Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร

แชร์บทความนี้

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร ในความเป็นจริงแล้ววัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ถูกแบ่งแยกเอาไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และความปลอดภัยสูงสุดถ้าจำแนกความแตกต่างให้เห็นเอาแบบง่ายๆชัดๆ ก็จะแยกในเบื้องต้นได้ ตามหัวข้อด้านล่างนี้ 

Surgical Mask  VS  N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร

โดยสิ่งแรกที่อยากจะให้ทราบก็คือ กลุ่มของมาตรฐานที่เรามักจะใช้เรียก ซึ่งหลายมาตรฐานคงจะคุ้นๆหูอยู่บ้าง อาทิ N95,FFP2, Korea Standard, DS Japan  และอื่นๆอีกมากมาย เอาไว้ค่อยมาอธิบายในเชิงรายละเอียดและความแตกต่างกันอีกที เพื่อให้คุ้นเคยกับคนไทยอย่างเราๆ ในครั้งนี้เราจะเทียบกันในฝั่งของสหรัฐอเมริกากันก่อน โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังนี้ 

มาตรฐานและผู้ให้มาตรฐาน

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask)  

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือ Surgical Mask เป็นหน้ากากแบบแผ่นใช้แล้วทิ้ง ทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติในการกรองเชื้อโรค และละอองสารคัดหลั่งต่างๆ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่สามารถใช้ในทางการแพทย์ โดยหน่วยงานที่คอยกำกับดูแล และให้การรับรองจะเป็น FDA (Food and Drug Administration) องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา

สำหรับประเทศไทยแล้ว หน้ากากอนามัยทางการแพทย์นี้ถูกระบุให้เป็นเครื่องมือแพทย์เช่นกัน โดยอ้างอิงมาตรฐานการทดสอบจาก FDA ของอเมริกา และต้องขอขึ้นทะเบียนสินค้า กับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของประเทศไทย 

หน้ากาก N95 (respirator)

หน้ากากกลุ่มนี้เราจะจัดอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (​respirator) สำหรับบุคลากรทางด้านอุตสาหกรรมก็จะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัส Covid-19 และฝุ่นละออง PM 2.5 ของประเทศไทยทำให้เรารู้จักหน้ากากชนิดนี้มากขึ้น 

เมื่อกล่าวถึงหน้ากาก N95 (respirator) ในฝั่งของสหรัฐอเมริกาแล้วหน่วยงานที่กำกับดูแลและให้มาตราฐาน ได้แก่ NIOSH (The National Institute for Occupational Safety and Health) เป็นหน่วยงานทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภายใต้สังกัด CDC (Centers for Disease Control and Prevention Department of Health and Human Services) หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา โดยเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติ หน้ากาก N95  และขึ้นทะเบียนหน้ากากที่ได้รับการรับรอง ผ่าน TC Code ซึ่งหากเป็น หน้ากาก N95 แบบปกติ จะไม่ถือเป็นเครื่องมือแพทย์ ไม่ต้องขออนุญาตจาก อย.

นอกจากนี้ ยังมีหน้ากาก N95 บางรุ่นที่ออกแบบมาเพื่อใช้ทางการแพทย์โดยเฉพาะ ( Surgical N95) ซึ่งเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของของเหลว และทดสอบคุณสมบัติกันเชื้อโรค เป็นหน้ากากที่ผ่านการรับรองจากทั้ง NIOSH และได้รับการรับรองจาก FDA ทำให้ ถือเป็นเครื่องมือแพทย์ ต้องขออนุญาตจาก อย. ก่อนจำหน่ายและนำเข้า

 

การใช้งานและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask)  

จุดประสงค์หลักจะมุ่งเน้นไปที่การป้องกันของเหลว หยดน้ำ สารคัดหลั่งต่างๆ หรือละอองต่างๆออกมาจากผู้สวมใส่ โดยหลักๆแล้วจะให้ผู้ส่วมใส่ป้องกันตัวเองไม่ให้ปล่อยอนุภาคดังกล่าวออกไปยังบุคคลอื่น จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะถูกแนะนำให้ใส่ 

