หน้ากากในงานพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ Covid-19

แชร์บทความนี้

 

การพ่นสารทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อ COVID – 19 เราควรต้องสวมหน้ากากอะไร เพื่อความปลอดภัยมากที่สุด ?.

เป็นที่ทราบกันว่าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นจะต้องสวมชุด PPE และ หน้ากากที่มีคุณสมบัติกันไวรัสได้  แต่ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการป้องกันไอระเหย ที่เป็นผลพวงมาจากน้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้งานจากการสูดดมเข้าไปเป็นระยะเวลานาน  

สิ่งแรกที่อยากจะทบทวนและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวหน้ากากคือ หน้ากากกันไวรัส สามารถกันฝุ่น กันไวรัสได้ แต่ไม่สามารถกันไอระเหยของสารเคมีได้

สิ่งที่สองคือ ชนิดของสารเคมี กลุ่มที่เป็นที่นิยมใช้ ที่คณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทยได้ให้คำแนะนำแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ มีอยู่หลายตัวด้วยกัน สามารถดูรายละเอียดได้ด้านล่าง ซึ่งบางชนิดมีฤทธิ์เป็นกรด หากสูดดมเป็นเวลานานก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างหนึ่งในสารเคมีที่ใกล้ตัว และเป็นที่นิยมใช้ได้แก่ โซเดี่ยมไฮเปอร์คลอไรท์ ( Sodium hyper chlorite) ทั่วไปเรียกว่าคลอรีนน้ำ หรือใกล้ตัวหน่อยก็คือ ผลิตภัณฑ์ซักผ้า น้ำยาไฮเตอร์ 6% NaOCl 

ในปฏิกิริยาเคมีเมื่อนำไปใช้งานจะปลดปล่อยไอระเหย คลอรีน เนื่องจากตัวคลอรีนมีความสามารถในการออกซิไดซ์สูง จึงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้ดี

แต่เนื่องจากจากปฏิกิริยาเคมีดังกล่าวทำให้เกิดก๊าซคลอรีน ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนซึ่งจะระคายเคือง อย่างรุนแรงต่อผิวหนัง เยื่อเมือก ตา จมูก คอ และหากใช้คลอรีนที่มีความเข้มข้นสูงเกินแบบฉับพลัน จะทำให้ทางเดินหายใจเกิดแผลไหม้ ร่างกายขาดซิเจน  กล้ามเนื้อกล่องเสียงหดเกร็ง คลื่นไส้ อาเจียน ไอ เจ็บหน้าอก หายใจลำบากและการสัมผัสคลอรีนเป็นเวลานานทำให้ปอดถูกทำลายได้ ดังนั้นเราจึงควรคำนึงถึงอันตรายจากการใช้สารเคมีเหล่านี้ด้วย

สรุปคือ ในงานพ่นยาฆ่าเชื้อโรคต่างนั้น การใช้หน้ากากกันเชื้อโรคอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ หน้ากากกันฝุ่นปกติสามารถกันไวรัสได้ แต่ไม่สามารถกันไอระเหยของสารเคมีได้ ดังนั้นมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องสวมใส่หน้ากากที่สามารถให้การกรองได้ทั้ง 2 แบบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอย่างสูงสุด

อาทิ ถ้าหากเป็นไส้กรองสารเคมีอย่างเดียว ก็ควรจะมีแผ่น pre-filter N95 กันไวรัสด้วย เช่น ไส้กรองมาตรฐาน NIOSH OV/AG ตลับสีเหลือง +  pre-filter หรือ ไส้กรองกันสารเคมีผสมแบบกรองฝุ่นเชื้อโรคในตลับเดียว เช่น OV/AG P100 ตลับ (มีแถบสีเหลืองและมีแถบสีหรือฝาครอบสีม่วง)

สนใจดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pholonline.com

 

ข้อมูลอ้างอิง

  • ชนิดของสารเคมี กลุ่มที่เป็นที่นิยมใช้ ที่คณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทยได้ให้คำแนะนำ – rldc.anamai.moph.go.th/images/FileDownloads/DM-KM/KM1002_63.pdf
  • อันตรายจากก๊าซคลอรีน – envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/67

รองเท้าป้องกันไฟฟ้าแรงสูงชนิดสวมใส่ร่วมกับรองเท้านิรภัย(Dielectric  Overboots)

แชร์บทความนี้

ในการปฏิบัติงานร่วมกับไฟฟ้าแรงสูงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกใช้อุปกรณ์ในการป้องกันให้เหมาะสมกับการทำงานตามที่มาตรฐานความปลอดภัยกำหนด

อ่านต่อ »

PID sensor สำหรับตรวจจับสารระเหยเร็ว (VOCs)

แชร์บทความนี้

จากข้อจำกัดของ Electrochemical sensor ในบทความเรื่องที่แล้วที่ไม่สามารถจะตรวจจับแก๊สพิษที่มีคุณสมบัติระเหยเร็วที่เราเรียกว่า

อ่านเพิ่มเติม »