รู้หรือไม่ ภัยเงียบของคนรักสุขภาพคือ”เก้าอี้”

แชร์บทความนี้

การนั่งนานๆ อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราในทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร่างกายหรือจิตใจ โดยเฉพาะเรื่องของเก้าอี้ที่เรานั่งอยู่ทั้งวันนั้นมีบทบาทสำคัญ ซึ่งอาจจะเป็นภัยเงียบกับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย บางท่านอาจจะประสบปัญหาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาบ่อยครั้ง หรือการออกกำลังกายแล้วไม่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น พฤติกรรมการนั่งเนือยนิ่งทำงานเป็นเวลานานๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญการออกกำลังกายได้ให้คำแนะนำไว้

โดยทางผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นไว้ว่าไม่ว่าเก้าอี้ของคุณจะดีขนาดไหน แต่ถ้าพฤติกรรมของคุณยังต้องนั่งอยู่ในท่าทางเดิมนานๆ ตลอดทั้งวันหรือ 8 – 12 ชั่วโมงต่อวัน เก้าอี้แบบไหนก็ไม่สามารถช่วยคุณได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อต่างๆจะมีการหดเกร็ดอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ขาดการยืดหยุ่น กล้ามเนื้อบางมัดที่ใช้มากก็จะไปดึงกล้ามเนื้อที่ใช้น้อยทำให้เกิดความอ่อนแอและไม่สมดุล

 

นั่งนานเท่าไหร่ถึงควรจะเปลี่ยนท่าทาง

เพื่อลดผลกระทบของการนั่งนานๆ ควรมีการลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายทุกๆ 30-60 นาที เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และลดความกดทับในพื้นที่ต่างๆ ของร่างกาย การยืดเส้นยืดสายช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ตึง และร่างกายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยในการคลายเครียดและรักษาสมดุลในการทำงานของร่างกายและจิตใจ

คำแนะนำของ ผู้เชียวชาญเป็นอย่างไร

ถ้าท่านเป็นคนชอบออกกำลังกาย และประสบปัญหาเกี่ยวกับการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นจากการออกกำลังกายเป็นประจำ ปัญหาอาจจะมาจากพฤติกรรมการนั่งทำงาน โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถเป็นเวลานาน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพและออกกำลังกาย ได้ให้คำแนะนำตามลำดับดังนี้:

  • 1 ทำการตรวจวินิจฉัยปัญหา:
    • ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะประเมินสุขภาพ โดยอาจจะแนะนำให้ท่านผ่านการตรวจร่างกายเพื่อประเมินปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นอันดับแรก
  • 2 การปรับท่านั่ง:
    • ถ้าปัญหาต่างๆของท่านเกิดจากการนั่ง จะแนะนำเทคนิคและการปรับแต่งท่านั่งให้ถูกต้อง เพื่อลดการกดทับและลดความตึงเครียดในพื้นที่ต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งแนะนำให้ลดพฤติกรรมการนั่งท่าเดิม หรือการนั่นเนือยนิ่งเป็นเวลานานโดยให้ทำการยืน ลุกเดิน หรือยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุก 30-60 นาที
  • 3 การทำกิจกรรมกลางแจ้ง:
    • การทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นประจำ ควรทำการยืดเหยียดร่างกาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อต่างๆ ให้พร้อมสำหรับกิจกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งรวมถึงการยืดเหยียดหลังการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดการบาดเจ็บ
  • 4 การให้คำแนะนำเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริม:
    • หากเก้าอี้ของท่านไม่ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้เพิ่มการใช้อุปกรณ์รองรับที่เหมาะสม เช่น เก้าอี้ที่รองรับร่างกายอย่างถูกต้อง, หรือตัวรองรับบริเวณหลัง เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
  • 5 การให้คำแนะนำและพฤติกรรมที่ควรทำ:
    • หากปัญหานั้นได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ามาจากการนั่ง หรือพฤติกรรมเนือยนิ่ง ส่วนใหญ่จะแนะนำพฤติกรรมที่จะทำเพื่อลดอัตราการนั่งนาน เช่นการเปลี่ยนท่าที่นั่ง, การลุกยืนหรือเปลี่ยนท่าทาง หรือการทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ

พออ่านมาถึงตรงนี้หลายๆคนคงนึกออกใช่มั้ยครับว่า ทำไมองค์กรในต่างประเทศมีการจัดเวลาให้พนักงานได้ออกกำลัง ยืดเส้นยืดสาย หรือแม้แต่ให้โหนบาร์ออกกำลัง ที่เป็นที่นิยมในกลุ่มบริษัทต่างๆ ในญี่ปุ่น เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง แม้จะถึงวัยเกษียณ นอกจากนี้ยังเป็นความพยายามเตรียมความพร้อมรองรับปัญหาขาดแคลนภาคแรงงานที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของญี่ปุ่นในปัจจุบัน รวมถึงอีกหลายๆประเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ระดับชุดปฏิบัติงานสารเคมี

แชร์บทความนี้

ชุดปฏิบัติงานสารเคมี มีการแบ่งระดับตามความสามารถในการป้องกันสารเคมีอย่างชัดเจนคือ ชุดปฏิบัติงานสารเคมี ระดับ A, B, C และ D ซึ่งเป็นไปตามข้อ

อ่านต่อ »

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ สารเคมีหกรั่วไหล

แชร์บทความนี้

สารเคมีหกรั่วไหล นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่นความประมาทจากการเคลื่อนย้ายสารเคมี อุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ฯลฯ เราจะเตรียมตัว

อ่านต่อ »

เหตุผลที่ควรเลือกใช้ ชุดดับเพลิง ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานNFPA 1971

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดดับเพลิง ในท้องตลาดมีมากมาย ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนในการเลือกใช้งานเป็นอย่างมาก

อ่านต่อ »

การเลือกไส้กรองแก๊สและไอระเหย มาตรฐานยุโรป EN

แชร์บทความนี้

มาตรฐานยุโรป EN ความรุนแรงของแก๊สและไอระเหยโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับ 1.ลักษณะของแก๊สและไอระเหยว่าเป็นพิษมากน้อยเพียงไร 2. ชนิดของ…

อ่านเพิ่มเติม »

เมื่อสมองเสื่อมไม่เท่ากับอัลไซเมอร์ แต่อัลไซเมอร์ทำให้สมองเสื่อม

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เมื่อพูดถึงอาการสมองเสื่อม ยิ่งถ้าเป็นในกลุ่มผู้สูงอายุ เราก็มักจะพ

อ่านเพิ่มเติม »