตรายต่างๆ ไว้แล้ว เช่น การกระเซ็น การจุ่ม หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อระบบหายใจหรือการสัมผัสสารเคมีอันตรายโดยตรง
ข้อจำกัด (Limitation)
- ไม่สามารถใช้ในพื้นที่ที่มีความร้อน
- ในบรรยากาศจะต้องมีส่วนผสมของก๊าซออกซิเจน ไม่น้อยกว่า 19.5%
- ไม่ยอมรับให้ใช้ในปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมี (Not Acceptable for Chemical
Emergency Response)
หมายเหตุ
- ชนิดของอุปกรณ์ที่ใช้และระดับการป้องกันทั้งหมดควรจะได้รับการวัดค่าเป็นระยะๆตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์สารเคมีหรือกระบวนการต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงกรณีผู้ปฏิบัติงานมีการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิม ทั้งนี้ระดับการป้องกันของบุคลากรจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับการอนมุติของหัวหน้าผู้ปฏิบัติในพื้นที่ (Site supervisor) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (Safety officer) หรือนักอาชีวอนามัยประจำโรงงาน (Plant industrial hygienist)
- ชุดป้องกันระดับต่างๆ ที่นำเสนอไปแล้วข้างต้น เป็นเพียงการแนะแนวทางเท่านั้นการนำไปใช้ในสถานการณ์จริงจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบว่ามีความเหมาะสมหรือเพียงพอที่จะป้องกันอันตรายที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งได้รับการประเมินหรือวัดค่าแล้วหรือไม่โดยมีสิทธิอันชอบธรรมจะโต้แย้งข้อมูลที่ระบุไว้ได้ว่าให้การป้องกันที่ไม่เพียงพอในแต่ละกรณี
- ระดับการป้องกันของชุดป้องกันสารเคมีตาม EPA ไม่ได้ระบุชัดถึงประสิทธิภาพของชุดที่เลือกใช้ว่าจะต้องมีค่าเท่าใด แต่ในส่วนของข้อจำกัดสามารถจะนำมาใช้อ้างอิงได้ อย่างไรก็ตาม สมควรที่จะต้องหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆรวมทั้งข้อมูลของผู้ผลิตสินค้าเสริมเข้ามาเพื่อให้การตัดสินใจมีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น
ที่มา: นิตยสาร safetylife