หน้ากากกันเชื้อโรคแบบต่างๆ

แชร์บทความนี้

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 , ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคติดต่อทางการหายใจในคน โดยทั่วไปมีลักษณะ คือเชื้อจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และแพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอหรือจาม หรือติดจากการสัมผัสมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ 

วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยป้องกันทั้งการแพร่เชื้อและการติดเชื้อได้ก็คือ การใช้หน้ากากกันเชื้อโรค และการล้างมือบ่อยๆ

การ ไอ จามแต่ละครั้งจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายออกไปได้ไกลถึง 3 ฟุต และมีชีวิตลอยปะปนอยู่ในอากาศ ทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดมีโอกาสได้รับเชื้อ จากงานวิจัยขององค์การอนามัยโลกพบว่า การใส่หน้ากากสามารถลดการแพร่กระจายของอณูเล็กๆ ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ถึงร้อยละ 80
       
ดังนั้น ควรใส่หน้ากาก อนามัยเมื่อจำเป็นต้องออกไปในที่ชุมชนหรือต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในที่ สาธารณะ เช่น ห้องเรียน ห้องทำงาน ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ โรงแรม โรงพยาบาล รถโดยสาร เครื่องบิน โดยเฉพาะในห้องปรับอากาศ ฯลฯ แต่ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากเมื่ออยู่คนเดียว

การเลือกใช้หน้ากากกันเชื้อโรค

1. หน้ากากอนามัย หรือ Surgical mask 

เป็นหน้ากากทีสวมขณะผ่าตัดเพื่อป้องกันเลือด หรือเสมหะของผู้ป่วยที่จะกระเด็นเข้าปากและจมูกของหมอผ่าตัด และป้องกันเสมหะหรือน้ำลายของแพทย์ที่จะไปปนเปื้อนบริเวณที่จะผ่าตัด  สามารถกรองอนุภาคได้ 5 ไมครอน จึงสามารถกันเชื้อโรคได้บางชนิด เท่านั้น โดยทั่วไปแล้วหน้ากากชนิดนี้จะใช้สำหรับกันการไอจามของผู้ป่วยออกสู่ภายนอก หรือกันเชื้อโรคที่มาจากละอองไอจาม ที่ขนาดไม่เล็กมาก (Droplet)​แต่ไม่สามารถใช้หายใจในสถานที่ที่มีเชื้อโรคหรือไวรัสที่มีขนาดเล็กมาก(Airborne)​ได้

ข้อดีของหน้ากากชนิดนี้

  • ใช้แล้วทิ้ง ราคาถูก
  • น้ำหนักเบาและสวมใส่ง่าย

ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้

  • หน้ากากไม่ปิดมิดชิด มีรูรั่วของอากาศมาก ไม่เหมาะกับการใช้กันละอองเชื้อโรคขนาดเล็ก 

2. หน้ากากที่ใช้ครั้งเดียว Disposable Particulate Respirators ตามมาตรฐานของ NIOSH จะมีชนิด N,R,P และมาตรฐานยุโรป EN –P1,P2,P3 ซึ่งจะมีหรือไม่มีช่องสำหรับหายใจออก (exhalation valve) ก็ได้ โดยหน้ากากที่เหมาะจะใช้สำหรับการป้องกันเชื้อไวรัส ได้แก่ หน้ากากอนามัยชนิด N95 (Niosh) หรือ P2 (EN) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคได้ถึง 0.3 ไมครอน และประสิทธิภาพในการกรอง 95%       

อย่างไรก็ตาม อาจพบปัญหาจากการใช้หน้ากากอนามัยชนิด N95 ได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด โรคปอดและทางเดินหายใจ และหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากลมหายใจจะผ่านเข้าออกได้ยากขึ้นเนื่องจากแรงต้านภายใน นอกจากนี้ หน้ากากอนามัยชนิด N95 ออกแบบมาสำหรับผู้ใหญ่ หากนำมาให้เด็กใช้ ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

ข้อดีของหน้ากากชนิดนี้

  • ใช้แล้วทิ้ง ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด
  • น้ำหนักเบาและสวมใส่ง่าย
  • เหมาะแก่การกันเชื้อโรค เนื่องจากประสิทธิภาพสูง แต่ราคาไม่แพงมากนัก

ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้

  • หายใจลำบาก เนื่องจากต้องหายใจดูดอากาศผ่านแผ่นกรองหน้ากากที่หนา ไม่เหมาะกับคนที่มีปอดไม่แข็งแรง หรือเด็ก
  • หากเลือกขนาดหรือรูปร่างที่ไม่เหมาะกับหน้า จะทำให้มีรูรั่ว ประสิทธิภาพการกรองต่ำลง
  • หน้ากากที่มีวาล์วสำหรับหายใจออกไม่เหมาะที่จะใช้กับผู้ที่ป่วยแล้วหรือเป็นพาหะ เนื่องจากลมหายใจสามารถออกมาทางวาล์วหายใจออกได้

3. หน้ากากชนิดเปลี่ยนไส้กรอง  เป็นหน้ากากที่สามารถเปลี่ยนไส้กรองอากาศได้ สามารถนำมาใช้ใหม่ แต่ต้องหมั่นทำความสะอาดแบ่งเป็นสองชนิดคือ

