ความละเอียดของภาพความร้อน

แชร์บทความนี้

ค่าความละเอียดของภาพความร้อนมีผลต่อค่าความถูกต้อง (accuracy) ของการวัดอุณหภูมิ ซึ่งวัตถุประสงค์ในการใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนก็ต้องการวัดค่าอุณหภูมิของวัตถุที่ตำแหน่งต่าง ๆ การวัดค่าอุณหภูมิเป็นการหาค่าเชิงปริมาณ (Quantitative)        และแน่นอนสิ่งที่ต้องการควบคู่กันกับการทราบค่าอุณหภูมิก็คือต้องการค่าการวัดที่มีค่าความถูกต้อง (accuracy) สูง การจะได้ค่าการวัดอุณหภูมิผิวของวัตถุจากการถ่ายภาพความร้อนให้ได้ค่าความถูกต้องสูงนั้นพื้นที่ของวัตถุนั้นต้องประกอบด้วยภาพความร้อนไม่น้อยกว่า 9 pixels (3 x 3 pixels) หากตำแหน่งพื้นที่ที่ต้องการวัดค่าอุณหภูมินั้นมีจำนวน thermal pixel น้อยกว่า 9 pixels ค่าอุณหภูมิที่อ่านค่าได้จะมีความถูกต้องลดลงเนื่องจากค่าอุณหภูมินั้นเป็นค่าเฉลี่ยของพื้นที่หรือของวัตถุนั้นและค่าอุณหภูมิของ pixel (background)ที่อยู่รอบๆ

หากพื้นที่ที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ค่าอุณหภูมิหากมีจำนวน pixels ที่มากกว่าก็จะให้ค่าความถูกต้องในการวัดที่สูงกว่าพื้นที่ที่มีจำนวน pixels น้อยกว่า  การใช้งานกล้องถ่ายภาพความร้อนนอกจากต้องการวัดค่าอุณหภูมิซึ่งเป็นการวัดในเชิงปริมาณแล้ว ยังต้องการภาพที่มีความละเอียดเพียงพอต่อการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ (Qualitative)  การได้ภาพความร้อนที่คมชัดที่สามารถแสดงลักษณะโครงสร้างของวัตถุ รายละเอียดของส่วนประกอบต่าง ๆ และความแตกต่างอย่างเด่นชัดจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถระบุตำแหน่งและวิเคราะห์ภาพความร้อนหรือปัญหาที่เกิดขึ้นง่ายยิ่งขึ้นโดยเฉพาะงานถ่ายภาพความร้อนวัตถุหรือชิ้นงานที่มีขนาดเล็กมาก เช่น แผงวงจรไฟฟ้า งานตรวจสอบอาคารด้านอนุรักษ์พลังงานงานเหล่านี้หากภาพความร้อนที่ได้มีความละเอียดของภาพต่ำจะวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ยากลำบาก

Spatial Resolution (Distance : Spot)

               กล้องที่มีความละเอียดของภาพความร้อนหรือมีจำนวน thermal imaging pixel มากจะให้ภาพที่มีความคมชัดมากกว่ากล้องที่มีความละเอียดน้อยกว่า ภาพความร้อน (thermal image or thermogram) ที่มีความคมชัดได้จากกล้องมีจำนวน detector ที่ใช้ในการวัดมากกว่ากล้องที่มีจำนวน detector น้อยกว่า เมื่อเปรียบความแตกต่างของกล้อง 2 ตัว ที่มีจำนวน detector ที่ไม่เท่ากัน ถ่ายภาพความร้อนของวัตถุหนึ่งโดยใช้เลนส์ทีมีระยะโฟกัสขนาดเท่ากัน มีค่า IFOV เท่ากัน กล้องถ่ายภาพความร้อนที่ใช้ detector จำนวน 320 x 240 detector ให้ค่าความละเอียด 76,800 pixels ต่อหนึ่งภาพ และได้ขนาดพื้นที่ที่ถ่ายได้ (ภาพความร้อน) ขนาดเท่ากันกับกล้องที่มีจำนวน 160 x 120 detector ที่ให้ค่าความละเอียด 19,200 pixels สิ่งที่แตกต่างคือกล้องที่ใช้ detector จำนวน 320 x 240 detector จะให้ภาพความร้อนที่คมชัดมากกว่า เนื่องจากมีค่าความละเอียดหรือมีจำนวน pixel มากกว่าถึง 4 เท่า (76,800 / 19,200 = 4 )   ในอีกนัยอาจกล่าวได้ว่าหากต้องการภาพที่มีความคมชัดหรือความละเอียดเท่ากันจากกล้อง 2 ตัวที่มีจำนวน detector ไม่เท่ากัน กล้องที่มีจำนวน detector มากกว่าจะสามารถถ่ายได้ในระยะที่ไกลกว่า เช่น ในความละเอียดของภาพความร้อนที่เท่ากัน ที่ระยะถ่ายภาพ 10 เมตร (ระยะห่างวัตถุและกล้อง)  กล้องที่ใช้ detector จำนวน 320 x 240 detector สามารถถ่ายภาพที่มีความละเอียดเท่ากับกล้องที่ใช้ detector จำนวน 160 x 120 detector ถ่ายที่ระยะ 5 เมตร ในกรณีที่ถ่ายจากตำแหน่งหรือระยะเท่ากัน โดยใช้เลนส์ที่มีระยะโฟกัสเท่ากัน ทั้งกล้องที่มีความละเอียดสูงและต่ำกว่าจะได้ภาพความร้อนที่มีขนาดเท่ากัน  แต่กล้องที่มีเทคนิคในการสร้างภาพที่ให้ความละเอียดมากกว่า (high resolution enhancement) จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ค่าอุณหภูมิของวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่า

ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ANSI, ASTM International, FM Global, NFPA, SEI และ UL

แชร์บทความนี้

มีตัวแทนอิสระหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการในด้านอุตสาหกรรมความปลอดภัยและที่จะนำมากล่าวถึงในที่นี้คือ

อ่านต่อ »

ประเภทของสารเคมีที่จะจัดเก็บ  Type of Chemical to be stored ที่จะทำให้ง่ายต่อการทำงานและปลอดภัย

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้การใช้สีและการติดฉลากบ่งในการจัดเก็บให้เป็นแนวทางปฏิบัติจะช่วยให้สา

อ่านเพิ่มเติม »

มาตรฐานอ้างอิงอุปกรณ์PPEสำหรับใช้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตาม NFPA 70E : 2018

แชร์บทความนี้

มาตรฐานอ้างอิงสำหรับการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ NFPA 70E : 2018 ในหัวข้อนี้จะมาดูกันว่าอุปกรณ์PPE

อ่านเพิ่มเติม »