การใช้ยาสเตียรอยด์ – ข้อดี ข้อเสีย รู้ถึงผลข้างเขียงระยะยาวก่อนใช้

แชร์บทความนี้

ยาสเตียรอยด์เป็นกลุ่มยาที่มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการต่างๆ ของเนื้อเยื่อในร่างกาย รวมถึงอาการของโรค และสามารถกดภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ยาสเตียรอยด์สร้างจากการสังเคราะห์เลียนแบบสเตียรอยด์ซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่ร่างการสร้างขึ้นเองได้จากต่อมหมวกไต เพื่อใช้ในการกระตุ้นการทำงานของร่างกาย เช่นการเจริญเติบโต การพัฒนาการต่างๆ เป็นต้น แต่การใช้งานไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ในบทความนี้ เราจะมาดูข้อดี ข้อเสีย และตัวอย่างเคสเพื่อให้คุณเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น

ข้อดีของสเตียรอยด์

ลดการอักเสบอย่างมีประสิทธิภาพ: ใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ และภูมิแพ้ผิวหนัง โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน รวมทั้งมีการใช้เกี่ยวกับความสวยความงาม และวงการกีฬา

  1. ควบคุมภูมิคุ้มกัน: มีประโยชน์ในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)
  2. ช่วยในการรักษาเฉพาะหน้า: สำหรับโรคที่มีอาการรุนแรงและต้องการบรรเทาอย่างรวดเร็ว เช่น หอบหืดเฉียบพลัน

ข้อเสียของสเตียรอยด์

  1. ผลข้างเคียงระยะยาว: การใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
  2. ผลกระทบทางผิวหนัง: เช่น ผิวหนังบางลงและฟกช้ำง่าย
  3. ภาวะภูมิคุ้มกันลดลง: เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ เนื่องจากยามีฤทธิ์ในการกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  4. มีผลต่อจิตใจ: สเตียรอยด์ หากใช้ในปริมาณที่มากจะทำให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จนอาจจะทำให้ติดการใช้ยาได้
  5. ผลต่อร่างกาย: การใช้สเตียรอยด์นานเกินไปจะทำให้ลักษณะร่างกายภายนอกเปลี่ยนไปเช่น มีใบหน้ากลม มีไขมันพอกในบางบริเวณ ผิวหนังบาง โดยสามารถสังเกตุได้จากภายนอก
  6. ผลต่อชีวิต: การใช้สเตียรอยด์ในปริมาณมาก และนานเกินไปจะทำให้ร่างกายหยุดสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติ ถ้าหากมีการหยุดใช้กระทันหันร่างกายอาจเกิดสภาวะช็อก หมดสติและอาจถึงชีวิตได้หากส่งแพทย์ไม่ทัน

การใช้สเตียรอยด์ที่ใช้ในการรักษาโรคและภาวะต่าง ๆ ดังนี้

  1. การรักษาโรคที่มีการอักเสบ: สเตียรอยด์ช่วยลดการอักเสบในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลำไส้อักเสบ และโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบเรื้อรังอื่น ๆ
  2. การใช้สเตียรอยด์ในการรักษาโรคตา: สเตียรอยด์ถูกใช้ในการลดการอักเสบของม่านตาหรือส่วนอื่น ๆ ของดวงตาที่เกิดการอักเสบ เช่น โรคม่านตาอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะตาพร่ามัวหรือสูญเสียการมองเห็น
  3. โรคภูมิแพ้: ใช้ในการรักษาโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น หอบหืด ภูมิแพ้จมูก และผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
  4. โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Diseases): สเตียรอยด์ถูกใช้ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันในโรคเช่น โรค SLE (Systemic Lupus Erythematosus) และโรคแพ้ภูมิตัวเองอื่น ๆ
  5. การรักษาผื่นผิวหนัง: ใช้ในการรักษาภาวะผิวหนังอักเสบหรือผื่นผิวหนังที่ไม่ตอบสนองต่อยาชนิดอื่น ๆ
  6. ปัญหาทางระบบหายใจ: ใช้ในกรณีการอักเสบเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและโรคปอดเรื้อรัง (COPD)
  7. การรักษามะเร็งบางชนิด: ใช้ร่วมกับการรักษามะเร็งเพื่อควบคุมอาการ เช่น ลดการอักเสบและควบคุมการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  8. ลดอาการบวมในสมอง: ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการบวมในสมองจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การบาดเจ็บที่สมองหรือเนื้องอก

การใช้สเตียรอยด์มีข้อดีในการรักษาอาการต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการซื้อยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์มาใช้หรือรับประทานเอง

เหตุผลที่ควรเลือกใช้ ชุดดับเพลิง ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานNFPA 1971

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดดับเพลิง ในท้องตลาดมีมากมาย ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนในการเลือกใช้งานเป็นอย่างมาก

อ่านต่อ »

แนะนำการเลือกหน้ากากกันโรค

แชร์บทความนี้

เราจึงควรต้องมีความรู้ ในการเลือกหน้ากากให้ถูกชนิดจึง แนะนำการเลือกหน้ากากกันโรค เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยได้…

อ่านต่อ »

การเลือกไส้กรองแก๊สและไอระเหย มาตรฐานยุโรป EN

แชร์บทความนี้

มาตรฐานยุโรป EN ความรุนแรงของแก๊สและไอระเหยโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับ 1.ลักษณะของแก๊สและไอระเหยว่าเป็นพิษมากน้อยเพียงไร 2. ชนิดของ…

อ่านเพิ่มเติม »

สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล อันตรายกว่ามั้ย กินแค่ไหนถึงปลอดภัยและคำแนะนำจาก WHO

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เราคงคุ้นเคยและชื่นชอบ เครื่องดื่ม หรือน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลสูงๆ ที่ด

อ่านเพิ่มเติม »

โรคยอดฮิตมนุษย์เงินเดือน กับปัญหาระบบย่อยอาหาร อันตรายกว่าที่คิด

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ การไม่มีโรคยังคงเป็นลาภอันประเสริฐ ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยไหน โดยเฉพาะ

อ่านเพิ่มเติม »