ระบบ Airline System กับงานพื้นที่อับอากาศ
สืบเนื่องจากบทความในเรื่องของพื้นที่อับอากาศและการทำงานในบ่อเกรอะเราจะมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยม ในการนำมาใช้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ตัวนี้เราจะเรียกมันว่า ระบบ Airline System หากตีความหมายง่ายๆ มันก็คือการส่งอากาศผ่านท่อส่งอากาศ ที่เลือกชนิดของการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เราจึงเรียกมันว่าระบบส่งอากาศ (Airline System) เราจะมาทำความรู้จักในเบื้องต้นกัน
ตัวอุปกรณ์ ระบบ Airline ตัวแรกที่จะพามารู้จัก จะเป็นส่วนที่ใช้ในการจ่ายอากาศหายให้เราหายใจ ที่นิยมใช้ก็จะมี 2 แบบ แบบแรก แบบหน้ากากเต็มหน้า บางรุ่นสามารถใช้หน้ากากร่วมกับ SCBA ได้ด้วย อีกชนิดจะเป็นแบบ ฮูดคลุมศรีษะ แบบนี้จะมีให้เลือกตั้งแต่กันฝุ่นยันกันสารเคมีได้เลยทีเดียว ข้อดีของฮูดคลุมศรีษะ คือสวมใส่สบาย
ส่วนต่อมาจะเป็นอุปกรณ์ลดแรงดัน มีทั้งแบบสายสะพาย และแบบคาดเอว โดยอุปกรณ์จะทำหน้าที่ลดแรงดัน จากแรงดันสูงๆ (6 - 300 bar หรือ 87- 4500 psi) ให้เหลือแรงดันต่ำๆเพื่อจ่ายเข้าหน้ากากหรือ hood ให้ความสบายและปลอดภัย ในการใช้งานบางรุ่นจะมีระบบจ่ายอากาศสำรองจากถังสำรองแบบอัติโนมัติแมื่อแรงดันหลักเกิดข้อผิดพลาดไม่สามารถจ่ายอากาศได้ จะจ่ายอากาศจากถังสำรองทันที เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน
ส่วนที่ 3 จะเป็นส่วนของชุดสายส่งอากาศที่มีให้เลือกหลากหลายความยาว มีข้อต่อให้เลือกหลายแบบ ต้องพิจารณาเลือกให้ถูกกับมาตรฐานของระบบของผู้ใช้ ตัวสายเองยังมีทั้งแบบกันและไม่กันไฟฟ้าสถิต ให้เลือกด้วย
ส่วนที่4อุปกรณ์กรองอากาศ ในกรณีที่เราใช้อากาศจากแหล่งกำเนิดอากาศที่เราไม่มั่นใจในเรื่องของความสะอาดจากฝุ่น หรือ สารมลทินต่างๆ เราจะจำเป็นจะต้องมีส่วนของการกรองเพื่อความปลอดภัยและมั่นใจว่าอากาศสะอาดเพียงพอ
ส่วนที่ 5 อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ชุดรถโมบายจ่ายอากาศ กรณีที่พื้นที่ปฏิบัติงานไม่มีแหล่งจ่ายอากาศ ก็จะมีให้เลือกมากมายหลายแบบ ตามงบประมาณและการใช้งาน
ตัวอย่างภาพรวมการออกแบบระบบส่งอากาศ ที่ได้รับความนิยมและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
References
https://www.3mscott.com/en-gb/?region_id=79&country_id=1308
บทความเกี่ยวเนื่อง
ความรู้เกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัย
http://www.thai-safetywiki.com/safety-knowledge-53
ลงบ่อเกรอะเสียชีวิตได้อย่างไร จะรู้และป้องกันอย่างไร
http://www.thai-safetywiki.com/confine-space/129-2020-09-01-09-23-36
ลงบ่อเกรอะเสียชีวิตได้อย่างไร จะรู้และป้องกันอย่างไร
น่าเสียใจที่เราจะได้ข่าวเหตุการณ์ที่มีผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสูญเสียชีวิตขณะทำงานไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตามข่าวล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2020 ที่ผู้รับเหมารับจ้างดูดสิ่งปฏิกูลที่ต้องมาเสียชีวิตลง ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์สาเหตุในเบื้องต้นอาจมีสาเหตุมาจาก การสูดดมก๊าซไข่เน่า หรือที่เรียกว่าไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) ที่มีความเข้มข้นสูงเข้าร่างกาย เรามาทำความรู้จักกับก๊าซไข่เน่ากันดีกว่า
