หากพูดถึงหน้ากากกันฝุ่นของเกาหลี จะขึ้นชื่อในเรื่องของความนุ่มสบาย ในการส่วมใส่ แพคเกจจิ้งที่ดูสวยงาม(ถึงแม้บางรุ่นเราจะอ่านไม่ออกก็ตาม) ตัวหน้ากากก็ออกแบบมาให้ดูเหมือนหน้ากากแนวแฟชั่นที่ไม่ดูเหมือนเป็นอุปกรณ์ช่วยหายใจเท่าใดนัก ลวดลายสวยงาม โดยเฉพาะของเด็กๆ สมกับความมุ่งหมายที่อยากให้เป็นแบบที่สวมใส่ได้ทุกวัน (Daily use)
อย่างที่กล่าวไว้ หน้ากากมาตรฐานเกาหลี มีดีกว่าที่คิด หากลองศึกษามาตรฐานของทางเกาหลีแล้ว น่าสนใจไม่ใช่น้อย มีหลายปัจจัยที่ทำให้ประเทศเกาหลีเอง ต้องกำหนดมาตรฐานเฉพาะของประเทศตัวเองขึ้นมา หลักๆก็จะเห็นได้ว่า ประเทศเกาหลีเองต้องเจอกับฝุ่นขนาดเล็กจากอุตสาหกรรม การคมนาคม และฝุ่นขนาดใหญ่ที่ชาวเกาหลีเรียกว่าฝุ่นเหลือง ที่เป็นผลพวงของลมที่พัดเอาฝุ่นมาจากเขตทะเลทรายของประเทศจีน ครั้นเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ บางเมืองจะกลายเป็นเหมืองแห่งสีเหลือง อันเนื่องมาจากเกษรดอกไม้ เห็นอย่างนี้แล้วก็ใช่ว่าคนเกาหลี อยากจะใส่หน้ากากกันนะ รัฐบาลต้องคอยประกาศเตือนอยู่บ่อยๆ เลยเป็นที่มาของการพัฒนาหน้ากากให้ได้มาตรฐานที่สูงและสวยงามใส่สบาย
ในบทความนี้เราจะมาดูรายละเอียดของมาตรฐานหน้ากากเกาหลีกัน ก่อนอื่นเรามาดูมาตรฐานของหน้ากากในกลุ่มของหน้ากากกันฝุ่นว่ามีมาตรฐานหลักๆอะไรบ้าง ไล่เรียงดูเราจะพบเห็นหลักๆ อันได้แก่
จะเห็นได้ว่ามาตรฐานเองก็จะแบ่งไปตามแต่ละภูมิประเทศ แต่ที่เราคุ้นๆเห็นกันบ่อยในบ้านเราก็จะเป็น US NIOSH - N95, R95, P95 Europe - FFP2, China - KN95, KP95 และครั้งนี้เราจะมาดูมาตรฐาน Korea - 1st class กัน
มาตรฐาน Korea 1st Class (KMOEL - 2017-64) จะแบ่งระดับการกันฝุ่นตามรหัส หากเราดูที่ซองจะเห็นมีข้อความที่เขียนไว้เป็นรหัส KF80,KF94,KF99 โดย KF80,KF94 จะเป็นที่นิยมกัน
ผู้ผลิตหน้ากากเกาหลี ได้เคลมไว้ว่า หน้ากากในมาตรฐาน KF ของเขานั้นมีระดับการกันดังนี้
KF80 จะกัน PM2.5 ได้100% ส่วน PM0.04~PM1.00 ได้ระดับ 80%
KF94 จะกัน PM2.5 ได้100% ส่วน PM0.05~PM1.70ได้ระดับถึง 94%
หากพิจารณาดูมาตรฐาน Korea - 1st class ที่เอาหน้ากากระดับ KF94 มาเปรียบเทียบหัวข้อการทดสอบกับมาตรฐานสากลต่างๆ
อ้างอิงจาก Comparison of FFP2, KN95, and N95 Filtering Face piece Respirator Classes (3m.com)
สำหรับหัวข้อที่น่าสนใจและแตกต่าง หากดูตารางปรียบเทียบแล้ว จะเป็นในเรื่องของสารในการทดสอบ (Test Agent) ที่ Korea - 1st class สามารถกันได้ทั้งละอองฝุ่น และละอองน้ำมัน และหัวข้อเรื่องอัตราการไหลของอากาศที่ใช้ที่ 160 L/min ซึ่งดูผลเทสในทุกหัวข้อแล้ว จัดได้ว่าอยู่ในระดับมาตรฐานที่สูงทีเดียว
เป็นหน้ากากที่น่าสนใจเลยที่เดียว มาตรฐานสูงใส่สบาย แต่อาจจะต้องแลกมาด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นมาสักหน่อย
แหล่งที่มาของข้อมูล
* https://www.fda.gov/media/136403/download
* 한국산업안전보건공단 영문 | Business | Professional Engineering | Development of KOSHA Guide
Face Mask, Surgical Mask/Medical Mask, Respirators ตามนิยามสากล
ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสการส่วมใส่หน้ากากและการเว้นระยะห่าง กลายเป็นเรื่องพื้นฐานที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน หน้ากากในท้องตลาดก็มีมากมายให้เลือกหานำไปใช้ เราจะเห็นความหลากหลายของหน้ากากตั้งแต่ถูกยันแพง การเรียกขานประเภทของหน้ากากบางทีก็เกิดความสับสนไม่มากก็น้อย บทความนี้เราจะมาดูคำอธิบายการเรียกขานหน้ากากในแต่ละประเภทที่อ้างอิงสากลกันดูสักหน่อย โดยหากพิจารณาจากข้อมูลของทาง FDA (Food and Drug Administration)* ฝั่งมาตรฐานของทาง USA ที่มักจะคุ้นหูคนไทยอย่างเราๆ ให้คำอธิบายพอสรุปเบื้องต้นได้ประมาณนี้
