ไม่รู้ไม่ได้ เรื่อง ยาแก้แพ้ กับความปลอดภัยในการทำงาน

แชร์บทความนี้

ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งงานอะไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้เลยก็คือ เรื่องของความปลอดภัย ซึ่งก็จะมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยงในการทำงาน และหนึ่งในปัจจัยที่ว่านั้นก็คือ “ยาแก้แพ้” และยาตัวนี้ก็คือเรื่องสำคัญที่เราจะมาทำความรู้จักกันในวันนี้

ยาแก้แพ้มีการแบ่งประเภทอย่างไรบ้าง

อาการแพ้มีการแบ่งประเภทตามสาเหตุของโรค แน่นอนว่า การกินยาแก้แพ้เองก็ควรที่จะต้องกินให้ถูกโรค ถูกประเภทด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีการแบ่งประเภทยาแก้แพ้ไว้ดังนี้

กลุ่มแรก ยาแก้แพ้ที่ทำให้ง่วงนอน สำหรับยาในกลุ่มแรกนี้ จะเป็นยาที่เราคุ้นเคยกันดี ให้ลองนึกภาพเวลาไปพบแพทย์ หรือไปร้านขายยา แล้วขอซื้อยาแก้แพ้ แก้เมารถ เมาเรือ เรามักจะได้ยากเม็ดสีเหลือง ๆ ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งเวลากินทีไรก็จะเกิดอาการง่วงซึม ยากลุ่มนี้จัดเป็นยาต้านฮีสตามีนรุ่นแรก เช่น คลอเฟนิรามีน ไดเมนไฮดริเนต ไฮดรอกไซซีน ไตรโพรลิดีน เป็นต้น สรรพคุณของยากลุ่มนี้นอกจากแก้แพ้และแก้เมารถ เมาเรือแล้ว ก็จะยังมีการใช้เพื่อรักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบ อาการคัน จาม และน้ำมูกไหลได้ด้วย

กลุ่มที่สอง ยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้ง่วงนอน เช่น ลอราทาดีน เซทิริซีน เฟกโซเฟนาดีน เลโวเซทิริซีน และเดสลอราทาดีน ด้านสรรพคุณก็ต้องบอกว่าสามารถใช้รักษาอาการได้เช่นเดียวกับยาในกลุ่มแรก ไม่ว่าจะเป็นรักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบ ภูมิแพ้ คัน จาม ผื่น ใช้ได้หมดเลย แต่จะมีจุดเด่นอยู่ตรงที่ตัวยาในกลุ่มนี้จะมีอัตราการผ่านเข้าสมองได้น้อยมาก ผลก็คือจะทำให้ง่วงซึมได้น้อยกว่ากลุ่มแรก

จัดการชีวิตอย่างไรถ้าต้องกินยาแก้แพ้แล้วไปทำงาน

                เลือกกินยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง นี่คือวิธีจัดการปัญหาวิธีแรกที่ได้ผลที่สุด หากรู้ตัวแล้วว่าเป็นคนที่แพ้ง่าย มีโรคประจำตัวเป็นโรคภูมิแพ้ หรือจะต้องเดินทางไปทำงานในพื้นที่เสี่ยง ก็ควรพกยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงติดตัวไปด้วยเสมอ หรือบางครั้งอาจกินไปก่อนเลยก็ได้ เพราะมียาแก้แพ้หลายตัวที่ออกฤทธิ์นานเป็นวัน แบบนี้ก็สบายใจกว่า

หลีกเลี่ยงการขับรถหรือทำงานบนที่สูง เพราะการทำกิจกรรมรูปแบบนี้ต้องใช้สมาธิและสติมากเป็นพิเศษ ถ้าไม่อยากเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ควรหาคนอื่นมาช่วยทำหน้าที่นี้แทนเรา เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่า ยาแก้แพ้ต่อให้เป็นแบบไม่ง่วง ก็ยังมีผลต่อระบบการสั่งการนอนของสมองอยู่ดี คืออย่างไรก็ง่วง แค่น้อยกว่าเท่านั้นเอง

การทำความเข้าใจถึงหลักการกินยาแก้แพ้ และผลข้างเคียงของการกินยา ที่จะกระทบกับการทำงาน จะช่วยให้เราตระหนักถึงความปลอดภัยและแนวทางในการดูแลตัวเองในเวลาทำงานมากขึ้น ซึ่งประเด็นสำคัญก็คืออย่าลืมเด็ดขาดว่า “ปลอดภัยไว้ก่อน” คือหลักปฏิบัติสากลที่ควรระลักไว้เสมอขณะทำงาน

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ต้องทำอย่างไรบ้าง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ และต้

อ่านเพิ่มเติม »

PID sensor สำหรับตรวจจับสารระเหยเร็ว (VOCs)

แชร์บทความนี้

จากข้อจำกัดของ Electrochemical sensor ในบทความเรื่องที่แล้วที่ไม่สามารถจะตรวจจับแก๊สพิษที่มีคุณสมบัติระเหยเร็วที่เราเรียกว่า

อ่านเพิ่มเติม »