อันตรายจากการลื่นล้มในผู้สูงอายุ ปัจจัยและพื้นที่ควรระวัง

แชร์บทความนี้

ช่วงนี้เริ่มมีฝนตกบ่อยขึ้น และแน่นอนว่า อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยก็คือ การลื่นล้ม การลื่นล้มมีอันตรายและความรุนแรงแตกต่างขึ้นอยู่กับ ความรุนแรง บริเวณที่ได้รับการกระแทกและปัจจัยบุคคล ซึ่งพบเจอได้บ่อยและเป็นภัยใกล้ตัวมากๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่เริ่มมีการทรงตัวที่ไม่ดี เรามีข้อมูลดีๆ ข้องควรระวังมาบอกกันครับ

สถิติการลื่นล้มในไทย

กรมควบคุมโรค มีการบันทึกสถิติหกล้มในผู้สูงอายุกว่าปีละ 3 ล้านราย ซึ่งสาเหตุหลักมากจากการลื่น หรือสะดุดล้ม

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจากสถิติในปี 2564 มีจำนวนสูงกว่า 12 ล้านคน ซึ่งเรื่องที่น่าเป็นห่วงของวัยนี้คือการพลัดตกหกล้ม ทำให้เกิดการบาดเจ็บและต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 60,000 รายต่อปี โดยมีผู้เสียชีวิตจากการหกล้มเฉลี่ย วันละ 4 ราย และยังเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุเกิดความพิการ ส่งผลกระทบต่อจิตใจ หวาดกลัวการหกล้ม และต้องพึ่งพาผู้อื่น มีคุณภาพชีวิตลดลง มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น กระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัวและสังคม จากสถิติการพลัดตกหกล้มมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ร้อยละ 80 โดยจุดเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังคือ พื้นที่เปียก หรือลื่น รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามโดยกรมควบคุมโรคมีการให้ข้อมูลดังต่อไปนี้

ปัจจัยเสี่ยงการล้มในผู้สูงอายุการหกล้มมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 2 ประการ คือ

  1. ปัจจัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจากการที่มีพยาธิสภาพจากอายุที่เพิ่มขึ้น
  2. ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การวางเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของเกะกะกีดขวางทางเดิน พื้นลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ การใช้ยานอนหลับ ยาต้านซึมเศร้า เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงภายในร่างกายของผู้สูงอายุ เช่น

  1. การเปลี่ยนแปลงด้านสายตา ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสายตายาว ทำให้คาดคะเนระยะได้ไม่ถูกต้อง หรือการเป็นโรคต้อต่างๆ ที่ทำให้มองเห็นไม่ชัด จึงเกิดการหกล้ม
  2. การเปลี่ยนแปลงด้านข้อต่อและเอ็นที่อ่อนแอลง ส่งผลต่อการทรงตัว จึงทำให้เกิดการหกล้มได้
  3. ระบบทางเดินปัสสาวะ ในผู้สูงอายุพบว่ามีปัญหาปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นไม่อยู่ ทำให้ต้องรีบเร่งในการเข้าห้องน้ำและเกิดการหกล้มบ่อยครั้ง
  4. ความเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัวบางอย่าง ก็ส่งผลต่อการหกล้มได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้แขนขาอ่อนแรง ขาดสมดุลในการทรงตัว มีอาการของโรคพาร์กินสัน ที่มีภาวะสั่นก็มีความเสี่ยงต่อการหกล้มสูงเช่นกัน
  5. การใช้ยาบางตัวมีความเสี่ยงต่อการหกล้ม เช่น ยาลดความดันโลหิต ยานอนหลับ ยาต้านการซึมเศร้า

 

ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม หรืออุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ได้แก่ 

  1. การวางเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของเกะกะกีดขวางทางเดิน พื้นลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ เป็นต้น
  2. การเดินในพื้นที่เปียกและลื่น หลายๆพื้นที่ที่มักพบเห็นได้ตามลานจอดรถ หน้าร้านสะดวกซื้อ ตอนฝนตก เป็นต้น
  3. การเดินในพื้นต่างระดับ พื้นที่ต่างระดับบางที่อาจจะใช้วัสดุพื้นเป็นแบบขัดมัน ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะโดยปกติแล้วผู้สูงอายุจะมีการยกเท้าต่ำจึงเสี่ยงต่อการสะดุดได้สูง
  4. รองเท้าแตะ ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน หรือพื้นที่ที่เดินทางไปบ่อยๆ หรือคิดเผื่อการกันลื่นเมื่อตอนฝนตก