ก๊าซไข่เน่า(ไฮโดรเจนซัลไฟด์) ไม่มีสี มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า ละลายได้ดีในน้ำส่วนใหญ่เกิดจากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ ก๊าซไข่เน่าเป็นแก๊สติดไฟได้ เมื่อติดไฟแล้วจะให้เปลวไฟสีน้ำเงินและเกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมา การสัมผัสไฮโดรเจนซัลไฟด์เพียงเล็กน้อยทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและปอด หากสูดดมเข้าไปจะมีผลทำให้เสียชีวิตได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีปริมาณเท่าใด เพื่อที่จะเลือกใส่อุปกรณ์ป้องกันลงไปทำงาน
สิ่งแรกที่ควรทำคือการตรวจวัด โดยเครื่องวัดแก๊สไข่เน่าไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
โดยปรกติแล้วเครื่องวัดแก๊สพวกนี้จะมีการแจ้งเตือนในแต่ละระดับความสำคัญตั้งแต่ค่า TWA,STEL,ก่อนที่จะถึงระดับที่เรียกว่า IDLH โดยที่ค่าเหล่านี้อธิบายคร่าวๆได้ดังนี้
STEL (Short-term ExposureLimit) หมายถึง ค่าความเข้มข้นสูงสุดที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถจะสัมผัสอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาสั้นๆ (สัมผัสวันละ 4 ครั้งๆ ละ 15 นาที ห่างกัน 1 ชั่วโมง) โดยไม่ได้รับอันตราย เช่น การระคายเคือง มึนเมา หรืออาการเรื้อรัง
TWA (Time-Weight Average) หมายถึง ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงใน 1 วัน หรือ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานเกือบทั้งหมดสามารถสัมผัส (Exposure) ซ้ำแล้วซ้ำอีก วันแล้ววันเล่าโดยปราศจากอันตรายต่อสุขภาพ
IDLH (Immediately Dangerous To Life or Health) ค่าความเข้มข้นของสารพิษที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพในทันที ในการตรวจวัดก๊าซหรือไอจะใช้หน่วยเป็น PPM - Part Per Million (ส่วนในล้านส่วน)
ก๊าซไข่เน่ามีค่าการแจ้งเตือนสำคัญๆที่เครื่องตรวจวัดควรจะมี ในระดับต่างๆดังนี้
Low Alarm10 ppm
High Alam15 ppm
STEL15 ppm
TWA 10 ppm
IDLH100 ppm (ค่าความเข้มข้นของสารพิษที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพในทันที)
จากค่าการแจ้งเตือนของเครื่องตรวจวัดจะเห็นได้ว่าถ้าเราทำการตรวจวัดก๊าซไข่เน่าเครื่องจะเตือนที่ 10 ppm โดยจะเตือนก่อนที่จะได้รับอันตรายถึงชีวิตล่วงหน้าก่อน 10 เท่า ก่อนที่จะถึง 100 ppm จะทำให้เราปลอดภัยแน่นอน ทีนี้เราจะมาสังเกตุอาการในการรับก๊าซไข่เน่าของแต่ละช่วง ppm ว่าอาการจะเป็นอย่างไร
ความเข้มข้นและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
นอกเหนือจากความเป็นพิษของก๊าซไข่เน่าแล้วเรายังต้องระวังเรื่องของปริมาณออกซิเจนที่จะต้องมีเพียงพอที่เราจะสามารถหายใจได้อย่างปลอดภัย หรือเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันได้อย่างถูกต้อง
References
https://www.cdc.gov/niosh/idlh/default.html
https://s7d9.scene7.com/is/content/minesafetyappliances/5500-015-MC%20OSHA%201926%201200%20Confined%20Space%20Construction
บทความเกี่ยวเนื่อง
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัย
http://www.thai-safetywiki.com/safety-knowledge-53
อุปกรณ์ทำงานในที่อับอากาศ (Confined Space)
http://www.thai-safetywiki.com/confine-space
จุดยึดสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ
หนึ่งในการวางแผนสำหรับการทำงานในสถานที่อับอากาศนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือแผนการช่วยเหลือฉุกเฉินในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดอุบัติเหตุ หรือหมดสติอยู่ภายในสถานที่อับอากาศ เนื่องจากสถานที่อับอากาศส่วนใหญ่เป็นสถานที่ที่มีทางเข้าคับแคบ การที่จะลำเลียงผู้ป่วยหรือผู้ปฏิบัติงานขึ้นมาจากสถานที่ดังกล่าวนั้นไม่สามารถทำได้โดยง่าย อุปกรณ์ช่วยเหลือที่มีความจำเป็นในงานช่วยเหลือชนิดหนึ่ง คือ จุดยึดหรือAnchor Point
สำหรับจุดยึดหรือAnchor Pointในปัจจุบันสามารถจำแนกออกได้เป็น จุดยึดชนิดติดตั้งแบบถาวร และจุดยึดที่ใช้ติดตั้งแบบชั่วคราว ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงจุดยึดประเภทชั่วคราวหรือTemporary Anchor Point เนื่องจากจุดยึดแบบชั่วคราวนี้ถูกนำมาใช้อยู่บ่อยครั้งทั้งยังมีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปทำงานในหน้างานต่างๆได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใดๆในการติดตั้งเพิ่มเติม
อุปกรณ์3ขาหรือTripod
จุดเด่น
จุดด้อย
จุดยึดแบบเสาหรือAdjustable Mast
จุดเด่น
จุดด้อย
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าจุดยึดแบบชั่วคราวนั้นให้ความสะดวกในการใช้งานได้อย่างมาก ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับหน้างานของแต่ละสถานที่ว่าเหมาะสมกับจุดยึดในรูปแบบใด แต่หากเลือกผิดอาจจะไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างที่ต้องการหากมีข้อสงสัยแนะนำให้ติดต่อผู้จำหน่ายที่มีความเชี่ยวชาญในการแนะนำข้อมูลให้กับท่านเพื่อประกอบการพิจารณาและเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานต่อไป
อุปกรณ์ถ่ายเทอากาศในที่อับอากาศ
( Confined Space Ventilator)
ระบบการถ่ายเทอากาศจะจำเป็นต้องถูกใช้ในสถานที่ทำงานต่อเมื่อสถานที่ดังกล่าวมีสภาพดังต่อไปนี้
- มีอ็อกซิเจนไม่เพียงพอ น้อยกว่า 19.5%ของมวลอากาศ หรืออ็อกซิเจนมากเกินไปจนอาจเป็นพิษ เกิน 23.5% ของมวลอากาศ
- มีไอหรือละอองของสารไวไฟ
- มีไอ,ละออง,ฝุ่น หรือแก็สพิษ
- มีสภาพอากาศร้อน
- มีการทำงานที่อาจทำให้เกิดฝุ่น ละออง หรือแก็ส ที่นำไปสู่การทำให้อ็อกซิเจนขาดแคลนหรือมากเกินไป
- การทำงานที่เกี่ยวกับความร้อนเช่น งานเจียร งานตัด งานเชื่อม
การใช้พัดลมดูดอากาศเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการนำอากาศบริสุทธ์เข้าไปในสถานที่ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ขจัดอากาศที่มีสิ่งปนเปื้อนออกจากสถานที่ทำงาน และเพื่อรักษาระดับอ็อกซิเจนในอากาศ การระบายอากาศที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิผลของพนักงาน
พัดลมดูดอากาศทำงานโดยการดูดอากาศจากบริเวณหนึ่ง อัดอากาศและปล่อยเข้าไปในสถานที่อับอากาศภายใต้ความดันและความเร็วลม(ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)ที่คงที่ กระบวนการนี้จะทำให้อากาศบริสุทธิ์ไหลเข้าไปในพื้นที่และขับไล่อากาศที่มีสิ่งปนเปื้อนออกมา เมื่อมีการตัดสินใจจะใช้พัดลมดูดอากาศในสถานทำงาน การเลือกพัดลมที่เหมาะกับการใช้งานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึง
