สิวจากแมสก์ / หน้ากากอนามัย (Maskne)

แชร์บทความนี้

สิวจากการสวมแมสก์ หรือ หน้ากากอนามัย 

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งโรคระบาดและฝุ่น ทำให้ผู้คนหันมาใส่หน้ากากกันมากขึ้น ซึ่งการใส่หน้ากาก พบว่าหลายๆคนเจอกับปัญหาสิวเพิ่มขึ้น บริเวณที่สิวเพิ่มขึ้นจะเป็นบริเวณใบหน้าที่ถูกปิดด้วยหน้ากากอนามัย จึงมีศัพท์ที่เรียกกันว่า “Maskne” หรือสิวที่เกิดจากการใส่หน้ากากนั่นเอง สาเหตุหลักเกิดจากการเสียดสีของหน้ากากอนามัยกับผิวหน้า โดยมีชื่อทางการแพทย์ว่า “Acne Mechanica” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

สิวคืออะไร?

สิวเป็นสภาพผิวที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยทั่วไปสิวมักเกิดจากรูขุมขนอุดตันด้วยซีบัม (น้ำมัน) เซลล์ผิวหนังเหงื่อและความชื้นสิ่งสกปรกและสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ การอุดตันเหล่านี้สามารถดักจับแบคทีเรีย Propionibacterium acnes (P. Acnes) ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติบนผิวหนังให้ติดอยู่ใต้ชั้นผิวทำให้เกิดการติดเชื้อการอักเสบและการพัฒนาของ “สิว”
สำหรับ Acne mechanica สิวประเภทนี้เกิดจากการอุดหรือเสียดสีกับผิวหนังจนนำไปสู่การระคายเคืองของผิวหนังในระยะสั้น เมื่อเวลาผ่านไปการเสียดสีอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่การอักเสบที่สามารถอุดตันรูขุมขนและนำไปสู่การเกิดสิว ความชื้นและเหงื่อที่ติดอยู่บนผิวหนังเมื่อสวมหน้ากากเป็นเวลานานก็มีส่วนทำให้เกิดสิวเหล่านี้ได้เช่นกัน Maskne เป็นกลไกการเกิดสิวรูปแบบหนึ่งที่ทำให้เกิดสิวในบริเวณที่มีมาส์กหน้า ได้แก่ กรามแก้มจมูกคางและรอบปาก ก่อนเกิดการระบาดใหญ่ของ COVID-19 นักกีฬาที่สวมหมวกกันน็อกมักมีอาการนี้บ่อยที่สุด

ลักษณะสิวจากหน้ากาก หรือ Maskne

บริเวณที่ใส่หน้ากากอนามัยจะเกิดสิวอุดตันซึ่งมีลักษาณะเป็นจุดเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อใช้มือลูบผิวจะรู้สึกได้ว่าผิวไม่เรียบ และสิวอักเสบเกิดขึ้นบริเวณเดียวกัน

 

 

สิ่งที่ทำให้เกิด Maskne ?

  • การเสียดสีของหน้ากากอนามัยกับผิว : หากผิวหน้ากากไม่เรียบ การเสียดสีกับผิวเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้ผิวระคายเคือง เกิดการอักเสบได้
  • แต่งหน้า – การแต่งหน้าภายใต้หน้ากากของคุณ เพิ่มโอกาสในการทำให้เกิดรูขุมขนอุดตันและสิว
  • ความชื้น – ความร้อนและความชื้นจากการหายใจเข้าไปในหน้ากากนั้นก็ค่นอข้างยากอยู่แล้ว แต่ด้วยอุณหภูมิและความชื้นที่เพิ่มขึ้นในอากาศใ นช่วงอากาสร้อน ผู้คนก็มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาสิวมากขึ้นเช่นกัน
  • ความเครียด – ความเครียดทำให้การผลิตคอร์ติซอลและฮอร์โมนอื่น ๆ เพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการผลิตฮอร์โมนนี้จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันและเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของเราเหนื่อยล้าร่างกายจะเริ่มทำให้อาการทางสุขภาพผิวหนังแย่ลงและใช้เวลานานขึ้นฟื้นฟู

การป้องกัน

เมื่อเรารู้สาเหตุของการเกิดสิว วิธีการง่ายๆในการป้องกันคือการหลักเลี่ยงสาเหตุเหล่านั้น แต่นั่นไม่ใช่ทางเลือกสำหรับหลาย ๆ คนในตอนนี้ หากคุณสามารถใช้เวลาอยู่บ้านได้มากขึ้นและ ไม่ต้องสวมหน้ากากก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ยังมีการป้องกันอื่นๆที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันการเกิดสิวหรืออย่างน้อยก็ลดความรุนแรงลง

  • หมั่นรักษาความสะอาดของผิวหน้า มือ อยู่เสมอ ช่วยไม่ให้เชื้อแบคทีเรียอื่น นอกเหนือจากเชื้อไวรัส มาสัมผัสกับผิว จนก่อให้เกิดสิว
  • การถอดหน้ากากอนามัยในสถานที่ที่ปลอดภัย เช่น หากทำงานอยู่ในห้องคนเดียวก็ควรจะถอดหน้ากากอนามัยออก
  • สำหรับ หน้ากากอนามัยชนิดกระดาษ ควรใช้วัสดุที่มีคุณภาพ สะอาด มีผิวความเรียบ ไม่ขรุขระ   เพื่อลดการเสียดสีกับผิวหน้า และควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน สำหรับหน้ากากอนามัยชนิดผ้าควรซักทำความสะอาดทุกวันเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคและกลิ่นเหม็น
  • การแต่งหน้าน้อยลง จะช่วยลดโอกาสการอุดตันลง
  • การดูแลรักษาความสะอาดผิวหน้า หากท่านแต่งหน้า เมื่อกลับบ้านควรล้างเครื่องสำอางออกให้หมดด้วยผลิตภัณฑ์เช็ดเครื่องสำอาง และล้างหน้าด้วยโฟมล้างหน้าที่มีคุณสมบัติลดการอุดตันที่ไม่ทำให้ผิวแห้ง เพราะการใช้โฟมล้างหน้าที่ทำให้ผิวแห้งจะทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น
  • ถ้ามีสิว ไม่ควรบีบแคะแกะเกา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการดูแลอย่างถูกต้องและป้องกันการเกิดแผลเป็นและรอยหลุมสิว

 

>>>> Anyguard หน้ากากไม่ทำร้ายผิว ไม่ระคายคือง ลดการเกิดสิว  <<<<

 

อุปกรณ์Emergency Shower ชนิดSelf-Contained Eyewash

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าในการทำงานร่วมกับสารเคมีนั้นมีโอกาสที่ผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับอันตรายจากสัมผัสสารเคมีดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจ…

อ่านเพิ่มเติม »

ทำความรู้จักกับ ชุดตรวจโควิด 19 ชนิดเก็บตัวอย่างผ่านน้ำลาย ใช้อย่างไร?

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ในช่วงที่โควิด-19 กลับมาระบาดหนักในไทยอีกระลอก คนไทยเริ่มหันมาให้คว

อ่านเพิ่มเติม »

ซีเซียม 137 คืออะไร สารกัมมันตรังสี อันตรายแค่ไหน อธิบายแบบง่ายๆ เข้าใจ ชัดเจน ไม่ตระหนก

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ซีเซียม 137 คืออะไร ซีเซียม-137 นั้น เป็นสารกัมมตรังสีเกิดได้เมื่อย

อ่านเพิ่มเติม »