วิธีเลือก รองเท้าเซฟตี้ /รองเท้านิรภัย

แชร์บทความนี้

4 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนซื้อ รองเท้าเซฟตี้ /รองเท้านิรภัย ดังนี้

# 1) มาตรฐานการรับรองคุณภาพ

รองเท้าเซฟตี้

เกณฑ์พื้นฐานเพื่อให้แน่ใจว่ารองเท้านิรภัยหรือรองเท้าเซฟตี้นั้นได้มีคุณภาพการป้องกัน คือการได้รับการรับรอง อาทิ มาตรฐาน EN ของยุโรป, OSHA ของ USA, JIS ของญี่ปุ่น และ มอก ของไทย โดยข้อกำหนดจะแตกต่างกันไปตามแต่ละมาตรฐาน แต่ที่เป็นที่นิยมทั่วโลก จะเป็นมาตรฐาน EN ISO 20345 ซึ่งมาตรฐานที่ มอก ก็อ้างอิงคุณสมบัติตามมาตรฐานนี้เป็นพื้นฐาน สำหรับงานอุตสาหกรรมทั่วไปและก่อสร้าง ซึ่งตามมาตรฐานจะทดสอบการทนต่อแรงกระแทก 200 จูล (เทียบเท่ากับน้ำหนัก 20 กก. ตกลง 1020 มม. ที่นิ้วเท้า) และการทดสอบการบีบอัด 15KN (เทียบเท่ากับ 1.5 ตันที่วางอยู่บนบริเวณปลายเท้า)

นอกจากมาตรฐานรองเท้าเซฟตี้สำหรับอุตสาหกรรมแล้ว มาตรฐานทางยุโรปยังมีมาตรฐานอื่น สำหรับรองเท้าเซฟตี้ในงานที่มีความเสี่ยงน้อยหรืออุตสาหกรรมเบา และงานบริการต่างๆ คือ

EN ISO 20346: 2004 เป็นมาตรฐานรองเท้าเซฟตี้งานเบา ระบุการทดสอบรับแรงการตกของสิ่งของที่ 100 จูล และการทดสอบการบีบอัด 10KN

EN ISO 20347 สำหรับรองเท้าทำงานที่ไม่มีหัวเหล็ก แต่มีคุณสมบัติการป้องกันอื่น เช่นกันลื่น กันน้ำ กันสารเคมีเป็นต้น

เมื่อรองเท้าทดสอบได้ตามข้อบังคับ EN รองเท้าจะได้รับเครื่องหมาย CE

# 2) คุณสมบัติของรองเท้านิรภัย

การเลือกรองเท้า เราจำเป็นต้องดูคุณสมบัติเหล่านี้ในข้อกำหนดของรองเท้าเซฟตี้ประเภทต่างๆเช่นรองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตย์, รองเท้านิรภัย ESD (Electro Static Discharge), รองเท้ากันเจาะทะลุ หรือรองเท้ากันความร้อน ซึ่งคุณสมบัติอาจมีหลายประการในรองเท้าคู่เดียวกัน โดยดูได้จากสัญลักษณ์มีตามระบุไว้ด้านล่าง:

สัญลักษณ์ คุณสมบัติพื้นฐาน ของรองเท้าตามมาตรฐาน EN20345

SB – รองเท้าหัวเหล็ก 200 จูล

SBP – รองเท้าหัวเหล็ก 200 จูล + พื้นกันเจาะทะลุ

S1 – รองเท้าหัวเหล็ก 200 จูล + กันไฟฟ้าสถิตย์

S1P – รองเท้าหัวเหล็ก 200 จูล + กันไฟฟ้าสถิตย์ + พื้นกันเจาะทะลุ

S2 – รองเท้าหัวเหล็ก 200 จูล + กันไฟฟ้าสถิตย์ + หนังกันน้ำ

S3 – รองเท้าหัวเหล็ก 200 จูล + กันไฟฟ้าสถิตย์ + หนังกันน้ำ + พื้นกันเจาะทะลุ

สัญลักษณ์คุณสมบัติเพิ่มเติม

I: ฉนวนไฟฟ้า

A: ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์

C: เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า

WR: กันน้ำ

CRE: ทนต่อสารเคมี

HI: ฉนวนกันความร้อน

AN: การป้องกันข้อเท้า

AS: Antiskid

CR: ความต้านทานการตัด

HRO: พื้นรองเท้าชั้นนอกทนทานต่อการสัมผัสร้อน

คุณสมบัติเหล่านี้มีความจำเป็นต่างกันในการใช้งานหลายอย่างในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น งานความร้อน การก่อสร้าง พื้นที่การผลิตสารเคมีหรือกิจกรรมปีนเขาและเดินป่า ตัวอย่างเช่นรองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ (Antistatic​) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับปิโตรเคมีสารเคมีที่ติดไฟได้ ยา สีและกาวและรถยนต์ ส่วนรองเท้าต้องมีคุณสมบัติ ESD หากจะใช้ในด้านคอมพิวเตอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร

