ขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไร ไม่ให้เครื่องดับ ถ้าเครื่องดับทำยังไง และหลังลุยน้ำแล้วต้องตรวจเช็คอะไรบ้าง

แชร์บทความนี้

จากสถานการณ์ฝนตกหนักล่าสุด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ทางสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก ได้ให้เทคนี้ในการขับรถฝ่าน้ำท่วม ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยแบ่งเป็นเทคนิค 6 ข้อ เพื่อความปลอดภัย ป้องกันรถดับและเสียหาย ดังนี้

  1. ให้ปิดแอร์ เมื่อเจอน้ำท่วมขัง เพราะหากน้ำท่วมถึงตัวพัดลม ใบพัดลมจะตีน้ำขึ้นมาโดนบริเวณทีมีระบบไฟฟ้า ซึ่งอาจจะทำให้ระบบไฟช๊อตและดับ หรือพัดลมและใบพัดได้รับความเสียหายจากน้ำได้
  2. ให้รักษาระยะห่างจากรถคันอื่น เนื่องจากระบบเบรกที่แช่น้ำนาน ๆ จะประสิทธิภาพในการทำงานลดต่ำลง
  3. ให้ความเร็วต่ำ และรักษาความเร็วให้คงที่ ห้ามจอด และไม่ควรอยู่ใกล้รถคันอื่น เนื่องจากน้ำจากรถคันอื่นอาจจะตีเข้าเครื่องยนต์
  4. ใช้เกียร์ต่ำ เพื่อประคองเครื่องยนต์ไม่ให้ดับ และพยายามรักษารอบเครื่องยนต์ให้อยู่ที่ 1500-2000 รอบเนื่องจากถ้ารอบเครื่องยนต์ต่ำอาจจะมีความเสี่ยงที่จะดับ แต่ถ้าสูงกว่าก็จะมีความเสี่ยงที่ระบบจะมีน้ำปนเข้าไปกับอากาศที่จะดูดเข้าของเครื่องยนต์
  5. หลังจากขับรถพ้นน้ำท่วม ให้เหยียบเบรกย้ำ ๆ เพื่อไล่น้ำออกจากผ้าเบรก และเป็นการทดสอบความผิดปกติของเบรก
  6. เมื่อถึงที่หมายแล้ว อย่าเพิ่งดับเครื่องโดยทันที ให้ติดเครื่องยนต์ไว้สักพัก เพื่อไล่น้ำและความชื้นที่ค้างอยู่ในระบบเครื่องยนต์ออก

หากขับไปแล้วเครื่องยนต์เกิดดับระหว่างที่ลุยน้ำในระดับสูง อย่างทำการสตาร์ทเครื่อง เนื่องจากจะทำให้น้ำเข้าไปในระบบซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายมากได้ ควรจอดและถ้าเป็นไปได้พยายามเข็นรถไปในที่พื้นที่ๆ น้ำไม่ท่วมเพื่อจอดพักรอความช่วยเหลือ หรือรอระดับน้ำลดลง เพื่อเรียกรถมานำเข้าศูนย์บริการ

สำหรับรถที่จอดไว้เฉยๆ แต่มีความเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม ให้ทำการถอดขั้วแบตเตอรี่รถยนต์ออกขั้วใดขั้วหนึ่ง หรือทั้งสองขั้ว เพื่อให้ระบบไฟฟ้าไม่ทำงาน จะสามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้เนื่องจากไม่มีไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบ และถ้าหากถูกน้ำท่วมทั้งคัน หลังน้ำลดให้ทำการเปลี่ยนของเหลวในรถยนต์ใหม่ทั้งหมด เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำบันเบรค น้ำมันเกียร์ เป็นต้น

 

