อัพเดท ข่าวเกี่ยวกับโควิดและแนวโน้มการแพร่ระบาดใหม่ล่าสุด

แชร์บทความนี้

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกประสานความร่วมมือเฝ้าติดตามสายพันธุ์โควิด-19 “FU.1” หรือ XBB.1.16.1.1 หลานของ XBB.1.16

ซึ่งได้มีการเปรียบเทียบการเจริญเติบโต และความสามารถในการเเพร่กระจาย พบว่าสูงกว่าสายพันธุุ์ XBB.1.16 ถึง 50% โดยไทยพบแล้ว 1 คน ว่า เป็นข้อมูลที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานเข้าสู่ฐานข้อมูลโลก หรือ GISAID ซึ่งวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการติดตามและสุ่มตรวจถอดรหัสสายพันธ์ุอยู่ต่อเนื่อง นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ กล่าวว่า แม้ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ถึงความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น และการเสียชีวิตมากที่ขึ้นตาม

แนวโน้วใหม่ ที่น่ากังวล

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลว่า การแพร่กระจายของโควิด XBB.1.16.1.1 หรือสายพันธุ์ FU.1 จะเร็วมาก ด้วยปัจจัยต่างๆที่เปลี่ยนไป เช่น คนเริ่มถอดหน้ากาก และกิจกรรม คอนเสิร์ต เฟสติวัล ที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงการตระหนักและลดการระวังตัวน้อยลงและ คิดว่าโควิดเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา ประกอบกับภูมิคุ้มกันเริ่มลดลง เพราะคนฉีดวัคซีนมานาน หลายคนฉีดวัคซีนเกิน 1 ปีหลังจากฉีดเข็มสุดท้ายทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่ม แต่ไม่อยากให้กังวลมากนักเพราะธรรมชาติของไวรัสมีการกลายพันธ์ุอยู่ตลอด อย่างไรก็ตามทางกรมยังคงติดตามและเฝ้าระวังต่อเนื่อง

เปิดแผนผังตระกูล OMICRON

สายพันธุ์ย่อยอันดับหนึ่งกลุ่ม XBB.1.16* หรืออาร์คทูรัส (Arcturus) พบการกลายพันธุ์ระบาดไปทั่วโลกถึง 3 รุ่นคือ

รุ่นแรก

โอมิครอน XBB.1.16 (กลายพันธุ์ ณ. ตำแหน่ง S:E180V, S:478R) ทั่วโลกพบ 9,003 ราย ประเทศไทย 139 ราย

รุ่นลูก

โอมิครอน XBB.1.16.1 (S:T547I) ทั่วโลกพบ 2,714 ราย ประเทศไทย 26 ราย

โอมิครอน XBB.1.16.2 (ORF3a:V13L, ORF1a:P926H) ทั่วโลกพบ 666 ราย ประเทศไทยพบ 25 ราย

โอมิครอน XBB.1.16.3 (A2893C) ทั่วโลกพบ 175 ราย ประเทศไทยพบ 5 ราย

โอมิครอน XBB.1.16.4 (S:T678I) ทั่วโลกพบ 177 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ

โอมิครอน XBB.1.16.5 (T9991C,C16332T) ทั่วโลกพบ 135 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ

โอมิครอน XBB.1.16.6 (S:F456L) ทั่วโลกพบ 23 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ

รุ่นหลาน

โอมิครอน XBB.1.16.1.1 (T3802C)**: นามแฝง FU.1 ทั่วโลกพบ 122 ราย ประเทศไทยพบ 1 ราย

โอมิครอน XBB.1.16.1.2 (C8692T): นามแฝง FU.2 ทั่วโลกพบ 149 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ

สายพันธุ์ย่อยอันดับสามคือกลุ่ม XBB.1.9.1* หรือไฮเปอเรี่ยน (Hyperion) พบการกลายพันธุ์ระบาดไปทั่วโลกถึง 3 รุ่นคือ รุ่นแรก รุ่นลูก และรุ่นหลานเช่นกัน ใช้ชื่อเรียกเป็นอักษรย่อ “FL” ตามด้วยตัวเลขทศนิยม ยังไม่มีการตั้งชื่อนามแฝง

คำแนะนำ

ทางแพทย์แนะยังคงแนะนำ ให้ใส่หน้ากากและฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีหลายประเทศมีการอนุมัติใช้วัคซีนโควิด bivalent (ไบวาเลนต์) หรือวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดสองสายพันธุ์ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร แคนาดา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ รวมถึงประเทศไทยด้วย

การฉีดวัคซีนโควิด bivalent (ไบวาเลนต์) เป็นเข็มกระตุ้น จะช่วยเพิ่มความสามารถในการป้องกันโควิดจากสายพันธุ์โอมิครอน และสายพันธุ์ย่อยที่กำลังแพร่ระบาดทั่วโลกได้ดีขึ้น โดยมีความปลอดภัยสูงไม่แตกต่างจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านต่อ »