 

การหกล้มเป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุและส่งผลกระทบหลายด้าน ดังนั้นหากสามารถป้องกันการหกล้มได้จะก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีในผู้สูงอายุ

 

หากเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ มีการ พลัดตก หกล้มเกิดขึ้น สามารถปฐมพยาบาลได้ดังนี้

  • ทันทีที่พบว่ามีการ พลัดตก หกล้มให้รีบเข้าไปประคอง และดูว่าเป็นการหกล้มอย่างรุนแรง เช่น ศีรษะฟาดลงกับพื้น ได้รับบาดเจ็บที่คอ หลัง สะโพก ต้นขาหรือไม่
    • หากเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน ดวงตาได้รับการกระทบกระเทือน ควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาลทันที
  • เพื่อป้องกันไม่ให้มีการฟกช้ำ หรือบวมอย่างรุนแรง ให้ทำการประคบเย็นหรือประคบน้ำแข็งไปที่บาดแผล หรือบริเวณที่มีการฟกช้ำ หรือบวม
  • ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรง ให้รับประทานยาแก้ปวด
  • นำผู้บาดเจ็บไปพักผ่อนและรอดูอาการ และสังเกตอาการใน 24 ชั่วโมงแรก

การสังเกตุอาการอะไรที่ควรไปพบแพทย์ทันที

โดยทั่วไปหากเป็นการ พลัดตก หกล้มที่ไม่รุนแรง การปฐมพยาบาลเบื้องต้นก็สามารถช่วยรับมือได้ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการแทรกซ้อนหรือมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นตามมาใน 24 ชั่วโมงแรก ควรพาผู้บาดเจ็บไปพบคุณหมอ

  • มีไข้ 
  • มีอาการง่วงหรืออ่อนเพลียมากเป็นพิเศษ 
  • วิงเวียนศีรษะและอาเจียน 
  • ปวดศีรษะ คอ หลัง หรือบริเวณที่เกิดการหกล้มอย่างรุนแรง
  • ไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ
  • มีปัญหาด้านการมองเห็น หรือมองไม่ค่อยเห็น
  • มีเลือดออกในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง
  • มีปัญหาด้านการหายใจ เช่น หายใจไม่ออก หยุดหายใจ
  • หมดสติ
  • มีอาการชัก

ระบบ Airline System กับงานพื้นที่อับอากาศ

แชร์บทความนี้

การทำงานในบ่อเกรอะเราจะมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยม ในการนำมาใช้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ตัวนี้เราจะเรียกมันว่า ระบบ Airline System …

อ่านต่อ »

ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ANSI, ASTM International, FM Global, NFPA, SEI และ UL

แชร์บทความนี้

มีตัวแทนอิสระหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการในด้านอุตสาหกรรมความปลอดภัยและที่จะนำมากล่าวถึงในที่นี้คือ

อ่านต่อ »

ห่วง D-Ring บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว(Full body Harness)กับการใช้งาน

แชร์บทความนี้

ห่วง D-Ring ที่ติดตั้งอยู่บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวในรุ่นมาตรฐานนั้นผู้ผลิตจะติดตั้งมาให้1จุดบริวณด้านหลังของชุดโดยผ่านการทดสอบความ

อ่านต่อ »

เหตุผลที่ควรเลือกใช้ ชุดดับเพลิง ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานNFPA 1971

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดดับเพลิง ในท้องตลาดมีมากมาย ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนในการเลือกใช้งานเป็นอย่างมาก

อ่านเพิ่มเติม »

PID sensor สำหรับตรวจจับสารระเหยเร็ว (VOCs)

แชร์บทความนี้

จากข้อจำกัดของ Electrochemical sensor ในบทความเรื่องที่แล้วที่ไม่สามารถจะตรวจจับแก๊สพิษที่มีคุณสมบัติระเหยเร็วที่เราเรียกว่า

อ่านเพิ่มเติม »

มาจัดระเบียบร่างกายและโต๊ะทำงานกันเถอะ ท่านั่งทำงานยังไงให้ถูกหลักทั้งการใช้งานและการยศาสตร์

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้วันนี้ใครมีปัญหาเป็น วัยรุ่นปวดหลัง หรือมีปัญหา เมื่อยล้า ปวดกล้ามเ

อ่านเพิ่มเติม »