ขอบเขตและการใช้งาน
มาตรฐานนี้อธิบายถึง ประเภทหมวกนิรภัย และระดับของหมวกนิรภัย การทดสอบและความต้องการด้านประสิทธิภาพของหมวก รวมถึงความต้องการด้านความปลอดภัยต่างๆ โดยความต้องการด้านประสิทธิภาพพื้นฐานจะถูกกำหนดด้วย การป้องกันจากการกระแทก การเจาะ และการกันไฟฟ้า ซึ่งเป็นเพียงการลดแรงเท่านั้น ไม่ใช่ให้สามารถกันได้อย่างสมบูรณ์จากการกระแทกอย่างรุนแรง หมวกนิรภัยควรจะสามารถทนได้ต่อการตกใส่ของเครื่องมือเล็กๆ น็อต สกรู ชิ้นส่วนของไม้ เป็นต้น
ประเภทของหมวกนิรภัย
ตามมาตรฐาน ANSI Z89.1-2003 แบ่งหมวกนิรภัยออกได้ตามลักษณะของการกันกระแทก และการกันไฟฟ้า
โดยทั่วไปหมวกนิรภัยควรจะกันกระแทกได้ในแบบ Type 1 หรือไม่ก็ Type 2
หมวกนิรภัย Type 1
หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกจากด้านบน แต่ไม่ออกแบบสำหรับกันกระแทกจาก้านข้าง
หมวกนิรภัย Type 2
หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกได้ทั้งจากด้านบนและด้านข้าง
โดยหมวกแต่ละ Type จะแบ่งระดับการป้องกันไฟฟ้า เป็น 3 Class ดังนี้
หมวกนิรภัย Class E
ตัว E ย่อมาจาก Electrical ดังนั้นหมวกนิรภัย Class นี้จึงออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าได้ดี โดยจะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลต์ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)
หมวกนิรภัย Class G
ตัว G ย่อมาจาก General หมวกนิรภัย Class นี้จะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 2,200 โวลต์
หมวกนิรภัย Class C
ตัว C ย่อมาจาก Conductive หมวกนิรภัย Class นี้ไม่กันไฟฟ้า และไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้า
การระบุเครื่องหมาย
หมวกนิรภัยควรจะมีชื่อ หรือสัญลักษณ์ของผู้ผลิต วันที่ผลิต เครื่องหมายมาตรฐาน ANSI และขนาดหมวก
การทดสอบประสิทธิภาพหมวก ตาม ANSI Z89.2003
ประสิทธิภาพ | การทดสอบหมวกนิรภัย |
การกันไฟ Flammability | ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัย Type 1 และ Type 2 ที่ตั้งหมวกจะต้องทำให้หมวกมีลักษณะเหมือนในการสวมใส่จริงพ่นไฟเป็นเวลา 5 วินาทีที่อุณหภูมิ 800 – 900º C (1472º – 1652º F) บริเวณด้านนอกของหมวกหมวกนิรภัยไม่ควรมีร่องรอยของการไหม้หลังจากการทดสอบ |
การกันกระแทก Force Transmission(Impact) | ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัย Type 1 และ Type 2 ทดสอบหมวกในสภาพอากาศเย็น 12 ประเภทและสภาพอากาศร้อน 12 ประเภท เพื่อทดสอบการกระแทกที่ความเร็ว ณ จุดกระทบ 5.5 เมตร/วินาที โดยวัตถุที่ตกกระทบควรมีน้ำหนัก 3.6 กิโลกรัมค่าที่เกิดจาการทดสอบ และค่าเฉลี่ยจากสภาพการทดสอบทั้ง 24 แบบจะต้องมีการบันทึกพร้อมกับความเร็วการตกกระทบค่าเฉลี่ยของแรงที่ส่งผ่านตัวหมวกไม่ควรเกิน 3780 N |
การเจาะทะลุ Apex Penetration | ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัย Type 1 และ Type 2 การทดสอบจะต้องทำให้หมวกมีลักษณะเหมือนในการสวมใส่จริงวัตถุที่จะมาเจาะหมวกจะต้องพุ่งมาในบริเวณเส้นรอบวง ไม่เกินรัศมี 75 mm (3.0 in) จากกึ่งกลางหมวกวัตถุที่จะมาเจาะหมวกต้องมีน้ำหนัก 1.0 กิโลกรัม ตกจากความสูงที่จะทำให้เกิดความเร็ว ณ จุดกระทบ 7.0 เมตร/วินาทีวัตถุที่มาเจาะไม่ควรที่จะติดกับเนื้อหมวก ไม่ว่าจะในสภาพใดก็ตาม |
การกันไฟฟ้า |
ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัย Type 1 และ Type 2 หมวกนิรภัย Class E ออกแบบเพื่อให้สามารถกันอันตรายจากไฟฟ้าได้ โดยจะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลต์ โดยหมวกจะถูกทดสอบการกันกระแทกก่อน แล้วทดสอบการกันไฟฟ้าที่ 20,000 โวลต์ เป็นเวลา 3 นาทีที่9 มิลลิแอมป์ว่าไม่มีการรั่วเข้าในหมวก แล้วทดสอบที่ 30,000 โวลต์เพื่อดูว่าไม่มีรอยไหม้หรือไม่ หมวกนิรภัย Class G ออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าแบบอ่อนได้ โดยจะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 2,200 โวลต์ โดยหมวกจะถูกทดสอบ เป็นเวลา 1 นาทีที่3 มิลลิแอมป์ว่าไม่มีการรั่วเข้าในหมวก หมวกนิรภัย Class C ไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้า |
การดูดซับพลังงานการกระแทก Impact Energy Attenuation | ทดสอบสำหรับเฉพาะหมวกนิรภัย Type 2 |
การเจาะทะลุนอกหนือจากศูนย์กลางหมวก Off center penetration | ทดสอบสำหรับเฉพาะหมวกนิรภัย Type 2 |
การคืนตัวของรองในหมวก Chin strap retention | ทดสอบสำหรับเฉพาะหมวกนิรภัย Type 2 |
facebook : Thai-Safetywiki
ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki