เก้าอี้ที่ดี จะทำให้นั่งให้ถูกหลัก Ergonomic ได้ง่ายและสบาย

แชร์บทความนี้

การนั่งผิดท่าเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดเมื่อยล้า แม้จะนั่งเก้าอี้ราคาแพง ถ้านั่งผิดท่า อาการปวดหลังก็ไม่หายไปง่ายๆ วันนี้เราจะแนะนำ 5 ท่านั่งที่ถูกต้องตามหลักกายวิภาค ช่วยให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนานถึง 8 ชม. โดยไม่เมื่อยล้า

  1. ศีรษะตรง อยู่ห่างจอ 50-70 ซม.
    อย่าก้มหน้าหรือเงยหลังมากเกินไป เพราะจะกดทับกล้ามเนื้อคอ เพิ่มแรงกดหัวไหล่
    ถ้าเก้าอี้มีพนักพิงศีรษะ ให้พิงได้พอดี และพักศีรษะบ้างระหว่างทำงาน
  2. นั่งหลังตรงติดพนักหลัง
    อย่านั่งค่อมหลังหรือนั่งห่อไหล่ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อต้นคอเกร็ง
    ควรนั่งให้หลังแนบพนักหลังโดยไม่มีช่องว่าง เพื่อกระจายน้ำหนักและยืดสันหลังได้เต็มที่
  3. วางแขนบนโต๊ะอย่ายกไหล่
    การวางแขนในระนาบเดียวกับโต๊ะจะช่วยผ่อนคลายบริเวณคอ บ่า และไหล่
    อย่ายกไหล่หรือนั่งห่อไหล่ เพราะจะส่งผลให้สันหลังคดงอในอนาคต
    ถ้ามีพนักแขน ก็ช่วยรองรับแขนให้อยู่ในท่าถูกต้องได้ดีขึ้น
  4. นั่งเต็มก้น ขาเหยียดราบ
    การนั่งขัดสมาธิ นั่งชันเข่า หรือนั่งปลายเบาะ อาจทำให้เกิดอาการชาปวดก้นได้
    ควรนั่งให้เต็มก้น ขาเหยียดลงพื้นได้สบาย ไม่นั่งไขว่ห้างหรือพับเข่า เพื่อไม่ให้กดทับเส้นเลือดและเส้นประสาท
  5. เข่าและสะโพกอยู่ระดับเดียวกัน
    การนั่งไขว่ห้างบ่อยๆ อาจทำให้กระดูกสันหลังคดงอผิดรูป หรือหมอนรองกระดูกเสื่อมได้
    ท่านั่งที่ดีคือให้สะโพกทำมุม 90-100 องศา เสมอหรือต่ำกว่าเข่าเล็กน้อย และเท้าวางราบกับพื้น

การนั่งถูกหลักกายวิภาคจะช่วยลดอาการปวดเมื่อยล้า และปกป้องสุขภาพในระยะยาว ควรปรับเปลี่ยนการนั่งให้ถูกต้องเพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

% LEL หรือ %Vol (Volume) หน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ

แชร์บทความนี้

สำหรับหน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ % LEL หรือ %Vol (Volume) ในอุปกรณ์วัดแก๊สติดไฟ หากเราพิจารณาชนิดของหน่วยของการวัดแล้ว เราก็จะเห็นการรายงาน…

อ่านต่อ »

เรื่องนี้สำคัญ รังสี UV ในฤดูหนาว แม้อากาศไม่ร้อน ก็ยังอันตรายอยู่

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้หลายคนชอบคิดว่า พอถึงฤดูหนาวแล้วจะสบายใจและไม่ต้องกังวลเรื่องแดดมาก

อ่านเพิ่มเติม »

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านเพิ่มเติม »

เบาหวาน สังเกตุอาการ พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงและอาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวานคือภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง

อ่านเพิ่มเติม »