เรื่องนี้สำคัญ รังสี UV ในฤดูหนาว แม้อากาศไม่ร้อน ก็ยังอันตรายอยู่

แชร์บทความนี้

หลายคนชอบคิดว่า พอถึงฤดูหนาวแล้วจะสบายใจและไม่ต้องกังวลเรื่องแดดมากนัก เพราะช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ส่วนอากาศก็เย็นสบายตลอดวัน ทำให้หลายคนมักจะไม่สนใจปกป้องตัวเองจากแสงแดดในช่วงนี้เท่าไรนัก แต่จริง ๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้นเลย เพราะต่อให้เป็นฤดูหนาว ทุกท่านก็ยังจะได้รับผลกระทบจากรังสี UV และยังต้องระวังอันตรายจากแสงแดดกันอยู่ดี

รังสี UV ที่เป็นอันตรายในช่วงฤดูหนาวมีอะไรบ้าง

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า รังสี UV คือรังสีที่อันตรายต่อมนุษย์ และยังสามารถแบ่งย่อยลงไปได้ถึง 3 ชนิด มาดูกันว่ารังสี UV แต่ละชนิดมีเรื่องอันตรายอะไรที่ต้องระวังบ้าง

  1. UVA มีความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตร ชั้นบรรยากาศของโลกไม่สามารถกรองรังสีชนิดนี้ได้ ความน่ากลัวก็คือ รังสีชนิดนี้สามารถทะลุผ่านกระจกและหน้าต่างได้ด้วย รวมถึงสามารถทะลุไปสู่ชั้นผิวแท้ได้ และหากได้รับปริมาณมากจะทำให้ผิวคล้ำเสีย ร่างกายจะปรับตัวโดยการสร้างเม็ดสีเพิ่ม ส่งผลให้ผิวยิ่งคล้ำเสียเข้าไปอีก และยังทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว ก่อให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควรได้
  2. UVB มีความยาวคลื่น 290-320 นาโนเมตร ชั้นบรรยากาศของโลกสามารถกรองรังสีชนิดนี้ได้บางส่วน และแม้ว่าจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายได้สังเคราะห์วิตามิน D ที่มีประโยชน์ก็ตาม แต่ถ้าโดนหนัก ๆ เข้า ก็อาจเป็นอันตรายต่อผิวได้ โดยเฉพาะอาการผิวไหม้ เกรียม และผิวหนังอักเสบ
  3. UVC มีความยาวคลื่น 100-290 นาโนเมตร เดิมทีจะถูกชั้นโอโซนกรองไว้ได้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันจากสภาวะโลกร้อน ก็ทำให้ชั้นบรรยากาศบางลง รังสีชนิดนี้จึงสามารถส่องผ่านลงมาได้บ้าง ซึ่งเป็นชนิดรังสีที่อันตรายที่สุดตัวหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

วิธีป้องกันและดูแลตัวเองจากรังสี UV

เมื่อได้รู้ถึงอันตรายของรังสี UV แล้ว หลายคนคงกลัวแดดกันไปเลย แต่ถ้าเลี่ยงแดดไม่ได้จริง ๆ ก็ยังมีวิธีป้องกันและดูแลตัวเองที่ทำได้ง่าย ๆ คือ

  1. ป้องกันตัวเองด้วยเสื้อผ้า ถ้าจะต้องออกไปสู้แดดข้างนอก วิธีการป้องกันที่ดีอันดับหนึ่งก็คือ การสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดผิวให้ได้มากที่สุด ซึ่งผ้าเนื้อหนาคือตัวเลือกที่แนะนำ แล้วก็อย่าลืมสวมหมวกกับแว่นกันแดดด้วยนะ
  2. ทาครีมกันแดด ถัดจากปราการด่านแรกที่ช่วยป้องกันแดดได้อย่างเสื้อผ้าเนื้อหนา ชั้นต่อมาก็คือ การทาครีมกันแดดเป็นประจำ ทั้งใบหน้าและลำตัว ซึ่งจะช่วยป้องกันผิวจากรังสี UV ได้เป็นอย่างดี วิธีเลือกครีมกันแดดก็สามารถจำค่าที่ระบุบนผลิตภัณฑ์ได้ง่าย ๆ คือ

