เครื่องช่วยหายใจสำหรับสู้ภัย(ผจญภัย)

แชร์บทความนี้

มาตรฐานของ ANSI/NFPA 1981-1992EDITION ได้แก้ไขมาตราฐานความปลอดภัยในการใช้ เครื่องช่วยหายใจสำหรับสู้ภัย ของพนักงานดับเพลิงจากเดิมที่อนุญาตให้ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดตัวกรองสารเคมี(Filter Type, Canister Masks) ในข้อกำหนดอุปกรณ์ดับเพลิงข้อ 19B เป็นให้ใช้เฉพาะเครื่องช่วยหายใจชนิดมีแหล่งจ่ายอากาศหายใจหรืออากาศอัดเท่านั้น และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่31 พฤษภาคม 2524 ซึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานดังนี้

1. Pressure Demand Respiratory Protectionมีอายุการใช้งานต้องไม่น้อยกว่า 30นาที

2. สามารถจ่ายอากาศได้มากกว่า 150%ของความต้องการของ NIOSH (กำหนดขั้นต่ำไว้ 40 ลิตร/นาที)

3. ผ่านการ Thermal Shock Test

4. การสั่นสะเทือน 9 ชั่วโมง โดยไม่ชำรุดเสียหาย

5. สายสะพายและอุปกรณจับยึดเป็นวัสดุทนไฟ(Flame and Heat Resistance)

6. ทนต่อการกัดกร่อนของเกลือ 5% เมื่อนำไปแช่ไว้นาน 48 ชั่วโมง

7. การใช้งานในห้องฝุ่น 1 ชั่วโมง โดยปกติ

8. วัสดุที่ทำช่องมอง(Lens) ต้องชุบผิวแข็งเพื่อป้องกันรอยขีดข่วนทั้งสองด้าน

9. การสื่อคำพูดในระยะ 5 ฟุต จะมีคุณภาพเสียงลดลงไม่มากกว่า 28%

เครื่องช่วยหายใจชนิดอากาศอัด หรือ มีแหล่งจ่ายอากาศหายใจ มี 2 ชนิด คือ

1.        ชนิดถังติดตัว (Self Contained Breathing Apparatus, SCBA)

2.        ชนิดถังติดตั้งประจำที่ หรือเครื่องอัดลมประจำที่ (Air-Line Respirator.)

1. ชนิดถังติดตัว (Self -Contained Breathing Apparatus) SCBA

ในสมัยแรกเป็นชนิดที่เรียกว่า DemandType คือ ชนิดที่เมื่อหายใจเข้าภายในหน้ากากจะมีกำลังดันบรรยากาศติดลบ ปัจจุบันสภาพการใช้งานทั่วไปมีความเกี่ยวข้องกับสารพิษจึงพัฒนาขึ้นมาเป็นระบบ Pressure Demand โดยที่ไม่ว่าจะหายใจเข้าหรือออก ภายในหน้ากากจะมีสภาพเป็นบวก คือ มีกำลังดันประมาณ 1 นิ้ว-น้ำ ตลอดเวลาเพื่อป้องกันมิให้แก๊สรั่วซึมเข้าไปภายในหน้ากากในจังหวะหายใจเข้าอันจะเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ โดยทั่วไปจะมีถังอัดอากาศสำหรับหายใจ โดยอากาศสำหรับหายใจต้องมีคุณภาพอากาศสูงกว่า Grade D. ตามมาตรฐาน ANSI/CGA G-7.1-1989 สำหรับการใช้งานบนบก และสูงกว่า Grade E. สำหรับกีฬาดำน้ำที่ลึกไม่เกิน125 ฟิต ลักษณะทั่วไปคือ ผู้ใช้จะต้องสะพายถังลมติดตัว อาจจะสะพายหลัง หรือสะพายเฉียงหรือสะพายที่สะโพกก็ได้ มีอายุ การใช้งานตั้งแต่ 5 นาทีจนถึง 1 ชั่วโมง

2. ชนิดถังติดตั้งประจำที่หรือเครื่องอัดลมประจำที่ (Air-Line Respirator)

เนื่องจากงานบำรุงรักษาโดยทั่วไปจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่า 1 ชั่วโมง หรือนานกว่าอายุการใช้งานของเครื่องช่วยหายใจสะพายหลังและ/หรือสถานที่ซึ่งเครื่องช่วยหายใจสะพายหลังไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ได้ก็ต้องใช้ระบบที่เรียกว่าเครื่องช่วยหายใจชนิดสายอัดลม(Air-Line Respirator.) ซึ่งมีแบบต่างๆคือ

– Constant Flow

เป็นชนิดที่จ่ายอากาศหายใจเข้าหน้ากากตลอดเวลาไม่ว่าจะหายใจหรือไม่ โดยทั่วไปจ่ายอากาศจากเครื่องอัดอากาศโดยตรง

– Demand Type

เป็นแบบที่จ่ายอากาศภายในให้หายใจเมื่อสูดหายใจเข้าเท่านั้น และในขณะหายใจเข้ากำลังดันบรรยากาศภายในหน้ากากจะมีค่าเป็นลบ คือ น้อยกว่าบรรยากาศปกติ

– Pressure Demand

เป็นแบบพัฒนาล่าสุด โดยภายในหน้ากากจะมีกำลังดันเป็นบวกตลอดเวลา ไม่ว่าจะหายใจเข้าหรือออก โดยทั่วไปอุปกรณ์จะประกอบด้วย

-ถังลม หรือเครื่องอัดลมชนิด Oil Less

-อุปกรณ์ทำความสะอาดอากาศ

-ท่อทางลม

-ชุดเครื่องช่วยหายใจ

คำเตือน ในกรณีที่นำไปใช้ในพื้นที่อันตรายอย่างยิ่งยวด จะต้องเป็นระบบที่มีถังลมติดตัวสำรอง 5นาทีเพื่อใช้หนีภัยในกรณีที่ระบบลมหรือสายลมขัดข้อง

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

รองเท้าป้องกันไฟฟ้าแรงสูงชนิดสวมใส่ร่วมกับรองเท้านิรภัย(Dielectric  Overboots)

แชร์บทความนี้

ในการปฏิบัติงานร่วมกับไฟฟ้าแรงสูงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกใช้อุปกรณ์ในการป้องกันให้เหมาะสมกับการทำงานตามที่มาตรฐานความปลอดภัยกำหนด

อ่านต่อ »

การเลือก “หนัง” รองเท้าเซฟตี้

แชร์บทความนี้

รองเท้านิรภัย หรือรองเท้าเซฟตี้ ตามมาตรฐานทั้ง มอก. และ EN20345 ได้ กำหนดคุณสมบัติของหนัง รองเท้านิรภัย ให้สามารถทำได้จาก หนังแท้

อ่านต่อ »

ถังดับเพลิงระเบิดเพราะอะไร ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ระเบิด มาตรฐานถังดับเพลิง มอก.822-2532 และใบบันทึกตรวจสอบถังดับเพลิง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้หลายคนคงได้รับข่าวเร็วๆที่ผ่านมานี้ว่า เกิดเหตุถังดับเพลิงระเบิดจนท

อ่านเพิ่มเติม »