A -​ หน้ากากครอบครึ่งหน้า Half-Mask Replaceable Particulate Filter Respirator

เป็นหน้ากากที่สามารถเปลี่ยนไส้กรอง สามารถป้องกันกลิ่น ไอสารเคมีได้ด้วย ขึ้นกับชนิดของไส้กรอง โดยไส้กรองที่ใช้กันเชื้อโรคได้ จะเป็นไส้กรอง N95, N99, P100

ข้อดีของหน้ากากชนิดนี้

  • หายใจได้สะดวกกว่า หน้ากากกระดาษ
  • หน้ากากนี้ทำด้วยยางใช้ได้นาน สามารถเปลี่ยนไส้กรองก็นำมาใช้ใหม่
  • กันกลิ่นสารเคมีหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆได้

ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้

  • ต้องหมั่นตรวจสอบรอยรั่ว การเสื่อมของหน้ากาก การทำความสะอาด
  • มีวาล์วหายใจออก ทำให้ไม่เหมาะกับการใช้ในห้องที่ต้องการความสะอาดเช่น ห้องผ่าตัด
  • สื่อสารกับคนอื่นลำบาก
  • ราคาสูงกว่าหน้ากากกระดาษ ไม่เหมาะกับงานระยะสั้น เพราะจะสิ้นเปลืองไส้กรอง และการทำความสะอาดใช้เวลานาน

B -​ หน้ากากครอบเต็มหน้า Full Facepiece Replaceable Particulate Filter Respirator เหมือนกับชนิดข้างบนแต่มีที่สำหรับกันใบหน้า

ข้อดีของหน้ากาก

  • การรั่วของอากาศน้อยกว่าชนิดครึ่งหน้า
  • สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการเปลี่ยนไส้กรอง
  • ป้องกันตาจากการกระเด็นของเสมหะ

ข้อเสียของหน้ากาก

  • ต้องหมั่นตรวจสอบรอยรั่ว การเสื่อมของหน้ากาก การทำความสะอาด
  • มีวาล์วหายใจออก ทำให้ไม่เหมาะกับการใช้ในห้องที่ต้องการความสะอาดเช่น ห้องผ่าตัด
  • สื่อสารกับคนอื่นลำบาก
  • ราคาสูงกว่าหน้ากากกระดาษ ไม่เหมาะกับงานระยะสั้น เพราะจะสิ้นเปลืองไส้กรอง และการทำความสะอาดใช้เวลานาน

4. เครื่องช่วยหายใจ PAPR (Powered Air Purify Respitator)​

เป็นหน้ากากแบบที่ใช้พัดลมดูดอากาศผ่านไส้กรองเข้ามาในหน้ากากซึ่งมีลักษณะครอบทั้งหัว ซึ่งมีทั้งแบบใช้แล้วทิ้งหรือล้างทำความสะอาดได้ มักใช้คู่กับชุด PPE Coverall 

ข้อดีของหน้ากาก

  • ป้องกันเชื้อโรคได้มีประสิทธิภาพสูง
  • หายใจสะดวก สามารถใช้ทำงานเวลานานได้
  • ไม่มีการรั่วของอากาศ
  • สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการเปลี่ยนไส้กรอง และฮูดที่ครอบศีรษะ
  • ป้องกันตาจากการกระเด็นของเสมหะ

ข้อเสียของหน้ากาก

  • ราคาสูง
  • สื่อสารกับคนอื่นลำบาก
  • อุปกรณ์ค่อนข้างหนัก และมีหลายชิ้นทำให้เคลื่อนไหวลำบาก

 

ดูตัวอย่างหน้ากากแบบต่างๆได้ที่

www.pholonline.com/ppe/respirators/disposable-mask.html

www.pholonline.com/ppe/respirators.html

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

มาตรฐาน แว่นตาทหาร (Military Grade Glasses)

แชร์บทความนี้

ในการปกป้องดวงตาของผู้ใช้งาน หน่วยงานด้านมาตรฐานคุณภาพผลิตภันฑ์ ของสหรัฐ(ANSI) และ กองทัพสหรัฐ ต่างก็มีการกำหนด มาตรฐาน แว่นตาทหาร

อ่านต่อ »

อุปกรณ์ Lockout-Tagout (LOTO)

แชร์บทความนี้

ารปฏิบัติงานกับเครื่องจักร/อุปกรณ์หรือแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าที่หยุดการทำงานนั้นจำเป็นต้องมั่นใจว่าเครื่องจักร/อุปกรณ์หรือแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไม่มีโอกาส

อ่านต่อ »

ตู้จัดเก็บสารเคมีไวไฟ Flammable Storage Cabinet Requirements

แชร์บทความนี้

พื้นฐานในการป้องกันไฟอีกอย่างหนึ่งคือการใช้ ตู้จัดเก็บสารไวไฟ NFPA, OSHA และ UFC ได้กำหนดให้ ตู้จัดเก็บสารไวไฟได้รับการออกแบบและสร้าง….

อ่านเพิ่มเติม »

แคดเมียม คืออะไร โลหะพิษอันตราย หลังพบที่โรงงานสมุทรสาคร กว่า 15,000 ตัน

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้จากประเด็นที่มีข่าวเมื่อวันที่ 5 เมษายน  2 บริษัทลอบขนกากแร่แคดเมีย

อ่านเพิ่มเติม »