หลังจากขับรถลุยน้ำแล้วเราต้องมีการตรวจสอบอะไรบ้าง

  1. หลังจากขับรถผ่านน้ำท่วมมาแล้วให้ตรวจสอบสภาพเบรคโดยการแตะเบรคซ้ำๆ ถี่ๆ เพื่อไล่น้ำออกจากระบบ และเป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของเบรคด้วยเพื่อความปลอดภัย
  2. สังเกตุเครื่องยนต์ ถ้ามีสิ่งผิดปกติเช่นมีการกระตุก หรือมีเสียงผิดปกติเกิดขึ้นในขณะขับขี่ ควรหาที่จอด โดยสิ่งแรกที่จะต้องตรวจสอบคือน้ำมันเครื่อง โดยตรวจสอบที่ก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง ถ้าหากดึงขึ้นมาแล้วน้ำมันเครื่องมีสีขุ่นผิดปกติไม่ใส แสดงว่ามีน้ำเข้าไปในระบบเครื่องยนต์แล้ว อีกจุดที่สามารถตรวจสอบได้คือที่บริเวณกรองอากาศถ้าเปียกชุ่มแสดงว่าอาจจะมีน้ำเข้าไปในระบบ ทางที่ดีไม่ควรขับต่อ และนำรถเข้าศูนย์บริการให้ช่างตรวจสอบและทำการแก้ไขเพื่อป้องกันความเสียหายต่อระบบเครื่องยนต์
  3. ตรวจสอบระบบอีเล็กทรอนิกและระบบไฟฟ้าของรถ โดยควรตรวจสอบที่ภายในกล่องฟิวส์ให้สังเกตถดูว่ามีความเสียหายหรือไม่ หรือภายในมีน้ำขังหรือไม่ หากพบว่ามีความเสียหายให้ทำการเปลี่ยน รวมไปถึงดูกล่องอีซียูและเช็ดให้สะอาดหากเปียกน้ำ ซึ่งผู้ที่ไม่สามารถทำได้อาจจะนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบ นอกจากนี้ควรตรวจสอบไฟต่างๆ ภายนอกรถด้วย เช่นไฟเบรค ไฟเลี้ยว ถ้าหากมีความผิดปกติ ให้ทำการถอดขั้วต่อแบตเตอรีออก เพื่อรอให้ช่างทำการตรวจสอบและประเมิน
  4. ตรวจสอบภายในห้องโดยสาร ซึ่งบางครั้งน้ำที่ท่วมอาจจะมีน้ำซึมเข้ามาที่พื้นรถได้ผ่านตามส่วนที่เป็นซีลและรอยต่อ ดังนั้นจึงควรนำพรมปูพื้นออกหากรู้สึกว่าด้านใต้พรมมีน้ำหรือความชื้น ไม่ควรทิ้งให้น้ำขังอยู่ภายในรถ ควรเช็ดหรือซับน้ำออกให้แห้งทันที เนื่องจากรถยนต์หลายรุ่นจะมีโมดูลควบคุมถุงลมนิรภัยอยู่ที่อยู่ใต้เบาะคนขับ ซึ่งควรดูแลไม่ให้มีความชื้น

 

หลังจากขับรถลุยน้ำท่วมแล้วควรตรวจสอบส่วนต่างๆ ของรถโดยทันทีหรืออย่างช้าภายในหนึ่งถึงสองวัน เพราะหากไม่มีการตรวจสอบแล้วปล่อยทิ้งไว้ อาจนำมาสู่ความเสียหายที่หนักขึ้น หรือเกิดอันตรายจากการขับขี่เนื่องจากสภาพรถที่ไม่พร้อม จากระบบต่างๆ ที่ได้รับความเสียหาย

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านต่อ »

รองเท้าป้องกันไฟฟ้าแรงสูงชนิดสวมใส่ร่วมกับรองเท้านิรภัย(Dielectric  Overboots)

แชร์บทความนี้

ในการปฏิบัติงานร่วมกับไฟฟ้าแรงสูงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกใช้อุปกรณ์ในการป้องกันให้เหมาะสมกับการทำงานตามที่มาตรฐานความปลอดภัยกำหนด

อ่านต่อ »

การป้องกันอันตรายจากการอาร์คในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า(Arc Flash Protection)

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้านั้นหากไม่มีความระมัดระวังหรือไม่ปฏิบัติตาม

อ่านเพิ่มเติม »