จุดยึดสำหรับการทำงานใน สถานที่อับอากาศ

แชร์บทความนี้

หนึ่งในการวางแผนสำหรับการทำงานใน สถานที่อับอากาศ นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือแผนการช่วยเหลือฉุกเฉินในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดอุบัติเหตุ หรือหมดสติอยู่ภายใน สถานที่อับอากาศ เนื่องจากสถานที่อับอากาศส่วนใหญ่เป็นสถานที่ที่มีทางเข้าคับแคบ การที่จะลำเลียงผู้ป่วยหรือผู้ปฏิบัติงานขึ้นมาจากสถานที่ดังกล่าวนั้นไม่สามารถทำได้โดยง่าย อุปกรณ์ช่วยเหลือที่มีความจำเป็นในงานช่วยเหลือชนิดหนึ่ง คือ จุดยึดหรือAnchor Point

สำหรับจุดยึดหรือAnchor Pointในปัจจุบันสามารถจำแนกออกได้เป็น จุดยึดชนิดติดตั้งแบบถาวร และจุดยึดที่ใช้ติดตั้งแบบชั่วคราว ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงจุดยึดประเภทชั่วคราวหรือTemporary Anchor Point เนื่องจากจุดยึดแบบชั่วคราวนี้ถูกนำมาใช้อยู่บ่อยครั้งทั้งยังมีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปทำงานในหน้างานต่างๆได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใดๆในการติดตั้งเพิ่มเติม

อุปกรณ์3ขาหรือTripod

จุดเด่น

  • คลื่อนย้ายได้ง่าย
  • ผู้ผลิตออกแบบให้มีน้ำหนักเบา โครงสร้างหลักเป็นAluminumโดยทั่วไปหนักประมาณ16-18กิโลกรัม
  • ปรับขนาดความกว้างของชุดขาตั้งให้เหมาะมกับหน้างานได้           
  • ออกแบบให้มีจุดยึดสำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ช่วยเหลือหรือRescueได้หลากหลาย    

 จุดด้อย

  • เหมาะกับหน้างานที่มีพื้นที่ราบ
  • เหมาะกับหน้างานที่ไม่มีสิ่งกีดขวางในการตั้งวางอุปกรณ์ 

จุดยึดแบบเสาหรือAdjustable Mast

สถานที่อับอากาศ

จุดเด่น

  • เคลื่อนย้ายได้ง่าย(โดยทั่วไปถูกออกแบบให้แยกชิ้นและประกอบได้ง่าย)
  • ถอด-ประกอบได้ง่าย (โดยทั่วไปมักถูกออกแบบให้สามารถถอดและประกอบได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ)
  • ปรับขนาดความกว้างของชุดขาตั้งและความยาวของชุดจุดยึดให้เหมาะสมกับหน้างานได้
  • ปรับเปลี่ยนชุดฐานตั้งให้เหมาะสมกับหน้างานที่มีพื้นที่จำกัดได้
  • ออกแบบให้มีจุดยึดสำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ช่วยเหลือหรือRescueได้หลากหลาย

 จุดด้อย

  • มีชิ้นส่วนที่ต้องประกอบหลายชิ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์3ขา

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าจุดยึดแบบชั่วคราวนั้นให้ความสะดวกในการใช้งานได้อย่างมาก ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับหน้างานของแต่ละสถานที่ว่าเหมาะสมกับจุดยึดในรูปแบบใด แต่หากเลือกผิดอาจจะไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างที่ต้องการหากมีข้อสงสัยแนะนำให้ติดต่อผู้จำหน่ายที่มีความเชี่ยวชาญในการแนะนำข้อมูลให้กับท่านเพื่อประกอบการพิจารณาและเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานต่อไป

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ANSI, ASTM International, FM Global, NFPA, SEI และ UL

แชร์บทความนี้

มีตัวแทนอิสระหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการในด้านอุตสาหกรรมความปลอดภัยและที่จะนำมากล่าวถึงในที่นี้คือ

อ่านต่อ »

การเลือกไส้กรองแก๊สและไอระเหย มาตรฐานยุโรป EN

แชร์บทความนี้

มาตรฐานยุโรป EN ความรุนแรงของแก๊สและไอระเหยโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับ 1.ลักษณะของแก๊สและไอระเหยว่าเป็นพิษมากน้อยเพียงไร 2. ชนิดของ…

อ่านต่อ »

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านเพิ่มเติม »

ถังเก็บสารไวไฟ (Safety Storage) ตามมาตรฐาน OSHA

แชร์บทความนี้

เทคนิคอย่างหนึ่งในการลดอันตรายที่เกี่ยวกับของเหลวไวไฟและติดไฟได้คือการใช้ ถังบรรจุที่ปลอดภัย OSHA ได้ให้คำนิยามของ ถังบรรจุที่ปลอดภัย ว่า

อ่านเพิ่มเติม »

% LEL หรือ %Vol (Volume) หน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ

แชร์บทความนี้

สำหรับหน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ % LEL หรือ %Vol (Volume) ในอุปกรณ์วัดแก๊สติดไฟ หากเราพิจารณาชนิดของหน่วยของการวัดแล้ว เราก็จะเห็นการรายงาน…

อ่านเพิ่มเติม »