# 3) วัสดุทำรองเท้าเซฟตี้

โครงสร้าง รองเท้าเซฟตี้

องค์ประกอบของรองเท้าเซฟตี้มีส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ หนังรองเท้า, พื้นรองเท้า, วัสดุทำหัวรองเท้า, วัสดุป้องกันการเจาะทะลุ, รองใน ซึ่งแต่ละวัสดุที่ใช้จะมีผลต่อน้ำหนัก ความสบาย และความทนทานของรองเท้า

หนังรองเท้า

โดยทั่วไปวัสดุที่ใช้ทำหนังส่วนบนรองเท้า มักใช้ หนังควาย หนังวัว หรือหนังสังเคราะห์ โดยหนังแท้จะหนักกว่าหนังสังเคราะห์ แต่สามารถทนความร้อน สารเคมี การเสียดสี ได้ดีกว่าหนังสังเคราะห์ และหากมีคุณสมบัติกันน้ำด้วย จะสามารถผ่านการทดสอบมาตรฐาน EN20345 ที่ S2 หรือ S3

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังรองเท้าได้ที่ https://thai-safetywiki.com/safety-shoe-leather/

พื้นรองเท้า

พื้นรองเท้าส่วนใหญ่มักทำจากวัสดุคือ PU(POLYURETHANE SOLE) , TPU(THERMO POLYURETHANE SOLE) , NBR Rubber (ยางไนไตร) และ PVC โดยมีความเหมาะสมในการใช้งานต่างกัน และหากมีคุณสมบัติกันไฟฟ้าสถิตย์ด้วย จะสามารถผ่านการทดสอบมาตรฐาน EN20345 ที่ S1, S2 หรือ S3

  • พื้น TPU เหมาะกับงานกันสารเคมีหนัก เช่นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
  • พื้น PU เหมาะกับงานกันสารเคมีปานกลาง ที่อยู่ในอาคาร เช่น งานประกอบรถยนต์ งานพ่นสี
  • พื้น NBR เหมาะกับงานกันน้ำมัน และงานเกี่ยวกับความร้อน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นรองเท้าได้ที่ https://thai-safetywiki.com/safety-shoe-sole/

แผ่นรองรองเท้า (Insole)

เป็นวัสดุส่วนที่ใช้รองรองเท้าก่อนสัมผัสวัสดุพื้นรองเท้า มักใช้วัสดุที่อ่อนนุ่ม หรือยิดหยุ่น เพื่อเพิ่มความสบายในการสวมใส่ เช่น PU, EVA หรือ Memory Foam นอกจากนี้อาจมีการเพิ่มคุณสมบัติกันไฟฟ้าสถิตย์ลงไป โดยใช้ด้ายเย็บเพื่อนำไฟฟ้า หรือผสมสารลงไป  จะสามารถผ่านการทดสอบมาตรฐาน EN20345 ที่ S1, S2 หรือ S3

หัวรองเท้า (Toe Cap)

เป็นวัสดุส่วนที่ใช้ในการป้องกันแรงกระแทกจากการที่สิ่งของหล่นใส่ โดนทับ หรือเตะโดนสิ่งต่างๆ โดยมักทำจากวัสดุดังนี้

  • เหล็กกล้า (Metal Steel): หัวรองเท้าเหล็กกล้าคาร์บอนสูง เป็นวัสดุพิ้นฐานที่นิยมนำมาใช้เพื่อความป้องกัน
  • อลูมิเนียม (Aluminium): หัวรองเท้าทำจากอลูมิเนียม เป็นทางเลือกที่นำมาใช้เพื่อความป้องกันแรงกระแทก น้ำหนักเบากว่าหัวเหล็ก แต่ราคาสูงกว่าและรับแรงได้น้อยกว่า
  • คอมโพสิต (Composite): หัวรองเท้าเทอร์โมพลาสติกโพลีเมอร์หรือหัวรองเท้าที่ไม่ใช่โลหะ นำ้หนักเบากว่าเหล็ก ไม่นำไฟฟ้า แต่มีข้อเสียคือหากมีการร้าวของพลาสติกด้านใน จะไม่มีลักษณะภายนอกที่มองเห็นได้เหมือนหัวเหล็ก

วัสดุพื้นเสริมป้องกันการเจาะทะลุ (Penetration Sheet)

