`

สาร THC และ CBD จากกัญชามีผลอย่างไรกับร่างกาย

ช่วงนี้มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการใช้ ส่วนผสมของกัญชาวางจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไปมากขึ้น ซึ่งบนฉลากของสินค้า ก็จะพบสารอยู่ 2 ตัวก็คือ Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) นั้นเองนะครับ เคยสงสัยมั้ยครับ ว่าถ้าเราบริโภคเข้าไปแล้วจะเกิดเอฟเฟกต์อะไรบ้าง ทั้งผลดีและผลเสีย วันนี้ Thaisafetywiki เราได้รวบรวมข้อสรุปทางการแพทย์มาบอกกันครับ

 

Tetrahydrocannabinol (THC)

สาร Tetrahydrocannabinol (THC) ในขนาดที่เหมาะสม จะออกฤทธิ์ ลดอาการปวด เกร็ง ของกล้ามเนื้อ ลดอาการเคลื่อนไส้

ถ้าหากได้รับในปริมาณสูง จะออกฤทธิ์ ทำให้เมา ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน รบกวนการทำงานของสารเคมีในสมอง ทำให้การรับรู้เพี้ยน การตัดสินใจและมีผลต่อความจำ

หากได้รับในปริมาณที่สูงอย่างต่อเนื่อง จะ  ทำให้เกิดภาวะการดื้อต่อสาร Tolerance ทำให้ต้องเพิ่มขนาดจึงจะได้ผลเท่าเดิมและเกิดการติดยาต่อเนื่องได้

THC

Cannabidiol (CBD)

สาร Cannabidiol (CBD) เป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยอาการเมาเคลื้ม และแก้อาการทางจิตจากสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ได้ นอกจากนี้ สาร Cannabidiol (CBD) มีการศึกษา วิจัยเกี่ยวกับการใช้ CBD เพื่อควบคุม อาการชัก อาการปวด แต่ยังไม่พบว่าทำให้เกิดอาการดื้อยาหรือติดยาได้

CBD

สาร THC และ CBD จะไปอยู่ในอาหารอะไรบ้าง

ปัจจุบัน มีการนำสารสกัดจากกัญชาในรูปน้ำมัน เนย และขี้ผึ้ง ซึ่งนำไปแปรรูปต่อเป็นขนมหรืออยู่ในอาหาร ตรวจสอบพบว่ามีระดับ THC สูงมากกว่าที่พบในธรรมชาติ ซึ่งอาจจะเกิดเหตุการณ์ กินโดยไม่ตั้งใจและบาดเจ็บจาก THC เกินขนาดได้นั้นเอง

ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนั้น ยังต้องการ การศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม และยังต้องมีข้อสนับสนุนการใช้งานในคนเพิ่มเติมอีกด้วยนะครับ

HINT** ปริมาณสาร THC และ CBD ของกัญชาแต่ละสายพันธุ์ นั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ สายพันธ์ุ การปลูก ตลอดจนการสกัดเป็นของเหลว ซึ่งจะต้องควบคุม อย่างมีมาตรฐาน มีปริมาณสารที่คงที่ ไม่มีสาร THC มากเกินไปและต้องไม่มีสารอื่นเจือปน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ผศ. นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา และภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เอกสารข้อมูล คลิก

มาตรฐานการจัดเก็บสารเคมีไวไฟ 29 CFR 1910.106

จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม การใช้สารเคมีที่ไม่มีส่วนประกอบของน้ำได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นนี้จึงทำให้มีโอกาสในการเกิดอันตรายเกี่ยวกับสารเคมี

อ่านต่อ »

มาตรฐานอ้างอิงอุปกรณ์PPEสำหรับใช้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตาม NFPA 70E : 2018

มาตรฐานอ้างอิงสำหรับการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ NFPA 70E : 2018 ในหัวข้อนี้จะมาดูกันว่าอุปกรณ์PPE

อ่านต่อ »

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านเพิ่มเติม »

ซีเซียม 137 คืออะไร สารกัมมันตรังสี อันตรายแค่ไหน อธิบายแบบง่ายๆ เข้าใจ ชัดเจน ไม่ตระหนก

ซีเซียม 137 คืออะไร ซีเซียม-137 นั้น เป็นสารกัมมตรังสีเกิดได้เมื่อยูเรเนียมและพล

อ่านเพิ่มเติม »