SPF คือ ค่าในการปกป้องรังสี UVB ส่วนตัวเลขที่สูง จะหมายถึงประสิทธิภาพในการปกป้อง ทั้งนี้แนะนำเป็น SPF50 เป็นอย่างน้อย

PA คือ ค่าในการปกป้องรังสี UVA ส่วนเครื่องหมาย + จะหมายถึงประสิทธิภาพในการปกป้อง แนะนำให้เลือกเป็น PA+++ หรือ PA++++ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุด

  1. เลี่ยงแสงแดดให้ได้มากที่สุด หนึ่งในวิธีการป้องกันตัวเองจากแสงแดดที่ดีที่สุดก็คือ การหลบและไม่ออกไปลุยแดดข้างนอก โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ที่แดดอาจดูอ่อน ผู้คนเลยไม่ค่อยกลัวแดดกัน แต่เอาเข้าจริงแล้วไม่ว่าจะฤดูกาลใด ก็ต้องหัดเป็นคนที่กลัวแดดให้ชินให้ได้

แม้ฤดูหนาวอากาศจะเย็นลง และไม่รู้สึกร้อนแบบแสบผิว แต่ในแสงแดดก็จะคงมาพร้อมกับอันตรายมากมายที่ต้องระวังอยู่ โดยเฉพาะกับรังสี UV ที่เป็นอันตราย ซึ่งไม่ได้หายไปไหนเลยสักวัน รู้แบบนี้แล้วห้ามประมาทเด็ดขาดเลย

มาตรฐานการจัดเก็บสารเคมีไวไฟ 29 CFR 1910.106

แชร์บทความนี้

จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม การใช้สารเคมีที่ไม่มีส่วนประกอบของน้ำได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นนี้จึงทำให้มีโอกาสในการเกิดอันตรายเกี่ยวกับสารเคมี

อ่านต่อ »

อุปกรณ์ Lockout-Tagout (LOTO)

แชร์บทความนี้

ารปฏิบัติงานกับเครื่องจักร/อุปกรณ์หรือแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าที่หยุดการทำงานนั้นจำเป็นต้องมั่นใจว่าเครื่องจักร/อุปกรณ์หรือแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไม่มีโอกาส

อ่านต่อ »

โรคไอกรน – ความเสี่ยง อาการ และวิธีป้องกันการแพร่ระบาดที่กำลังระบาดในเด็กขณะนี้

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ โรคไอกรนคืออะไร? โรคไอกรน (Whooping Cough) เป็นโรคติดเชื้อในระบบทา

อ่านเพิ่มเติม »

สัญญาณเตือนอาการของโรคไข้เลือดออกและวิธีป้องกันห่างไกลไข้เลือดออก

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เข้าสู่ฤดูฝนอย่่างเต็มรูปแบบ โรคที่มักจะตามมากับหน้าฝนส่วนใหญ่ก็หนี

อ่านเพิ่มเติม »

ซีเซียม 137 คืออะไร สารกัมมันตรังสี อันตรายแค่ไหน อธิบายแบบง่ายๆ เข้าใจ ชัดเจน ไม่ตระหนก

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ซีเซียม 137 คืออะไร ซีเซียม-137 นั้น เป็นสารกัมมตรังสีเกิดได้เมื่อย

อ่านเพิ่มเติม »

เมื่อสมองเสื่อมไม่เท่ากับอัลไซเมอร์ แต่อัลไซเมอร์ทำให้สมองเสื่อม

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เมื่อพูดถึงอาการสมองเสื่อม ยิ่งถ้าเป็นในกลุ่มผู้สูงอายุ เราก็มักจะพ

อ่านเพิ่มเติม »