NEW NFPA 1970 มาตรฐาน SCBA และการควบรวม NFPA1971,1975,1981,1982

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับมาตรฐาน NFPA 1981/1982  ฉบับปีล่าสุดเป็นปี  2018 ที่ถึงกำหนดระยะเวลาของการปรับปรุงมาตรฐานราวๆรอบละ 5 ปี สำหรับมาตรฐานที่กำลังจะประกาศ ออกมาใหม่นั้น ตามข่าวแล้วจะเป็น การควบรวม  NFPA 1971 standards for clothing, NFPA 1975 work uniforms, NFPA 1981 self-contained breathing apparatus (SCBA)  และ NFPA 1982 personal alert safety system (PASS) devices  เอาไว้อยู่ในภายใต้มาตรฐาน NFPA 1970  

ล่าสุด สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (NFPA) ได้เผยแพร่ร่างที่สองของ NFPA 1970 มาตรฐานว่าด้วยชุดป้องกันสำหรับการดับเพลิงเชิงโครงสร้างและบริเวณใกล้เคียง เครื่องแต่งกายสำหรับทำงาน และเครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศในตัวแบบเปิดวงจร (SCBA) สำหรับบริการฉุกเฉิน และระบบความปลอดภัยในการแจ้งเตือนส่วนบุคคล ( PASS) โดยสาระสำคัญในเบื้องต้นจะให้ความสำคัญกับ การเพิ่มความต้านทานการปนเปื้อนและการทำความสะอาดอุปกรณ์   รวมถึงวิธีทดสอบใหม่ๆ สำหรับการประเมินทั้งชุดเพื่อการป้องกันความร้อน ผลกระทบจากความเครียด ผลกระทบจากความร้อน และการป้องกันจากอนุภาคและก๊าซ 

ทั้งนี้สำหรับข้อมูลในรายละเอียดคงต้องรอการประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง 

ชื่อย่อ

NFPA : (National Fire Protection Association ) คือ หน่วยงานป้องกันไฟแห่งชาติ

SCBA : (Self Contained Breathing Apparatus) เครื่องช่วยหายใจแบบใช้ถังอัดอากาศ

References

https://www.nfpa.org/codes-and-standards/nfpa-1970-standard-development/1970

https://www.usfa.fema.gov/blog/new-standard-for-firefighter-personal-protective-equipment/#:~:text=The%20National%20Fire%20Protection%20Association,Alert%20Safety%20Systems%20(PASS).

ห่วง D-Ring บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว(Full body Harness)กับการใช้งาน

แชร์บทความนี้

ห่วง D-Ring ที่ติดตั้งอยู่บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวในรุ่นมาตรฐานนั้นผู้ผลิตจะติดตั้งมาให้1จุดบริวณด้านหลังของชุดโดยผ่านการทดสอบความ

อ่านเพิ่มเติม »

ถังดับเพลิงระเบิดเพราะอะไร ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ระเบิด มาตรฐานถังดับเพลิง มอก.822-2532 และใบบันทึกตรวจสอบถังดับเพลิง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้หลายคนคงได้รับข่าวเร็วๆที่ผ่านมานี้ว่า เกิดเหตุถังดับเพลิงระเบิดจนท

อ่านเพิ่มเติม »

สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล อันตรายกว่ามั้ย กินแค่ไหนถึงปลอดภัยและคำแนะนำจาก WHO

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เราคงคุ้นเคยและชื่นชอบ เครื่องดื่ม หรือน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลสูงๆ ที่ด

อ่านเพิ่มเติม »