Face masks (หน้ากากทั่วไป)
เป็นหน้ากากที่มีหรือไม่มีแผ่นป้องกันใบหน้า ปิดจมูกและปากของผู้ใช้ อาจมีหรือไม่มีการวัดระดับประสิทธิภาพในการกรองของเหลว ไม่ได้มีการส่งทดสอบมาตรฐานหรือมีใบรับรอง มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานทั่วไป ไม่ได้มุ่งหวังในทางการแพทย์ และไม่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถสวมใส่เพื่อเป็นตัวควบคุมแหล่งกำเนิด ตามคำแนะนำของ CDC* เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อได้
Surgical masks/Medical (หน้ากากอนามัยทางการแพทย์)
เป็นหน้ากากที่ปิดจมูกและปากของผู้ใช้ เพื่อเป็นเกราะป้องกันทางกายภาพของของเหลวและวัสดุที่เป็นฝุ่นละออง หน้ากากอนามัยชนิดนี้มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ ถือเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ (สำหรับประเทศไทยจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ อ.ย.ของประเทศไทย) สำหรับในอเมริกา หน้ากากที่จะถูกจัดว่าเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ Surgical/ Medical Mask จะต้องมีการรับรองการทดสอบ การป้องกันของเหลวและการทดสอบการซึมผ่าน Class I หรือ Class II ในมาตรฐาน ASTM F2100 ตามข้อกำหนด 21CFR878.4040 ของ FDA ในมาตรฐาน ฝั่ง USA และ EN14683 ของทางฝั่ง EU ซึ่งจะมีหัวข้อสำคัญๆในการทดสอบตามรายละเอียดในรูปด้านล่าง
อ้างอิงรูปจากเอกสารของ จาก WHO Webinar on personal protective equipment production
แม้ว่าหน้ากากอนามัยอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการกระเด็นและละอองอนุภาคขนาดใหญ่ แต่ก็ไม่ได้ให้การป้องกันอย่างสมบูรณ์แบบจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนอื่น ๆ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างพื้นผิวของหน้ากากและใบหน้าของผู้สวมใส่ หน้ากากอนามัยจึงไม่ใช่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่สามารถวัดประสิทธิภาพได้เหมือนที่ใช้ในอุตสาหกรรม เราจะเรียกว่าหน้ากากแบบที่ใช้ในอุตสาหกรรมว่าอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (Respirator) ความแตกต่างในเบื้องต้นได้อธิบายเปรียบเทียบไว้ในบทความนี้ Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร (thai-safetywiki.com)
Respirators (เครื่องช่วยหายใจ)
เครื่องช่วยหายใจหรือที่เรียกว่า filtering facepiece respirators (FFRs) ซึ่งรวมถึง N,R,P Series ประสิทธิภาพตั้งแต่ 95 เป็นต้นไปในฝั่ง USA และ FFP1,FFP2,FFP3 ในฝั่ง EN รวมถึง N95,หรือ FFP Series บางรุ่นที่ได้รับรองผลการทดสอบให้เป็นหน้ากากทางการแพทย์ได้ด้วย หน้ากากที่ได้ทั้งทางการแพทย์และได้ทั้งประสิทธิภาพการป้องกัน( respirator) แบบนี้เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายร้องขอให้เก็บไว้ให้แพทย์ใช้ในยามคลาดแคลน เนื่องจากให้ความพอดีกับใบหน้าและให้ประสิทธิภาพในการกรองระดับที่ดีเพื่อช่วยลดการสัมผัสกับอนุภาคในอากาศที่ก่อให้เกิดโรคในสภาพการทำงานที่มีความเสี่ยงสูงมากๆ
แหล่งที่มาของข้อมูล
Face Masks, Including Surgical Masks, and Respirators for COVID-19 | FDA
CFR - Code of Federal Regulations Title 21 (fda.gov)
Coronavirus disease (COVID-19): Masks (who.int)
อักษรย่อ