แต่สำหรับในสถานการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เนื่องจากมีผลวิจัยว่าไวรัสโควิท แพร่โดยผ่านละอองไอจามเป็นหลัก (Droplet Transmission) ประกอบด้วยราคาที่ถูกกว่าหน้ากาก N95 รัฐบาลจึงสนับสนุนให้ทุกคนสวมใส่อยู่ตลอด เพื่อป้องกันตัวเองและลดอัตราการแพร่เชื้อได้ด้วย   

หน้ากาก N95 (respirator)

โดยปกติแล้ว หน้ากาก N95 จะใช้ในภาคอุตสาหกรรม ในการกรองอนุภาคของละอองฝุ่นในอากาศ หรืออนุภาคอื่นๆ (aerosol) ที่มีขนาดเล็กตั้งแต่ 0.3 ไมครอน แต่เนื่องจากประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นขนาดเล็กนี้ ทำให้ถูกนำมาใช้ในการป้องกันในทางการแพทย์ด้วย โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดละอองขนาดเล็กจำนวนมาก อาทิ ในโรงพยาบาล สถานบำบัดผู้ติดเชื้อ และโดยเฉพาะในห้องผ่าตัด หรือห้อง ICU ซึ่งอาจมีการการใช้เครื่องมือบางชนิด หรือบางกระบวนการทำงาน อาทิ การสอดใส่เครื่องมือต่างๆให้กับผู้ป่วยที่ก่อให้เกิดละอองขนาดเล็ก หรือกระบวนการที่มีแรงดันทำให้เกิดการฝุ้งกระจายของของเหลวซึ่งอาจมีละอองสารคัดหลั่งจำนวนหนาแน่น

โดยบุคลากรทางการแพทย์จะใช้ หน้ากาก N95 ชนิด Surgical N95 ที่มีคุณสมบัติเพิ่มในการป้องกันละอองน้ำ ละอองสารคัดหลั่ง แต่ในกรณีที่หน้ากากขาดแคลน จึงอนุโลมให้ใช้หน้ากาก N95 ทดแทนได้

 

การสวมใส่ ความกระชับในการสวมใส่

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask)  

เนื่องจากไม่ได้เน้นการป้องกันฝุ่นหรือละอองขนาดเล็กมาก ดังนั้นจึงไม่เน้นการเข้ารูปที่ต้องกระชับเข้ากับใบหน้า ไม่มีการทดสอบการรั่วของอากาศบริเวณขอบของหน้ากาก และไม่มีข้อกำหนดหรือขั้นตอนในการสวมใส่  โดยปรกติแล้วจะใช้แล้วทิ้งไม่ใช้ซ้ำ

หน้ากาก N95 (respirator) 

เน้นการป้องกันฝุ่นหรือละอองขนาดเล็กมาก ดังนั้นจึงจะเน้นการสวมใส่ที่กระชับแน่น  โดยเฉพาะบริเวณขอบของหน้ากาก มีขั้นตอนและวิธีการในการทดสอบเพื่อป้องกันการรั่วของอากาศภายนอกเข้ามาด้านใน สำหรับการใช้งานสำหรับการกันฝุ่นทั่วไป ควรเปลี่ยนหน้ากากเมื่อเริ่มผิวหน้ากากสกปรกอุดตัน จนเริ่มหายใจ แต่ในกรณีที่ใช้สำหรับกันเชื้อโรค ควรจะทิ้งทันทีหลังการใช้งาน

 

บทความเกี่ยวเนื่อง

มาตรฐานหน้ากากกรองอนุภาค

https://thai-safetywiki.com/respirator/56-dust-mask-standard

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกหน้ากาก

https://thai-safetywiki.com/respirator

แหล่งที่มาของข้อมูล

https://www.cdc.gov/niosh/

http://www.fda.moph.go.th/Pages/HomeP_D2.aspx

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

ไฟป่าคืออะไร สาเหตุของไฟป่า อันตรายจากไฟป่า ไฟป่าเป็นต้นเหตุของ pm2.5 มั้ย ?

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ไฟป่า คืออะไร? ไฟป่า หมายถึง ไฟที่เกิดจากสาเหตุใดก็ตามแล้วลุกลามไหม

อ่านเพิ่มเติม »

โรคยอดฮิตมนุษย์เงินเดือน กับปัญหาระบบย่อยอาหาร อันตรายกว่าที่คิด

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ การไม่มีโรคยังคงเป็นลาภอันประเสริฐ ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยไหน โดยเฉพาะ

อ่านเพิ่มเติม »