อากาศร้อนจัดแบบนี้ ต้องระวังและดูแลสุขภาพยังไง

แชร์บทความนี้

เชื่อว่าในตอนนี้อากาศประเทศไทยทั่วประเทศอยู่ในระดับร้อนถึงร้อนจัด  อุณหภูมิสูงสุด 33 – 44 องศาเซลเซียส ตลอดช่วงเมษายน ถึง พฤษภาคม และประเทศไทยเราอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมาก บริเวณประเทศไทย ดวงอาทิตย์จะอยู่เกือบตรงศีรษะในเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับรังสีและความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ ในช่วงฤดูร้อน จนทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ วันนี้เรามีข้อมูลมาบอกกันครับ ถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ กิจกรรมกลางแจ้งที่ควรเลี่ยง และอาชีพกลุ่มเสี่ยงมาแชร์กันครับ

โรคยอดฮิตในหน้าร้อน

  1. โรคลมแดด (Heat Stroke) เป็นภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงเกิน 40 องศา อาการซึม สับสน บางทีอาจถึงขั้นชักและหมดสติได้
  2. โรคอาหารเป็นพิษ: การทานอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัยหรือทานอาหารที่เสี่ยงเน่าเสีย เนื่องจากอุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้น ทำให้แบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้เร็ว เช่นอาหารประเภทกระทิ แกงต่างๆ หรืออาหารที่ใช้ความร้อนไม่สูงมากในการทำให้สุกเช่น ข้าวมันไก่ ซึ่งแบคทีเรียก็อาจจะมาจากเขียง ที่ไม่ได้ผ่านการทำความสะอาดเท่าที่ควร 
  3. ผื่นร้อน (heat rash) หรือที่เรียกว่า “miliaria” เป็นอาการผื่นผิวหนังที่เกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ ทำให้เหงื่อไม่สามารถระบายออกจากผิวหนังได้ตามปกติ ทำให้เกิดผื่นหรือรอยแดงขึ้นบนผิวหนัง มีอาการแสบ คัน และระคายเคือง

บุคคลกลุ่มไหนที่เสี่ยงต่อโรคลมแดด

  1. กลุ่มคนที่ทำงานกลางแดด เช่นคนงานก่อสร้าง
  2. พนักงานส่งอาหารและพัสดุหรือผู้ที่ทำงานอยู่กลางแจ้งตลอดจะสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
  3. นักกีฬา ที่จะต้องสัมผัสอากาศที่ร้อนหรือความชื้นที่สูงทำให้ไม่สามารถขับเหงื่อได้ ก็จะทำให้เกิดภาวะที่จะเสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรกมากขึ้นกว่าบุคคลอื่น
  4. คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นตัวปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะฮีทสโตรกได้มากกว่าคนปกติทั่วไป

การดูแลและป้องกัน

  1. ดื่มน้ำปริมาณมากกว่าปกติ ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณกลางแจ้งหรือในสถานที่ปิด มีอากาศถ่ายเทน้อย 
  3. ถ้าจำเป็นที่จะต้องอยู่บ้านในระยะเวลานาน ๆ ควรที่จะเปิดหน้าต่างหรือแอร์

หากเจอผู้ป่วยที่มีอาการฮีทสโตรกต้องแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ ผู้ป่วยที่หมดสติและไม่หายใจ กับผู้ป่วยที่ยังหายใจได้แต่มีอาการหน้ามืดหรือเป็นลม ถ้าผู้ป่วยมีอาการหยุดหายใจให้ โทร 1669 เพื่อเรียกหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเข้ารักษาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว และการทำการ CPR ผู้ป่วย ณ บริเวณนั้นทันที จะเพิ่มโอกาศรอดชีวิตสำหรับผู้ที่หยุดหายใจ แต่ถ้าผู้ป่วยยังสามารถหายใจได้ให้นำผู้ป่วยเข้าที่ร่มและคลายเสื้อผ้าของผู้ป่วยออก ร่วมกับการเช็ดตัวด้วยผ้าเย็น หรือใช้การฉีดสเปรย์เพื่อระบายความร้อน ร่วมกับการเปิดพัดลมเพื่อให้ร่างกายคลายความร้อนลดให้เร็วที่สุด

ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ANSI, ASTM International, FM Global, NFPA, SEI และ UL

แชร์บทความนี้

มีตัวแทนอิสระหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการในด้านอุตสาหกรรมความปลอดภัยและที่จะนำมากล่าวถึงในที่นี้คือ

อ่านต่อ »