* FDA (Food and Drug Administration) องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยงานจากรัฐบาลกลาง โดยคอยทำหน้าที่สอดส่องดูแลสวัสดิภาพด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้ยา อาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และเครื่องสำอางต่างๆ ของชาวอเมริกัน
* CDC (Centers for Disease Control) หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา
จากอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมีในภาคอุตสาหกรรมที่รู้จักกันอยู่ในวงแคบๆสู่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ถูกพูดถึงมากที่สุด และมีความจำเป็นสำหรับบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ที่เป็นผลพวงมาจากสถานการณ์ การการระบาดของไวรัสที่เรามักจะเรียกว่า PAPR เราจะมารู้จักสิ่งที่เรียกว่า PAPR ว่ามันคืออะไร ทำงานอย่างไร
PAPR ชื่อเต็มคือ (powered air-purifying respirators) แปลง่ายๆก็คือเครื่องช่วยหายใจแบบมีพัดลมช่วยดูดอากาศ ที่ส่งอากาศมาให้เราหายใจแบบง่ายๆสบายๆ แรกเริ่มเดิมทีก่อนที่จะมีเจ้าตัวนี้ ท่านที่ใส่หน้ากากอนามัยคงจะรู้สึกอึดอัดหายใจลำบาก ลำพังหน้ากากอนามัยแบบบางๆที่เราเรียกว่า 3-ply ที่ประสิทธิภาพการกรองไม่ได้มากนักใส่นานๆก็เริ่มอึดอัดแล้ว ลองนึกถึงบุคลากรที่ต้องใส่หน้ากากที่ประสิทธิภาพการกรองมากกว่า 95% ขึ้นไปจะหายใจลำบากแค่ไหน สำหรับการที่จะต้องใส่ทั้งวัน ดังนั้นเจ้าตัว PAPR จึงเข้ามาเป็นอัศวินม้าขาวและมีบทบาทเป็นตัวช่วยให้ทำงานได้สบาย และนานขึ้น
หลักการทำงานของตัวอุปกรณ์ PAPR พื้นฐานแล้วก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนยุ่งยาก หลักๆก็จะประกอบไปด้วย ตัวพัดลมส่งอากาศ ท่อส่งอากาศ ฮูดคลุมศรีษะ และใส้กรอง
จุดในการพิจารณเลือก PAPR ไปใช้งานจะอยู่ที่ใส้กรอง และตัวฮูดคลุมศรีษะ หากใช้ในการป้องกันสารเคมีก็ต้องเลือกฮูดคลุมศรีษะกับใส้กรองที่เป็นแบบกันสารเคมี โดยใส้กรองจะต้องเลือกให้ตรงกับสารเคมีที่จะป้องกัน หากใช้สำหรับงานป้องกันไวรัส ก็ต้องเลือก ฮูดคลุมศรีษะกับใส้กรองกันไวรัส ส่วนใหญ่หากเป็นมาตรฐานฝั่งยุโรป ใส้กรองก็จะเป็น P3 ประสิทธิภาพการกรอง 99.95% ถ้าให้หายใจเองแบบไม่มีพัดลมคงไม่ไหว
หัวใจสำคัญคือ มาตรฐานที่ต้องผ่านการทดสอบ โดยพื้นฐานแล้วถ้าเป็นฝั่งยุโรปก็จะเป็นมาตรฐาน EN12941,EN12942 (TH3) ,สำหรับใส้กรอง particle ก็จะเป็น EN143
ชนิดของใส้กรองในการป้องกันตามสารเคมีที่สามารถเลือกใช้ได้หลากหลาย
References
https://www.3mscott.com/product_categories/respiratory-protection/
บทความเกี่ยวเนื่อง
Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร
http://www.thai-safetywiki.com/respirator/112-surgical-mask-vs-n95
การเลือกชุดป้องกันเชื้อโรคและสารเคมี
http://www.thai-safetywiki.com/protective-clothing/116-how-to-choose-coverall
แนะนำการเลือกหน้ากากกันโรค
http://www.thai-safetywiki.com/respirator/111-how-to-choose-mask
ทำความสะอาดหน้ากาก Full Face Mask อย่างไร ให้ปลอดภัยจากไวรัส
สำหรับบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานโดยใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ โดยเฉพาะหน้ากากเต็มหน้าและอุปกรณ์จ่ายอากาศของSCBA ในการปฏิบัตงานในภารกิจต่างๆ บางครั้งหลีกเหลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้ร่วมกัน ในเมื่อหากจำเป็นต้องใช้ร่วมกันแล้ว เราจะมีวิธิการทำความสะอาดอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งตัวผู้ใช้และตัวอุปกรณ์ ซึ่งมีราคาค่าตัวที่สูงอยู่ไม่น้อย แล้ววิธีการใดบ้างที่จะเหมาะกับอุปกรณ์ประเภทนี้
