บาดแผล ที่ถูกแมวกัด แมวข่วน อันตรายกว่าที่คุณคิด

แชร์บทความนี้

ในหลายๆพื้นที่ของประเทศไทย มักจะพบเหตุแมวจรจัดเป็นปกติ บางครั้งก็น่าสงสารซะจนอยากเข้าไปให้อาหารหรือเล่นกับพวกมัน บางครั้งอาจจะเกิดอุบัติเหตุ แว้งมาข่วนหรือกัดเอาได้ สิ่งที่ต้องระวัง ก็คือ เขี้ยวและเล็บของแมว ยิ่งถ้าเป็นแมวจรจัด จะมีความแหลมคม และมีเชื้อโรค แบคทีเรียมากกว่า อีกทั้งยังไม่เคยถูกฉีดวัคซีน ซึ่งหากโดนเข้า อาจจะทำให้ติดเชื้อและเป็นโรคตามมาได้

หลักปฏิบัติที่ดีที่สุด

หากถูกแมวกัด แมวข่วน ให้รีบไปโรงพยาบาล พบแพทย์และทำแผลจะเป็นทางที่ดีที่สุด เพราะบาดแผลนั้นแตกต่างกัน ยิ่งแผลที่เป็นการถูกกัดมีความลึกแต่ไม่กว้าง การรักษาก็จะไม่เหมือนแผลข่วนทั่วไป

             

อันตรายจากการถูกแมวกัด แมวข่วน

    1. บาดแผลจากแมวกัด มีโอกาสติดเชื้อ มากกว่าสุนัขถึง 2 เท่า
    2. แบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุ ของการติดเชื้อของแผล อาศัยอยู่ในช่องปากของแมว
    3. แบคทีเรีย ที่พบอยู่บนผิวของคนที่ปนเปื้อนบนเขี้ยวแมว อาจเข้าสู่บาดแผลจากการโดนแมวกัดได้
    4. เขี้ยวแมวมีความแหลมคมและยาว จึงอาจเกิดเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย และอาจลึกเข้าไปถึงกระดูกและข้อ
    5. ส่วนมาก บริเวณที่ถูกกัดจะมีรูเขี้ยวรอบๆ จะมีอาการปวด บวม แดงและมีหนองออกจากรูเขี้ยว โอกาสติดเชื้อก็จะยิ่งสูงขึ้นตามความลึกและความสะอาดของบาดแผล

 

หากติดเชื้อจากแบคทีเรียสายพันธุ์รุนแรง ที่เรียกว่า “แบคทีเรียกินเนื้อคน” แบคทีเรียจะปล่อยสารที่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน จนเกิดอาการปวดแผลอย่างรุนแรง มีไข้สูง อ่อนเพลีย และเกิดเนื้อตายสีดำลุกลามอย่างรวดเร็วในแผล เนื้อตายสีดำเป็นแหล่ง ที่ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนอาจลุกลามติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เสียชีวิตได้ ต้องรีบไปโรงพยาบาล แพทย์จะให้พักรักษาในโรงพยาบาล แพทย์จะรับผ่าตัดเอาเนื้อตายสีดำออกจากแผล และฉีดยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือด

 

การดูแลรักษาแผลแมวกัด

  1. ให้รีบล้างด้วยสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
  2. หากบาดแผลเกิด 1 วันอาจจะเกิดหนองได้สูง หากพบหนองต้องเจาะระบายหนอง
  3. ถ้าเป็นแผลฉีก ไม่ควรเย็บแผล ปล่อยให้แผลเปิดและล้างแผล ป้องกันการติดเชื้อลุกลามในเนื้อเยื่อชั้นลึกใต้ผิวหนัง ห้ามโดนน้ำ และควรล้างแผลทุกวัน
  4. ควรฉีดวัคซีน ป้องกันบาดทะยักและวัคซีนพิษสุนัขบ้าด้วย
  5. ควรกินยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อตามแพทย์สั่งจ่าย ประมาณ 7- 10 วันต่อเนื่อง

     

 

ขอขอบคุณที่มาจาก : สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ ELECTROCHEMICAL รู้ไว้ปลอดภัยใช้ถูก

แชร์บทความนี้

จากบทความที่แล้วเรื่องของ sensor วัดแก๊สติดไฟ ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ Electrochemical เพื่อให้ทราบหลักการ

อ่านเพิ่มเติม »

จุดยึดสำหรับการทำงานใน สถานที่อับอากาศ

แชร์บทความนี้

หนึ่งในการวางแผนสำหรับการทำงานใน สถานที่อับอากาศ นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือแผนการช่วยเหลือฉุกเฉินในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดอุบัติเหตุ

อ่านเพิ่มเติม »