การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง

แชร์บทความนี้

โดยปกติ วิธีการป้องกันเสียงดังมี 3 แบบหลักได้แก่

1. ป้องกันที่แหล่งกำเนิด เช่น การเปลี่ยนระบบการทำงานของแหล่งกำเนิด
การใช้วัสดุครอบแหล่งกำเนิด เป็นต้น

2. ป้องกันที่ทางเดินของเสียง เช่น การติดตั้งกำแพงกั้นเสียง การทำให้ระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดและผู้รับเสียงเพิ่มขึ้น
เป็นต้น

3. ป้องกันที่ผู้รับเสียง โดยการใช้อุปกรณ์ ที่ครอบหู (Ear muffs) หรือที่อุดหู
(Ear plugs) เป็นต้น

การเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น งบประมาณที่มี ลักษณะของสภาพแวดล้อมที่เกิดปัญหา และลักษณะของปัญหาที่เกิด

ในกรณีของการป้องกันที่ผู้รับเสียง
การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ที่ครอบหู (Ear muffs) หรือที่อุดหู (Ear plugs) มาใช้ป้องกันเสียง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเมื่อเทียบกับวิธีอื่น แต่ควรมีหลักในการเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะกับสภาวะทางเสียงในขณะนั้นเพราะถ้าเลือกซื้อไม่ถูกต้องอุปกรณ์ก็จะป้องกันเสียงได้ไม่มากหรือป้องกันไม่ได้เลย

 

การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง

การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆเหล่านี้

1.ไม่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมที่กระทำ
2.ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสนทนาหรือสื่อสาร
3. ระดับเสียงที่ต้องการลด และ ความสามารถลดระดับเสียงของอุปกรณ์

 

ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันเสียง

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

1.ที่ครอบหู (ear muff)
ลดเสียงได้ตั้งแต่ 30-40 dB
ลดเสียงที่ความถี่สูงกว่า 400 Hz ได้ดี มี 2 ชนิด คือ แบบที่เป็นโลหะและที่เป็นพลาสติก

 

2.ที่อุดหู
(ear plugs)
ลดเสียงได้ตั้งแต่ 15-25dB
ลดเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 400 Hz ได้ดี ทำจากวัสดุหลายชนิด เช่น โฟม ใยหิน ใยแก้ว ฯลฯ

ข้อดีและข้อจำกัดของปลั๊กอุดหูและที่ปิดหู

การใช้ปลั๊กอุดหูและที่ครอบหูมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ปลั๊กอุดหูสามารถที่จะผลิตทีละมากๆหรือผลิตโดยทำแม่พิมพ์ให้พอดีกับหูที่ละชิ้นและ สามารถที่จะนำมาใช้ใหม่หรือใช้แล้วทิ้ง

  • ข้อดี คือ ใช้ง่าย ถูกกว่าที่ปิดหู และใช้สบายในบริเวณที่มีอากาศร้อนหรือชื้น
  • ข้อเสีย ก็คือให้การป้องกันได้น้อยกว่าที่ปิดหูและไม่ควรใช้ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกิน 105 dB(A) (เดซิเบลประเภทA) นอกจากนี้ การใส่ปลั๊กอุดหูไม่สามารถมองเห็นได้อย่างที่ปิดหู และหัวหน้างานไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าพนักงานสวมอยู่หรือไม่ต้องมีการใส่อย่างเหมาะสมเพื่อที่จะป้องกันได้อย่างเพียงพอ

ที่ครอบหูนั้นแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้และความลึกของที่ครอบ และความแน่นของสายคาดศีรษะ ยิ่งฝาครอบมีความลึกและหนักเท่าใด ก็จะสามารถทำการป้องกันเสียงได้มากเท่านั้น สายคาดศีรษะต้องแน่นพอที่จะทำการปิดหูได้อย่างดีแต่ไม่แน่นจนรู้สึกไม่สบาย