ดังนั้นหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวกับการให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ทั่วโลกยอมรับ หนึ่งในนั้นคือ CDC (The Centers for Disease Control and Prevention) หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา ทางCDCเองได้ออกข้อแนะนำและวิธีการต่างๆ ที่มาจากการวิจัย และแนะนำออกมาในภาพรวมไว้หลายวิธีการด้วยกัน แต่ถ้าหากเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนและมีส่วนประกอบที่ผลิตจากวัสดุพิเศษแล้ว วิธีการใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ที่เราจะสามารถทำความสะอาดได้อย่างปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้โดยไม่ไปสร้างความเสียหายให้กับตัวอุปกรณ์ซึ่งมีความแตกต่าง และซับซ้อนของแต่ละรุ่น แต่ละผู้ผลิตที่มีอยู่มากมาย
เมื่อเราลองค้นหาวิธีการในการทำความสะอาดอุปกรณ์เหล่านี้ เราจะพบข้อแนะนำของแต่ละผู้ผลิตที่ออกมาแนะนำ อาทิ 3MSCOTT ก็ได้มีการออกข้อแนะนำในการทำความสะอาด หน้ากาก และตัวอุปกรณ์สำหรับจ่ายอากาศ (Demand Valve สำหรับ SCBA) ให้ปฏิบัติตามแนวทางและข้อแนะนำ โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้ที่อันจะเป็นแนวทางในการศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้
แนวทางขั้นตอนและวิธีการในการทำความสะอาด Full Face Mask และ Demand Valve ของ 3MSCOTT
1. ก่อนทำความสะอาดควรสวมใส่ถุงมือ Nitrile หรือ ถุงมือ Vinyl
2. ในกรณีที่หน้ากากมีใส้กรองติดอยู่ให้ทำการถอดใส้กรองออกก่อน
3. กรณีที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมการทำงาน ให้ถอดออกด้วย วิธีการถอดอ้างอิงจากคู่มือของสินค้าของแต่ละรุ่น
4. ตรวจสอบหน้ากากว่าไม่มีการชำรุดเสียหาย
5. เริ่มทำความสะอาดโดยการนำหน้ากากแช่ลงในน้ำอุ่น อุณหภูมิไม่เกิน 43 องศาเซลเซียส ผสมกับน้ำยาทำความสะอาดต่างๆที่เป็นกลาง ขัดทำความสะอาดด้วยแปรงขนอ่อน ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของ lanolin หรือ oil ต่างๆ รวมถึงตัวทำละลาย (solvent) ที่มีความเข้มข้นสูงซึ่งจะส่งผลก่อให้กิดความเสียหายต่อตัวอุปกรณ์
6. ล้างออกด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิไม่เกิน 43 องศาเซลเซียส
7. ฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮโปคลอไรต์ 5,000 PPM โดยการฉีดพ่นแบบละอองละอองสเปรย์ให้ครอบคลุมพื้นผิวทั้งหมด หรือทำการจุ่มแช่ไว้ในภาชนะเป็นเวลา1นาที ข้อสำคัญห้ามใช้ความเข้มข้นเกิน 5,000 ppm และแช่เกินเวลาที่กำหนด
8. ล้างออกด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิไม่เกิน 43 องศาเซลเซียสอีกครั้ง
9. ผึ่งให้แห้งในพื้นที่ ที่ไม่มีการปนเปื้อน
10. ตรวจสอบและทำการประกอบชิ้นส่วนที่ทำการถอดออกมา อย่าลืมตรวจสอบก่อนการใช้งานอีกครั้ง
References
1) Guideline for Disinfection and Sterilization in Healthcare Facilities, 2008; updated 2009. United States Centers for Disease Control. William A. Rutala, Ph.D., M.P.H., David J. Weber, M.D., M.P.H. and the Healthcare Infection ControlPractices Advisory Committee (HICPAC). 2008. https://www.cdc.gov/infectioncontrol/pdf/guidelines/disinfection-guidelines-H.pdf
2) Interim Infection Prevention and Control Recommendations for Patients with Suspected or Confirmed CoronavirusDisease (COVID-19) in Healthcare Settings. Coronvirus Disease (COVID-19).
https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/infection-control/control-recommendations.html