บาดเจ็บที่ศีรษะ การกระทบกระเทือนที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิต

แชร์บทความนี้

ความหมาย  การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงที่เข้ามากระทบต่อศีรษะและร่างกาย แล้วก่อให้เกิดความบาดเจ็บต่อหนังศีรษะ,
กะโหลกศีรษะ, สมอง และเส้นประสาทสมอง

ชนิดของการบาดเจ็บต่อศีรษะ

  1. การบาดเจ็บต่อหนังศีรษะเช่น หนังศีรษะฉีกขาด หัวโน
  2. การบาดเจ็บต่อกะโหลกศีรษะ เช่น กะโหลกร้าว กะโหลกแตกยุบ
  3. การบาดเจ็บต่อสมอง ได้แก่ เลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมอง เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง สมองช้ำสมองบวม เลือดออกในสมอง

การบาดเจ็บที่ศีรษะซึ่งอาการในช่วงแรกๆ อาจจะเป็นได้ตั้งแต่ไม่มีอาการเลย หรือปวดศีรษะเล็กน้อยไปจนถึงไม่รู้ตัว  เกร็ง หรือไม่ดีจนถึงขั้นจะเสียชีวิต  โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บในช่วงแรกๆ  แต่ลักษณะที่สำคัญและเป็นปัญหาที่ต้องคิดถึง คือการบาดเจ็บนั้นมีเลือดออกหรือไม่ เพราะสามารถขยายตัวและเพิ่มความรุนแรงขึ้นได้

การบาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นภาวะที่อันตราย เพราะมีการกระทบกระเทือนทางสมอง กะโหลกศีรษะ และระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุให้พิการ หรือเสียชีวิตได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะส่วนใหญ่จะเกิดจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติจากการลื่นล้ม อุบัติเหตุทางรถ หรือการตกจากที่สูง หรือสิ่งของตกใส่ โดยมาจากหลายสาเหตุเช่นความประมาท อุบัติเหตุ หรือแม้กระทั่งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะเป็นภาวะที่อันตรายมาก ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันเวลา เพื่อลดความเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อสมองให้น้อยที่สุด

 

บาดเจ็บที่ศีรษะคืออะไร

เป็นการบาดเจ็บที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมอง โดยอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้เช่น มีแผลแตก มีการคลั่งของเลือด มีเลือดออกใต้หนังศีรษะ มีอาการอ่อนแรง สูญเสียการทรงตัว สับสน มึนงง จำสถานที่ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ เป็นต้น

 

ระยะของการบาดเจ็บที่ศีรษะ

การบาดเจ็บที่ศีรษะสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งการบาดเจ็บที่ศีรษะโดยตรง เช่น ถูกตี ถูกยิง ชนของแข็ง ของแข็งหล่นใส่ และสามารถเกิดจากการบาดเจ็บทางอ้อม เช่น การตกจากที่สูงแล้วก้นกระแทกพื้น ทำให้ศีรษะกระแทกกระดูกคอส่วนบน และเกิดการกระทบกระเทือนที่สมองส่วนท้าย การบาดเจ็บที่ศีรษะนั้นจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

  • บาดเจ็บที่ศีรษะระยะแรก เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันซึ่งกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ของศีรษะ เช่น หนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ เนื้อสมอง ทั้งการบวม ช้ำ เนื้อสมองช้ำ กะโหลกแตกยุบ เป็นต้น
  • บาดเจ็บที่ศีรษะระยะที่สองซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนหลังเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยอาจใช้เวลานานเป็นนาที หรือเป็นชั่วโมง หรืออาจจะนานเป็นวัน เช่นภาวะเลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ และเกิดภาวะสมองบวม เป็นต้น

 

 

การวินิจฉัยอาการการบาดเจ็บที่ศีรษะ

การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นภาวะที่อันตรายมาก ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการประเมินอาการอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดความดันภายในกะโหลกสูงเนื่องจากมีเลือดออก ซึ่งเป็นสาเหตุของการพิการหรือเสียชีวิตได้ โดยการตรวจวินิจฉัยสามารถทำได้หลายประการ ดังนี้

