ตะคริว เกิดจากอะไร บริเวณที่มักเกิดตะคริว วิธีแก้การเป็นตะคริว ทำอย่างไรดี ?

แชร์บทความนี้

“ตะคริว คือ “อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ” ที่ทำให้กล้ามเนื้อปวดและเป็นก้อนแข็ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยที่เราไม่สามารถบังคับได้ บางครั้งก็อาจมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดการหดเกร็งนั้นขึ้น ซึ่งจะเป็นอยู่เพียงแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ทิ้งเวลาไว้ซักพักอาการก็จะดีขึ้นเอง แต่บางครั้งอาจทิ้งความเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อมัดนั้นไว้

“การเป็นตะคริว” อาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ได้ และอาจเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลายๆ มัดพร้อมกันก็ได้ การเกิดตะคริวที่พบเห็นบ่อยๆ เช่นการเกิดตะคริวที่ขาในขณะนอนหลับตอนกลางคืนจนสะดุ้งตื่น หรืออาจจะมาจากการออกกำลังกายที่ขาดการยืดเหยียดที่เพียงพอก่อนออกกำลังกายจนเกิดตะคริวขณะที่ทำกิจกรรม

สาเหตุของตะคริว 

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดตะคริว แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อย ๆ จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นมากเกินไปจึงทำให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นเกร็งและไม่คลายตัว ปกติแล้วกล้ามเนื้อจะมีการหดเกร็ดอยู่โดยตลอดอยู่แล้ว แต่จะเป็นการเกร็งและคลายตัว นอกจากนี้ยังเชื่อว่าอาจเกิดจากเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติไป หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดี เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลทำให้เป็นตะคริว

  • กล้ามเนื้อที่ทำงานหนักมากเกินไประหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • ระบบไหลเวียนเลือดที่ไปยังกล้ามเนื้อเกิดการหยุดเฉียบพลัน
  • ประสาทเกิดการทำงานผิดปกติในขณะนอนหลับ หรือกึ่งหลับกึ่งตื่น
  • เกิดได้จากโรคบางโรค เช่น โรคตับ และโรคไต
  • ร่างกายเกิดสภาวะผิดปกติ เช่น ร่างกายขาดเกลือแร่ ร่างกายมีสารพิษหรือเกิดการติดเชื้อ
  • เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือยาราโลซิฟีน เป็นต้น

อาการของตะคริว 

จะมีอาการปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้ออย่างมาก หากสัมผัสจะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณนั้นมีการเกร็ดแข็งและไม่คลายตัว โดยปกติจะสามารถหายได้ภายในเวลา 2-15 นาที ในบางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรังอยู่และจะกินเวลาเป็นวันก่อนจะหายอย่างสมบูรณ์

หากเป็นตะคริว ทำยังไงดี

 โดยปกติแล้ว เมื่อเป็นตะคริวจะอาการจะหายไปในเวลาต่อมา แต่เรามีวิธีดีๆที่จะทำให้หายจากการเป็นตะคริวได้เร็วขึ้น มาแชร์กันครับ

  • ยืดกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นตะคริวประมาณ 1-2 นาที จนอาการลดลง และกล้ามเนื้อคลายตัวออก หากอาการยังไม่หายดีให้ใช้การนวดกล้ามเนื้อบริเวณนั้นค่อยๆ นวด การนวดก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดี
  • หากเกิดขึ้นระหว่างนอนหลับให้เปลี่ยนท่านอน และยืดขาตรงกระดกปลายเท้าประมาณ 5 วินาที ทำวน 5-10 รอบ ก่อนจะนวดบริเวณดังกล่าวจนกว่าจะหาย
  • หากเป็นสตรีตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์เพื่อตรวจครรภ์ตามกำหนด หากเกิดอาการตะคริวให้บอกแพทย์เพื่อที่แพทย์จะได้วินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษาต่อไปเนื่องจากอาการตะคริวอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

หากคุณจะเป็นตะคริวบ่อยในตอนกลางคืน แนะนำให้ดื่มนมก่อนนอนเพื่อเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกายและยกขาให้สูงโดยใช้หมอนรองขาให้ขาสูงขึ้นจากเตียงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือประมาณ 4 นิ้วพร้อมทั้งฝึกยึดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวบ่อย ๆ นอกจากนี้ก็ควรที่จะดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ

เพราะอาการของตะคริวมักเกิดบ่อยในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง

ตะคริวอันตรายมั้ย

ปกติอาการตะคริวมักไม่เป็นอันตราย และสามารถนวดหรือคลายกล้ามเนื้อเพื่อให้หายเองได้ในเวลาต่อมา แต่สาเหตุการเสียชีวิตจากตะคริวส่วนใหญ่มาจากสถานการณ์และการตื่นตระหนกเมื่อเป็นตะคริวและไม่สามารถช่วยตัวเอง หรือไม่สามารถควบคุมตนเองได้เช่นการเกิดตะคริวขณะว่ายน้ำทำให้จมน้ำ เรามีวิธีป้องกันดีๆ มาแชร์กันครับ

เมื่อเป็นตะคริวในน้ำต้องทำอย่างไร

  • ถ้าเป็นตะคริวที่น่องด้านหลัง ให้หงายตัวขึ้น ใช้มือพยุงน้ำให้ลอย และยกขาขึ้นเหนือน้ำเข้าหาใบหน้า
  • ถ้าเป็นบริเวณหลังขาอ่อน ให้กลั้นหายใจและพยายามอยู่ในท่านอนคว่ำ และพับข้อเท้าเข้าหาด้านหลังเพื่อยืดบริเวณที่เป็นตะคริว
  • ถ้าเป็นบริเวณข้อเท้าหรือฝ่าเท้า ให้นอนหงายและให้เท้าอยู่บนผิวน้ำจากนั้นให้นวดจนตะคริวคลายตัว หรือหมุนเบา ๆ ที่ข้อเท้า

ทุกครั้งที่เป็นตะคริวขณะว่ายน้ำ เราต้องตั้งสติ และพยายามพาตัวเองไปในที่น้ำตื้น และต้องทำให้ตัวของเราลอยน้ำอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากหากเราตื่นกลัวและไม่สามารถควบคุมตนเองได้จะทำให้เราจมน้ำนั่นเอง หรือหากคุณเป็นคนที่เป็นตะคริวบ่อยๆ ควรมีคนใกล้ชิดไปว่ายน้ำด้วยนะครับ จะได้ช่วยเหลือได้ ที่สำคัญก่อนออกกำลังกายจะต้องมีการวอร์มกล้ามเนื้อก่อนใช้งานอย่างเพียงพอ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดตะคริวได้เป็นอย่างดี

 

โรคฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานร คืออะไร มีอาการยังไง และป้องกันอย่างไร

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ช่วงนี้เราคงได้ยินข่าว เรื่องฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานรที่พบการติดเชื้อ

อ่านเพิ่มเติม »

Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ ELECTROCHEMICAL รู้ไว้ปลอดภัยใช้ถูก

แชร์บทความนี้

จากบทความที่แล้วเรื่องของ sensor วัดแก๊สติดไฟ ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ Electrochemical เพื่อให้ทราบหลักการ

อ่านเพิ่มเติม »