  • ข้อดีก็คือที่ปิดหูสามารถให้การป้องกันได้ดีกว่าปลั๊กอุดหูถึงแม้ว่าจะไม่เสมอไปใส่ให้พอดีได้ง่ายกว่า ทนทานกว่าปลั๊กอุดหู และมีชิ้นส่วนที่สามารถซ่อมแซมได้
  • ข้อเสียก็คือ แพงกว่า ใส่สบายน้อยกว่าปลั๊กอุดหู โดยเฉพาะในบริเวณที่มีอากาศร้อนในบริเวณที่มีระดับเสียงสูงมากๆ สามารถที่จะใส่ปลั๊กอุดหูและที่ปิดหูพร้อมกันเพื่อการป้องกันที่ดีกว่า

 

ความสามารถในการลดเสียงของอุปกรณ์ป้องกันเสียง

การที่จะทราบว่าอุปกรณ์ป้องกันเสียงจะลดระดับเสียงได้กี่เดซิเบลสามารถหาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

ระดับเสียงที่ได้รับขณะใส่อุปกรณ์ = ระดับเสียงก่อนใส่อุปกรณ์ – (derated NRR) – (Co)

 

  • Derated NRR (Noise Reduction Rating) อัตราการลดเสียงอุปกรณ์ที่น่าจะเป็น

มีค่า = NRR – (K x NRR)/100 โดยค่า NRR(Noise Reduction Rating) คือค่าความสามารถในการลดเสียงของอุปกรณ์ซึ่งระบุจากโรงงาน ซึ่งค่านี้ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

    • ค่า K คือเปอร์เซ็นต์ของ NRR ที่ใช้ลบกับ NRR ซึ่ง National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) ได้แนะนำความสามารถของอุปกรณ์แต่ละชนิดในการลดระดับเสียง ( ค่า K ) ไว้ดังนี้

K = 25 กรณีอุปกรณ์เป็นที่ครอบหู

K = 50 กรณีอุปกรณ์เป็นที่อุดหูทำจากโฟม

K = 70 กรณีอุปกรณ์เป็นที่อุดหูทำจากวัสดุอื่นๆสำหรับค่า

  • Co จะขึ้นอยู่กับช่วงความถี่ของเสียงที่ได้ยิน (Frequency) ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งเป็นช่วง ได้ดังนี้

Co = 0 กรณีระดับเสียงก่อนใส่อุปกรณ์ มีความถี่ของเสียง ในช่วงความถี่ C
Co = 7 กรณีระดับเสียงก่อนใส่อุปกรณ์ มีความถี่ของเสียง ในช่วงความถี่ A ซึ่งเป็นความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน

 

ตัวอย่าง การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง

มีอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่มีป้ายแสดงค่า NRR 2 ชนิด คือ ที่ครอบหู NRR 29 และที่อุดหูทำจากโฟม NRR 25

สภาพการทำงาน วัดเสียงเครื่องจักร ได้ 95 dB(A) อยากทราบว่าควรใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงชนิดใดเพื่อให้ได้รับเสียงรับเสียงจากเครื่องจักรไม่เกิน 70 dB(A)

วิธีทำ

เสียงที่ตรวจวัดได้ก่อนใส่อุปกรณ์เป็น 95 dB(A)

  • กรณีที่อุปกรณ์เป็นที่ครอบหู

NRR = 29
K = 25
Co = 7
Derated NRR =29 – (25×29)/100 = 21.75

เสียงที่ได้รับขณะใส่ที่ครอบหู = 95 – 21.75 – 7 = 66 dB(A)

  • กรณีที่อุปกรณ์เป็นที่อุดหูที่ทำจากโฟม

NRR = 25
K = 50
Co=7
Derated NRR = 25 – (50×25)/100 = 12.5

เสียงที่ได้รับขณะใส่ที่อุดหู = 95-12.5-7 = 75.5 dB(A)

>>ดังนั้น เราจึงสมควรเลือก ที่ครอบหู

การแจ้งเตือนการระบาดของโรคอหิวาตกโรคในประเทศไทย: สิ่งที่คุณควรรู้และวิธีป้องกัน

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้โรคอหิวาตกโรค (Cholera) กำลังเป็นประเด็นที่น่ากังวลในประเทศไทยในปัจ

อ่านเพิ่มเติม »