  • การตรวจร่างกายแพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยการซักถามผู้ป่วย และประวัติว่าผู้ป่วยมีอาการที่ผิดปกติหรือไม่ เช่น ตามัว หูอื้อ ชาที่ผิวหนัง มีการตรวจระดับความรู้สึกตัว ตรวจรูม่านตา ตรวจการเคลื่อนไหวของแขนขา ตรวจสัญญาณชีพ และดูอาการที่แสดงว่ามีความดันในกะโหลกเพิ่ม หรือมีกระดูกหักร่วมด้วยหรือไม่
  • การตรวจด้วยเครื่อง CT SCAN ซึ่งตรวจความผิดปกติของร่างกายด้วยการฉายรังสีเอกซเรย์ ไปยังบริเวณสมองเพื่อดูอวัยวะภายในทำให้เห็นสภาพของหลอดเลือดต่างๆในสมอง และทำการวินิจฉัยโรคหรือใช้ในการติดตามโรคที่เป็นอยู่ต่อไป

 

 

การรักษาการบาดเจ็บที่ศีรษะ

 

  • ระยะฉุกเฉินเป็นการดูแลร่างกายเพื่อลดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน โดยอาจจะมีการให้ออกซิเจนอย่างน้อย 24 ชั่วโมงเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอ
  • ระยะทั่วไปเป็นการรักษาที่ต่อเนื่องจากระยะฉุกเฉิน เช่น การรักษาเพื่อป้องกันสมองบวม หรือลดการบวมด้วยยา และคงความดันในกะโหลกศีรษะให้คงที่ เป็นต้น

 

ข้อควรปฏิบัติหลังการรักษาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
หากแพทย์ตรวจแล้วพบว่าผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บไม่รุนแรง และไม่ต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล แพทย์จะให้ผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้าน ซึ่งมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

  • งดการออกกำลังทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารอ่อน
  • งดดื่มสุราและกินยาที่ทำให้มีอาการง่วงซึมทุกชนิด

 

อาการที่ควรรีบกลับมาพบแพทย์

 

  • มีอาการง่วงซึม หรือไม่รู้สึกตัว หมดสติ
  • กระสับกระส่ายมากกว่าปกติ พูดลำบาก ติดๆขัดๆ หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
  • มีอาการแขนขาอ่อนแรงลง หรือปวดศีรษะรุนแรง
  • ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน
  • คอแข็ง
  • มีอาการไข้สูง คลื่นไส้ และอาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
  • มีเลือด หรือน้ำใส ๆ ไหลออกจากหู หรือจมูก และไม่ควรพยายามสั่งออก

 

การดูแลและป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะ

 

  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับยานพาหนะ และสวมหมวกกันน็อคเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะ ไม่ควรใช้ความเร็วในการขับขี่สูงเกินกำหนด
  • หลังได้รับบาดเจ็บ หากผู้ป่วยจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ ถึงแม้จะไม่มีอาการใด ๆ ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลเพราะการบาดเจ็บอาจกระทบกระเทือนต่อสมองมาก
  • การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวควรพยายามให้อยู่ในท่าตรง และไม่ควรให้ศีรษะห้อยลง เพราะผู้ป่วยอาจจะมีการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง หรือกระดูกต้นคอได้
  • ขณะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ควรให้ผู้ป่วยตะแคงหน้าเล็กน้อยเพื่อป้องกันลิ้นตกและการสำลัก
  • ผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบการบาดเจ็บทางสมองที่รุนแรง หากแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้าน ในระหว่างการพักฟื้น ญาติหรือผู้ใกล้ชิดจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และคอยสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 48-72 ชั่วโมง หากพบอาการผิดปกติให้รีบนำตัวส่งแพทย์ทันที

 

การเกิดอุบัติเหตุที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างเร่งด่วน อาจนำมาซึ่งอันตรายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เราจึงควรให้ความสำคัญและสังเกตอาการผิดปกติอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย และฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติได้เร็วที่สุด

PID sensor สำหรับตรวจจับสารระเหยเร็ว (VOCs)

แชร์บทความนี้

จากข้อจำกัดของ Electrochemical sensor ในบทความเรื่องที่แล้วที่ไม่สามารถจะตรวจจับแก๊สพิษที่มีคุณสมบัติระเหยเร็วที่เราเรียกว่า

อ่านเพิ่มเติม »

แคดเมียม คืออะไร โลหะพิษอันตราย หลังพบที่โรงงานสมุทรสาคร กว่า 15,000 ตัน

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้จากประเด็นที่มีข่าวเมื่อวันที่ 5 เมษายน  2 บริษัทลอบขนกากแร่แคดเมีย

อ่านเพิ่มเติม »

สถานที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ต้องคำนึงอะไรบ้างเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ใครที่มีหน้าที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ หรือมีคนที่รักซึ่งเป็นผู้สูงวัยอย

อ่านเพิ่มเติม »