การเลือก คาร์ซีท ที่ถูกต้องและปลอดภัย

แชร์บทความนี้

เตรียมตัวครับ อีก 120 วัน พรบ. จราจรทางบก ฉบับที่ 13

 

พรบ.จราจรทางบก ฉบับแก้ไข คนโดยสารต้องรัดเข็มขัดทุกที่นั่ง , เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี เด็กสูงไม่เกิน 135 ซม. ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 2,000.-

 

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2565 มีสาระสำคัญแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก โดยเฉพาะ มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

คนโดยสาร

 

-คนโดยสาร คนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้า และที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์

 

-คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

 

-คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด

 

ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือคนโดยสาร มีเหตุผลทางสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง แต่บุคคลนั้นต้องมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

 

พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับในอีก 120 วัน นับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

อ่านฉบับเต็มได้ที่ https://ratchakitcha2.soc.go.th

 

ทำไมจึงคาร์ซีท ( CAR SEAT ) จึงจำเป็น

จริงๆแล้วที่นั่งผู้โดยสารในรถยนต์ ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเด็ก ถึงบางยี่ห้อจะมีเข็มขัดนิรภัยสำหรับเด็ก แต่ก็ยังปลอดภัยไม่เพียงพอสำหรับเด็กเล็ก เนื่องจากขนาดของเข็มขัดนิรภัย ที่อาจจะหลวมเกินไป ทำให้อาจจะเลื่อนลง หรือไหลไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงบาดเจ็บได้ หากเกิดอุบัติเหตุ เข็มขัดนิรภัย ก็อาจจะไม่สามารถเซฟแรงที่ตัวเด็กจะพุ่งไปด้านหน้าได้ 

 

ประกอบกับ ข้อมูลสถิติ ตั้งแต่ปี 2556-2560 พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เด็กและเยาวชนตั้งแต่แรกเกิด-19 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน รวม 17,634 ราย สาเหตุหลักมาจากอุบัติเหตุรถยนต์ ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก เทียบได้กับจำนวนนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ 7 โรงเรียน.

( ข้อมูลอ้างอิงจาก กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด )

 

คาร์ซีท มีกี่แบบ อะไรบ้าง

  1. Infant car

เป็นคาร์ซีท ที่ถูกออกแบบมาสำหรับทารก มักใช้ได้จนถึงน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม หรือสูงประมาณ 85 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 1 ปี โดยคาร์ซีทจะต้องวางหันไปทางด้านหลัง หรือ rear facing เท่านั้น Infant car seat มักจะมีฐานรองที่ยึดติดกับเบาะรถยนต์ ซึ่งบางรุ่นจะสามารถถอดออก และหิ้วคาร์ซีทออกมาจากฐานได้

Car Seat

  1. Convertible car seats

Convertible car seats สามารถใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงน้ำหนักประมาณ 18 กิโลกรัม ซึ่งสามารถใช้ได้ตั้งแต่การวางหันหลัง rear-facing หรือแบบหันหน้าออก forward-facing โดยสามารถใช้ได้ตั้งแต่เด็กเล็ก ไปจนถึงประมาณ 9 ขวบเลยทีเดียว โดยขนาดของคาร์ซีทแบบนี้จะค่อนข้างใหญ่ มักยึดติดกับฐาน และไม่สามารถยกถือได้แบบ Infant car seat

Car Seat1

  1. Booster seats

Booster seat เพิ่มความสูงให้เด็กเวลานั่งบนที่นั่ง เพื่อให้สาย safety belt พาดผ่านสะโพกไม่ใช่ท้อง และพาดผ่านหัวไหล่ ไม่ใช่คอเด็ก โดยสามารถเริ่มใช้ตั้งแต่น้ำหนัก 18-36 กิโลกรัม หรือความสูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร หรือ อายุ 4-12 ปี โดยอาจมาพร้อมเบาะหลังหรือมาแค่ที่นั่งก็ได้

  Car Seat2car Seat3

 

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ ควรเลือกให้ เด็กมีความสูงเพียงพอ ขาและเข่านั่งห้อยกับเบาะได้ สามารถนั่งได้ตัวตรงหลังพิงพนัก คาดเข็มขัดนิรภัยได้พอดี

 

เลือกคาร์ซีทที่ปลอดภัยควรเลือกแบบไหนดี ?

 

1.จุดยึดตัว 5 ตำแหน่ง

คือสามารถยึดไหล่ 2 ข้าง สะโพก 2 ข้าง และจุดรวมอยู่ที่ระหว่างขา การมีจุดยึด 5 ตำแหน่งจะทำให้ป้องกันการบาดเจ็บต่อเด็กได้ดีกว่าแบบ 3 ตำแหน่ง นอกจากนี้ การใส่ตัวยึดควรทำได้ง่าย สะดวก และสามารถปรับตามความเหมาะสมของขนาดเด็กได้

2.เลือกคาร์ซีทที่สามารถใช้งานแบบ rear-facing ได้นาน

เนื่องจาก เด็กควรนั่งหันไปทางด้านหลังจนอายุประมาณ 2 ขวบ จึงควรเลือกคาร์ซีท ที่สามารถปรับระดับได้ และยังสามารถหันไปทางด้านหลังได้อยู่

3.มีการปกป้องทางด้านข้าง

ควรเลือกคาร์ซีท ที่สามารถป้องกันการกระแทกจากทางด้านข้างได้ดี เนื่องจากอุบัติเหตุประมาณ 1 ใน 4 มาจากการกระแทกทางด้านข้าง จึงควรเลือกคาร์ซีท ที่สามารถปกป้องการกระแทกจากทางด้านข้างได้เป็นอย่างดี

4.เลือกคาร์ซีทให้เหมาะกับขนาดของเด็ก

โดยสามารถสังเกตได้ว่า หลังจากเด็กนั่งคาร์ซีทแล้ว ยังได้รับการป้องกันอย่างเหมาะสมหรือไม่

5.เลือกคาร์ซีทที่ติดตั้งได้อย่างแข็งแรง

ติดตั้งคาร์ซีทสามารถทำได้ทั้งแบบยึดติดกับ Seat belt หรือ ติดกับ ISOfix ที่มีในรถ ซึ่งควรเลือกคาร์ซีท ที่เหมาะกับรถของเรา และมีขั้นตอนการติดตั้งที่ไม่ยุ่งยาก และมีความแข็งแรง

6.เลือกคาร์ซีทที่ผ่านการรับรองความปลอดภัย

7.เลือกคาร์ซีทให้เหมาะกับขนาดของรถ เพื่อการยึดติดกับตัวรถที่เหมาะสม

 

การวางคาร์ซีทมี 2 แบบคือ

  • rear-facing คือการหันไปทางด้านหลัง ควรจัดวางท่านี้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 2 ขวบ เพื่อป้องกันกระดูกสันหลัง และป้องกันการบาดเจ็บของเด็ก
  • forward-facing คือการนั่งหันออกจากด้านหน้าแบบผู้ใหญ่ จะทำหลังเด็กมีอายุมากกว่า 2 ขวบหรือไม่สามารถนั่งหันไปทางด้านหลังได้แล้วจริงๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai. MD) Dr. Noi The Family )

Sensor สำหรับวัดแก๊สติดไฟ รู้ไว้ ใช้ถูก

แชร์บทความนี้

หลังจากได้เรียนรู้เรื่องหน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ กันไปในบทความครั้งที่แล้ว ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor สำหรับวัดแก๊สติดไฟ เพื่อให้การใช้งานเป็นไป

อ่านต่อ »

อย่าสับสนจนเสียหาย เครื่องดื่ม เกลือแร่ ท้องเสีย VS เกลือแร่ ออกกำลังกายไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เมื่อท้องเสียก็ต้องจิบเกลือแร่เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกาย แต่ก

อ่านเพิ่มเติม »

Sensor สำหรับวัดแก๊สติดไฟ รู้ไว้ ใช้ถูก

แชร์บทความนี้

หลังจากได้เรียนรู้เรื่องหน่วยของการวัดแก๊สติดไฟ กันไปในบทความครั้งที่แล้ว ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor สำหรับวัดแก๊สติดไฟ เพื่อให้การใช้งานเป็นไป

อ่านเพิ่มเติม »

แว่นตานิรภัย Polarized คืออะไร

แชร์บทความนี้

แว่นตานิรภัย Polarized เป็นแว่นตาสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกลางแจ้งซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดแสงจ้า และแสงสะท้อนได้ดีกว่าแว่นกันแดดปกติทั่วไป

อ่านเพิ่มเติม »