เพราะพัดลมดูดอากาศไม่ได้มีแค่เพียงขนาดเดียว ผู้ใช้ไม่สามารถเลือกได้โดยเพียงแค่เห็น การเลือกจำเป็นต้องมีความรู้พอสมควร เช่นว่า จะเลือกแบบที่รุ่นแบบ hazardous หรือ non-hazadous, ใช้แก๊สหรือใช้ไฟฟ้า, ความเร็วลมเท่าได สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนเลือกพัดลม
การเลือกประเภทพัดลม Hazardous or Non-Hazardous Type การเลือกพัดลม ขั้นแรกให้เริ่มดูที่สถานที่ใช้งาน โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือสถานที่อันตรายและ ไม่อันตราย ๖(hazardous or non-hazardous) พื้นที่ใดที่มีโอกาสจะติดไฟหรือระเบิดเนื่องจากมีวัสดุที่ติดไฟตามที่สถาบัน National Electric Code® (NEC) ของสหรัฐอเมริการะบุไว้ เช่น โรงงานปิโตรเคมี, ปั๊มน้ำมัน, โรงงานอุดตสาหกรรมบางประเภท เป็นต้น ถ้า NEC กำหนดพื้นที่ไดไว้ว่าเป็นพื้นที่อันตราย อุปกรณ์เฉพาะจะต้องถูกใช้ พัดลมดูดอากาศสำหรับสถานที่อันตราย (Hazardous Type) จะต้องออกแบบให้ทำจากโครงสร้างกันการเกิดประกายไฟ ตัวพัดลมจะต้องควบคุมการเกิดประกายไฟ พัดลมประเภทนี้จะประกอบด้วยมอเตอร์กันระเบิด(explosion-proof motors) แต่ถึงแม้จะเรียกว่าพัดลมกันระเบิด แต่ไม่ได้หมายความว่ามอเตอร์ชนิดนี้จะไม่ระเบิด เพียงแต่ตัวมอเตอร์ทำจากโครงสร้างที่มีความแข็งแรงและเหนียวพอที่จะทำให้ตัวมอเตอร์ไม่แตกกระจายออกเมื่อเกิดการะเบิดขึ้นภายใน สำหรับพัดลมแบบไม่ใช้ในสถานที่อันตราย คือพัดลมที่ใช้ในสถานที่ที่ไม่ถูกระบุไว้ว่าเป็นสถานที่อันตราย โดยโครงสร้างพัดลมชนิดนี้จะออกแบบโดยไม่เป็นแบบที่กันประกายไฟ การเลือกพัดลมทั้งสองประเภทจะขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และตำแหน่งการติดตั้ง
ระบบการดูดอากาศ พัดลมสามารถแบ่งได้ตามระบบการดูดอากาศได้ดังนี้ พัดลมแบบดูดแนวตรง หรือ axial fan (ดูตัวอย่างอุปกรณ์) มีอยู่ 3 ชนิดคือ Propeller Fan, Tubeaxial fan และ Vanaxial Fan Propeller Fan หรือพัดลมระบายอากาศ ลักษณะของพัดลมชนิดนี้จะเหมือนพัดลมทั่วไป อาจประกอบด้วยใบพัด 1 หรือ 2 ใบพัด โดยพัดลมแบบนีจะสามารถทำให้อากาศเคลื่นที่ได้จำนวนมาก แต่แรงอัดอากาศจะน้อย Tubeaxial Fan ลักษณะของพัดลมชนิดนี้จะมีขนาดท่อพัดลมค่อนข้างยาว แต่ขนาดใบพัดจะสั้นกว่าแบบ Propeller Fan พัดลมแบบนี้จะมีแรงอัดอากาศสูง สามารถควบคุมทิศทางลมได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ ขนาดใหญ่และหนักมาก เคลื่อนย้ายได้ลำบาก Vanaxial Fan เป็นพัดลมที่พัฒนามาจาก Tubeaxial Fan โดยจะมีช่วงท่อพัดลมที่สั้นกว่า แต่ใช้ใบพัดแบบพิเศษช่วยทำให้แรงดันอากาศที่สูงกว่า ทำให้พัดลมชนิดนี้เหมาะสมอย่างมากในการใช้ในสถานที่อับอากาศ
ขนาดพื้นที่และตำแหน่งการติดตั้งเป็นส่วนที่สำคัญในการเลือกพัดลม โดยในสถานที่อับอากาศแต่ละแห่งจะมีความต้องการความเร็วลมที่ต่างกัน การคำนวณแรงลมสามารถทำได้ตามหลักการดังนี้
- ขนาดพื้นที่เท่าไหร่(เป็นลูกบาศก์ฟุต)
- จำนวนครั้งในการเปลี่ยนอากาศต่อชั่วโมง air changes per hour (ACH) --- ในการหา ACH พนักงานจะต้องใช้วิจารณญาณของตนเอง โดยคำนึงถึงปริมาตรและความรุนแรงของสิ่งปนเปื้อน หรือกำหนดโดยกฏหมายในพื้นที่นั้นๆหรือระเบียบของโรงงาน
เมื่อรู้ตัวเลขทั้งสองนี้แล้ว ให้เอาตัวเลขทั้งสองมาคูณกันเพื่อค่าแรงลม(CFM)ที่ต้องการ
ยกตัวอย่าง เช่น
