หลายๆบทความบอกถึงวิธีการปฏิบัติเมื่อติดเชื้อโควิดจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างไรที่โรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลต่างๆ แต่ผู้ที่ใกล้ชิดที่เป็นบุคคลในครอบครัวอาศัยอยู่บ้านเดียวกันนั้นก็มีความเสี่ยงติดเชื้อสูงเช่นกัน ฉะนั้น ก็อย่าลืมที่จะสวมใส่เครื่องป้องกันตัวต่างๆ ติดบ้านไว้ด้วยนะครับ หากเกิดเหตุการณ์ที่ต้องรอเตียงสนามต้องใช้เครื่องป้องกันอะไรบ้างเพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่คนรอบข้างที่อยู่ภายในบ้าน
- หน้ากากอนามัย (Mask) ควรเตรียมหาซื้อหน้ากากอนามัยเอาไว้ให้เพียงพอต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันในทุกๆวัน เมื่อมีคนในครอบครัวติด ก็ควรจะใส่ทั้ง ผู้ติดเชื้อ และผู้ดูแล โดยแนะนำให้ใส่หน้ากากชนิด N95, KF94 หรือ KN95 โดยเฉพาะผู้ดูแล ควรใส่หน้ากากให้มิดชิด เพื่อป้องกันเชื้อโรคในอากาศเล็ดลอดเข้าภายในหน้ากากทางอากาศ โดยเฉพาะโควิดสายพันธ์ุโอไมครอน ที่แพร่กระจายยทางอากาศได้เร็วและไกล
- สบู่ล้างมือ หรือ แอลกอฮอล์เจลล้างมือ การล้างมือหรือทำให้มือของเราสะอาดอยู่เสมอนั้น เป็นวิธีในการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายที่ดีที่สุด และใช้ได้ผลเกือบทุกโรค ไม่ใช่แค่โรค COVID-19 และสามารถใช้ได้ทั้ง 2 วิธีจะใช้สบู่ล้างมือก็ได้ หรือใช้เจลล้างมือเพื่อความสะดวกก็ได้เช่นกัน ควรจะมีติดไว้อย่างน้อย 2 – 4 จุดภายในบ้านในจุดที่มีการสัมผัสบ่อยๆ
- สเปรย์ฆ่าเชื้อ หรือ สเปรย์แอลกอฮอล์ ในบางครั้งเราจำเป็นต้องหยิบจับหรือสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ
ซึ่งเราไม่สามารถได้รู้เลยว่าจุดไหนที่มีเชื้อโรคอยู่ชะนั้นก็ควรใช้สเปร์ยฆ๋าเชื้อที่บริเวณของวัสดุที่มีการสัมผัส เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได หรือประตูตู้เย็น เป็นต้น และควรจำกัดพื้นที่การกักตัวของผู้ป่วยให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะ เพื่อจำกัดป้องกันไม่ให้มีการสัมผัสสิ่งของต่างๆร่วมกัน
- ถุงมือยาง ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับสิ่งของที่อาจจะติดเชื้อโรคตามพื้นผิวต่างๆของเครื่องใช้ผู้ป่วย ซึ่งอาจติดตามมือ ตามเล็บซึ่งหากคุณล้างมือไม่สะอาดเพียงพออาจทำให้มีเชื้อโรคติด การสวมถุงมือขึงเป็นการช่วยป้องกันได้ดีที่สุด ที่จะไม่ให้มีเชื้อติด โดยขณะสวมถุงมือไม่ควรใช้มือที่สวมถุงมือนั้นสัมผัสใบหน้า ควรล้างมือให้สะอาด และถอดถุงมือทันทีหลังออกใช้งาน แยกทิ้งลงถังขยะให้มิดชิดและเรียบร้อย
- เครื่องตรวจวัดออกซิเจนในเลือด เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้งานได้ดีในการตรวจสภาพกรทำงานปอดว่าปกติหรือไม่ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราติดโควิดรึยัง เพราะการแสดงอาการของโรคนี้มีน้อยมากๆ มีเพียงสัญญาณว่า ปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดของเราน้อยลง ซึ่งจะไม่แสดงอาการมากนักจนกว่าจะอาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เครื่องตรวจวัดออกซิเจนในเลือด จะสามารถช่วยเราตรวจวัดอาการของเราได้ ถ้าน้อยกว่า 96 ก็ให้เฝ้าระวังและปรึกษาคุณหมอได้เลยครับ เพราะปกติจะอยู่ที่ 97-99 และยังสามารถจดบันทึกค่าออกซิเจนเพื่อติดตามอาการว่าเป็นไปในทิศทางไหนได้อีกด้วย
- ชุดป้องกันอื่นๆ สำหรับดูแลผู้ป่วยกรณีจำเป็น เช่่น ในกรณีที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ เพื่อเคลื่อนย้ายหรือดูแลติดตามอาการ ซึ่งอาจมีโอกาสโดนผู้ป่วยไอหรือจามใส่ เช่น ชุดหมี PPE และกระบังหน้า ควรจะหาชุดป้องกันเชื้อโรคที่มีคุณภาพมีมาตรฐานการรับรอง จะเป็นการป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุด และที่สำคัญคือไม่ควรใช้ชุด PPE ซ้ำนะครับ ใช้แล้วทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
- ชุดถังอ็อกซิเจนฉุกเฉิน ในกรณีหากผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้น เริ่มมีปัญหาทางการหายใจ ต้องการนำส่งโรงพยาบาล แต่โรงพยาบาลยังไม่ว่าง หรือรอเตียง จำเป็นต้องบรรเทาอาการเบื้องต้น ชุดถังอ็อกซิเจนฉุกเฉิน จึงควรมีติดบ้านไว้บ้าง เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน โดยขนาดที่แนะนำเป็นถังขนาด 10 ลิตร สามารถใช้สูงสุด 8 ชั่วโมง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
สนใจสินค้าและอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ สั่งซื้อได้ที่
www.pholonline.com