เป็นวัสดุเสริมสำหรับป้งกันการเจาะทะลุ จากสิ่งมีควต่างๆที่อาจอยู่บนพื้นเช่น เศษแก้ว และของมีคมต่างๆ โดยวัสดุเสริมนี้เป็นตัวเลือก สำหรับผู้ที่ต้องการเท่านั้น ซึ่งหากมีการเสริมแผ่นเจาะทะลุนี้ ตามการทดสอบตามมาตรฐาน EN20345 จะมีการเพิ่มสัญลักษณ์ P ที่ด้านหลัง

  • พื้นเสริมเหล็ก พื้นรองเท้าเหล็กกล้าคาร์บอนสูง เป็นวัสดุพิ้นฐานที่นิยมนำมาใช้เพื่อความป้องกันการเจาะทะลุ
  • พื้นเสริม HPPE (High Performance Polyethylene) ทำจากพลาสติก Polyethylene สานกันจนแน่น เป็นวัสดุทางเลือก เพื่อนำมาใช้เพื่อความป้องกันการเจาะทะลุ สำหรับงานที่ต้องการรองเท้าที่ไม่มีส่วนผสมโลหะ เช่น งานที่ต้องผ่านเครื่องจับโลหะ เช่น สนามบิน จัดส่ง และงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

# 4) รูปแบบรองเท้าสำหรับงานพิเศษ

รูปแบบรองเท้าที่ออกแบบมาเพื่การใช้งานแต่ละประเภทโดยเฉพาะ

  • รองเท้าเซฟตี้ แบบป้องกันหน้าเท้า Metatarsal เป็นรองเท้าที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งของหล่นใใส่ส่วนบนของนิ้วเท้าซึ่งมักใช้ในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการตกหล่นของวัสดุบ่อย รองเท้ารุ่นนี้เหมาะสำหรับงานก่อสร้างและเครื่องจักรกลหนัก

  • รองเท้าเซฟตี้กันไฟฟ้า ออกแบบมาเพื่อให้มีความต้านทานสูงต่อไฟฟ้าช็อต มักทำจากยางเพื่อเป็นฉนวนกันไไฟฟ้า สำหรับพนักงานที่ทำงานในพื้นที่ไฟฟ้าแรงสูง แนะนำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ที่มีอันตรายจากไฟฟ้าวงจรสายไฟ ฯลฯ

รองเท้าเซฟตี้ กันไฟฟ้า

  • รองเท้าเซฟตี้ แบบลิ้นปิดชิ้นเดียว ออกแบบมาสำหรับงานที่มีฝุ่น หรือการกระด็นของของเหลว จำนวนมาก ลิ้นรองเท้าจึงจำเป็นต้องเย็บเป็นชิ้นเดียว เพื่อกันการซึมขอของเหลวเข้าตรงร่อง มักใช้ในงานก่อสร้าง งานดับเพลิง

  • บู๊ทสูง Gumboot ออกแบบมาเพื่อให้ใช้ในสถานที่ทำงานที่เปียกหรือมีโคลน มีความยาวรองเท้าสูงตั้งแต่ 13 นิ้วถึง 15 นิ้วให้การปกป้องตั้งแต่หัวเข่าถึงปลายเท้า การใช้งานสามารถพบได้ในงานประมง งานทำความสะอาดหรือรองเท้าดับเพลิง

 

ตัวอย่างรองเท้านิรภัย /  รองเท้าเซฟตี้แบบต่างๆ กดที่นี่

 

 

The New ANSI Z87.1-2003

แชร์บทความนี้

จากการที่มาตรฐานใหม่ ANSI Z87.1-2003 ได้รับการอนุมัติ หลังจากคณะกรรมการ ANSI

อ่านต่อ »

อุปกรณ์ป้องกันการตก

แชร์บทความนี้

อุปกรณ์ป้องกันการตก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถทำงานในสถานที่เสี่ยงอันตรายในการพลัดตกลงมา โดยเฉพาะใน การปฏิบัติงานบนที่สูง….

อ่านต่อ »

ตะคริว เกิดจากอะไร บริเวณที่มักเกิดตะคริว วิธีแก้การเป็นตะคริว ทำอย่างไรดี ?

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้“ตะคริว คือ “อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ” ที่ทำให้กล้ามเนื้อปวดและเป็

อ่านเพิ่มเติม »

แคดเมียม คืออะไร โลหะพิษอันตราย หลังพบที่โรงงานสมุทรสาคร กว่า 15,000 ตัน

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้จากประเด็นที่มีข่าวเมื่อวันที่ 5 เมษายน  2 บริษัทลอบขนกากแร่แคดเมีย

อ่านเพิ่มเติม »