กฎระเบียบในพื้นที่ กำหนดว่าการเปลี่ยนอากาศต้องมีอย่างน้อย 6 ครั้งต่อชั่วโมง (6 ACH) ถ้าพื้นที่อับอากาศมีปริมาตร 10,000 ลูกบาศก์ฟุต ดังนั้น ต้องการลมขนาด 60,000 ลูกบาศก์ฟุต แล้วหารด้วยจำนวนนาทีใน 1 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 60 ดังนั้นแรงลมขั้นต่ำที่ต้องการจะเท่ากับ 1,000 CFM (ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
ในขณะที่ขนาดพื้นที่มีผลต่อขนาดของพัดลม บริเวณที่ติดตั้งพัดลมจะมีผลต่อทั้งขนาดพัดลมและท่อลม ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ ซึ่งความยาวของท่อจะส่งผลต่อขนาดพัดลมได้ เนื่องจากว่ายิ่งความยาวท่อยาวก็ความแรงดันของลมก็จะยิ่งลดลง เนื่องจากจะมีการสูญเสียแรงเนื่องจากแรงเสียดทานของพื้นผิวภายในท่อ ดังนั้นหากมีการใช้ท่อที่ยาวมากก็ควรจะเลือกขนาดพัดลมที่มีแรงดันอากาศมากกว่าปกติ
พัดลมแบบดูดแนวแกนหมุน หรือ Centrifugal fan (ดูตัวอย่างอุปกรณ์)
พัดลมชนิดนี้จะดูดอากาศโดยใช้ใบพัดแบบวงล้อ โดยทั่วไปพัดลมประเภทนี้จะทำให้อากาศเคลื่อนตัวช้ากว่าแบบแนวตรง แต่มีความดันอากาศที่สูงกว่าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้คู่กับท่ออากาศ
อุปกรณ์เร่งความดันอากาศ (Flow Amplifier) (ดูตัวอย่างอุปกรณ์)
อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่เหนี่ยวนำอากาศให้เคลื่อนไหวไปในแนวของอุปกรณ์เพื่อเพิ่มแรงลม โดยอุปกรณ์นี้จะทำงานโดยเพียงแค่ใช้ท่ออากาศที่มาจากเครื่องอัดอากาศไหลสู่อุปกรณ์ในส่วนฐานของอุปกรณ์ อุปกรณ์จะทำหน้าที่ควบคุมลมเคลื่อนที่ออกมาผ่านช่องลมที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความแรงอากาศ อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในสถานที่อันตรายหรือเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ เนื่องจากไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวในอุปกรณ์ โดยการใช้งานควรมีการยึดกับพื้นและมีเชื่อมต่อที่มั่นคง เพื่อป้องกันการเกิดการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตย์
เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor)
การใช้เครื่องอัดอากาศนี้โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีเมื่อสถานที่ทำงานมีข้อจำกัดในการเข้าถึง หรือมีทางเข้าที่เล็ก ท่ออากาศปกติเข้าไม่ได้ จำเป็นต้องใช้ท่อที่มีขนาดเล็ก แต่การใช้เครื่องอัดอากศนี้มีข้อจำกัดคือห้ามใช้ในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการติดไฟ เนื่องจากเป็นแหล่งที่อาจทำให้เกิดประกายไฟได้
แหล่งพลังงานของพัดลม
ปัจจัยอีกอย่างที่สำคัญก็คือชนิดแหล่งพลังงานของพัดลม ซึ่งปกติพัดลมแต่ละชนิดจะใช้แหล่งพลังงานได้เพียงอย่างหนึ่ง ซึ่งได้แก่
Electrical
--- ไฟฟ้า กระแสสลับ (AC) สำหรับใช้ทั่วไปในการทำงาน
--- ไฟฟ้า กระแสตรง (DC) มักใช้ในกับแบตเตอรี่รถยนต์ ในการทำงานนอกสถานที่
Pneumetic
--- ใช้แรงดันลมจากเครื่องอัดอากาศ มักใช้ในสถานที่ที่เสี่ยงอันตราย ไม่เหมาะกับการใช้แก๊สหรือไฟฟ้า
Engine
--- เครื่องยนต์ใช้น้ำมัน มักใช้ในการทำงานนอกสถานที่ แต่ห้ามใช้ในสถานที่ที่เสี่ยงกับการติดไฟ
ซึ่งที่เป็นที่นิยมสำหรับสถานที่อับอากาศจะเป็นแบบใช้ไฟฟ้าและแบบใช้แรงดันลม ซึ่งการเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพที่ทำงานว่าเหมาะสมกับแหล่งพลังงานอย่างใด การไม่พิจารณา อาจทำให้อุปกรณ์ที่ซื้อมาใช้งานไม่ได้ เช่น ซื้อพัดลมแบบใช้ไฟฟ้ามาแล้วไม่มีเต้าเสียบ หรือ ซื้อแบบใช้แก๊สมาแต่พบว่าสถานที่นั้นไม่อนุญาตให้ใช้พัดลมที่มีควัน เป็นต้น