อากาศในถังอัดอากาศหายไปไหน…………..?

แชร์บทความนี้

อากาศในถังอัดอากาศหายไปไหน…………..?

ทำไมคำนวณแล้วไม่ตรงกับ Datasheet …………..?

ตอนอัดอากาศเต็มทิ้งไว้สักพัก ปริมาตรและแรงดันลดลง…………..!!!    

 

คำตอบคือ

เป็นเรื่องของค่า Safety factor  ของอากาศ ที่เป็นไปตามความสัมพันธ์ของอากาศตามหลักการของ Thermodynamic ไงละ

 

Temperature effect on pressure

วิศวกรจะใช้ Safety Factor 1.13  ออกแบบอุปกรณ์ ซึ่งมาจากความสัมพันธ์ของอากาศตามหลักการของ Thermodynamic หากพิจารณาตามสมการของ  PV=nRT  จะอธิบายเรื่องของ  Pressure ,Volume, Temp,   แรงดันและปริมาตรของอากาศจะแปรผันตรงตามสมการ  ดังนั้นอากาศในถังอัดอากาศก็จะเปลี่ยนตามหลักการนี้เช่นกัน  เพื่อความปลอดภัยของการใช้งาน การออกแบบอุปกรณ์เก็บอากาศ จึงต้องพิจารณาหลักการนี้ด้วย เพื่อให้การอ่านแรงดัน ที่ Pressure Gauge สัมพันธ์กับการแจ้งเตือนได้ถูกต้อง

ค่าSafety Factor 1.13 หากพิจารณาลึกลงไปของสมการ จะมาจากการอ้างอิงจุดเยือกแข็งของน้ำ (freezing point)  ที่ 32 ° F(0 ° C, 273.15 K)ไปจนถึง 96 ° F(35.6 ° C หรือ 308.71 K) สำหรับช่วงที่นิยมใช้ในการออกแบบ  ในขณะที่พื้นฐานของสมการจะอ้างอิงอุณหภูมิเป็นเคลวิน(ไม่ใช้อุณหภูมิอื่น) ดังนั้นตามหลักการแล้ว การเปลี่ยนอุณหภูมิจะเป็นสัดส่วนของอุณหภูมิจาก 32 ถึง 96 ° F (0 ถึง 36 ° C)  จะมีค่า Factor เท่ากับ 1.13  (308.71 K /273.15 K)

หากถังอากาศมีแรงดัน 4,500 psi  หรือ 300 bar (ในฝั่งมาตรฐาน EN)  ค่าแรงดันการออกแบบจะต้องถูกหารด้วย 1.13 ก็จะเหลือแรงดันและปริมาตร เพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานการออกแบบความจุของถังอัดอากาศ ก็เพื่อที่จะเผื่อใว้จากกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ  โดยถังขนาด 4500 psi  จะถูกระบุระยะเวลาการใช้งานไว้ที่ 45 นาที ตาม Datasheet ที่ได้เผื่อ Safety Factor แล้ว  (แรงดันออกแบบจะเท่ากับ 4,000 psi (4,500psi / 1.13) หรือ 265 bar (300bar/1.13))

ดังนั้น การคำนวณในเชิงการใช้งาน เราจะเห็นจากสูตร  ((แรงดัน*ปริมาตรลิตรน้ำของถัง)/40 lpm) เมื่อเราแทนค่า แล้วเราก็จะเห็นที่มาว่าทำไม่ดูอากาศเยอะกว่าข้อมูล Datasheet  

ตัวอย่างการคำนวณ  ถังอัดอากาศความจุ 6.8 ลิตรน้ำ แรงดัน 300 bar  อัตราการหายใจมาตรฐานที่ 40 L/m

ผู้ใช้งานคำนวณ 

(300*6.8)/40 = 51 นาที

การออกแบบ ตาม Datasheet คำนวณ  ด้วย safety factor 1.13  

(265*6.8)/40 = 45 นาที

การออกแบบโดยมี Safety Factor ก็มีไว้ป้องกันผลกระทบของอุณหภูมิที่มีผลต่อค่าความดันให้ถูกต้อง ที่อาจส่งผลต่อนักผจญเพลิง โดย NFPA Standard ปี2018 กำหนดการแจ้งเตือนแรงดัน ที่ 33% (4500psi*33% แจ้งเตือนราวๆ 1485 ถึง 1500 psi+- gauge error  อากาศเหลือราว 17.5 นาที) EN  Standard  กำหนดการแจ้งเตือนแรงดัน ที่ 18% (300 bar*18% แจ้งเตือนราวๆ 54 bar +- gauge error  อากาศเหลือราว 10 นาที)

สนใจดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pholonline.com

ข้อกำหนดอ่างล้างตาและฝักบัวชำระล้างฉุกเฉินตาม ANSI Z358.1-2014 Standard

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันมาตรฐานสากลที่ใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายคือ ANSI Z358.1-2014 Standard (Versionปัจจุบัน) ซึ่งได้กำหนดหัวข้อสำคัญๆไว้ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม »

ระบบ Airline System กับงานพื้นที่อับอากาศ

แชร์บทความนี้

การทำงานในบ่อเกรอะเราจะมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยม ในการนำมาใช้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ตัวนี้เราจะเรียกมันว่า ระบบ Airline System …

อ่านเพิ่มเติม »

สัญญาณเตือนอาการของโรคไข้เลือดออกและวิธีป้องกันห่างไกลไข้เลือดออก

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เข้าสู่ฤดูฝนอย่่างเต็มรูปแบบ โรคที่มักจะตามมากับหน้าฝนส่วนใหญ่ก็หนี

อ่านเพิ่มเติม »

จุดยึดสำหรับการทำงานใน สถานที่อับอากาศ

แชร์บทความนี้

หนึ่งในการวางแผนสำหรับการทำงานใน สถานที่อับอากาศ นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือแผนการช่วยเหลือฉุกเฉินในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดอุบัติเหตุ

อ่านเพิ่มเติม »