ถุงมือยางธรรมชาติแบบมีแป้ง ต่างจากไม่มีแป้ง อย่างไร

แชร์บทความนี้

ถุงมือยางธรรมชาติแบบใช้แล้วทิ้ง หรือถุงมือยางแพทย์ หลักๆ มีสองประเภท คือ ถุงมือแบบมีแป้ง (Powdered) และ ถุงมือแบบไม่มีแป้ง (Powdered Free) โดยถุงมือมีแป้งจะมีการใช้แป้งซึ่งทำมาจากข้าวโพดมาใช้ในการผลิตถุงมือ เพื่อให้สวมใส่ง่ายและป้องกันการติดกันของถุงมือ แต่ปัญหาที่พบบ่อยของถุงมือชนิดมีแป้งคือ การแพ้แป้งสำหรับบางคนหรือพวกสิ่งสกปรกที่แฝงมากับแป้ง ส่วนถุงมือชนิดไม่มีแป้ง จะมีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยากกว่า เนื่องจากต้องมีกระบวนการใช้คลอรีน ( Chlorinated Process) เพื่อให้ถุงมือมีความลื่น สวมใส่ง่ายแม้ไม่ต้องใช้แป้ง ถึงแม้อาจสวมใส่ยากกว่าถุงมือชนิดมีแป้ง แต่ก็สะอาดกว่าและไม่เสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการแพ้

ถุงมือยางธรรมชาติไร้แป้ง

  1. ลดเสี่ยงต่ออาการแพ้แป้ง สำหรับผู้ที่มีผิว แพ้ ระคายเคือง ได้ง่าย
  2. สะอาด – ถุงมือไม่มีผงแป้งออกมาจากถุงมือขณะใช้ ซึ่งอาจจะตกลงในชิ้นงานหรืออาหาร ก่อให้เกิดความสกปรก หรือเสียหายต่องานที่ต้องการความสะอาดได้
  3. ถึงแม้แป้งในถุงมือนั้นโดยมากจะเป็นแป้งข้าวโพด ซึ่งไม่มีอันตรายใดๆ เราสามารถสัมผัสแป้งนั้นได้ แต่การที่สวมถุงมือมีแป้งทำงาน เหงื่อที่มือจะออกมาผสมกับแป้ง กักอยู่ในถุงมือนานๆ ประกอบกับโปรตีนซึ่งอยู่ในน้ำยางธรรมชาติ อาจทำปฎิกิริยากับแป้งซึ่งกระตุ้นอาการแพ้ได้

 

ถุงมือยางธรรมชาติชนิดมีแป้ง

  1. ช่วยให้ผู้สวมใส่ ใส่ถุงมือได้ง่ายขึ้น เพราะแป้งจะทำหน้าที่หล่อลื่นถุงมือ ทำให้เราสวมใส่ถุงมือได้ง่าย
  2. มีกรรมวิธีในการผลิตที่ซับซ้อนน้อยกว่า ไม่ต้องผ่านกระบวนการขจัดแป้งออก จึงมีราคาถูกกว่า

 

เลือกวัสดุทำชุด PPE อย่างไร ให้ปลอดภัย

แชร์บทความนี้

ชุดป้องกันเชื้อโรค หรือ ชุด COVERALL / PPE มีด้วยกันหลายแบบ ซึ่งระดับการป้องกัน และความสบายในการสวมใส่จะขึ้นอยู่กับชนิดผ้า และชนิดตะเข็บ

อ่านต่อ »

ข้อกำหนดอ่างล้างตาและฝักบัวชำระล้างฉุกเฉินตาม ANSI Z358.1-2014 Standard

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันมาตรฐานสากลที่ใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายคือ ANSI Z358.1-2014 Standard (Versionปัจจุบัน) ซึ่งได้กำหนดหัวข้อสำคัญๆไว้ดังนี้

อ่านต่อ »

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านเพิ่มเติม »