โรค “ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ” พบบ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน

แชร์บทความนี้

โรค “ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ” (De Quervain’s Tenosynovitis) กำลังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ใช้ข้อมือและนิ้วมืออย่างหนักในการทำงาน เนื่องจากปลอกหุ้มเอ็นมีหน้าที่รั้งเส้นเอ็นต่างๆให้อยู่แนบกับข้อมือ การที่ข้อมือมีการใช้งานมากๆ และมีการทำงานอะไรที่ซ้ำๆ บ่อยๆ จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบ เช่น นักพิมพ์เอกสาร ช่างฝีมือ ผู้ที่เล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน การใช้ข้อมือซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องเช่นนักกีฬา แม่บ้านที่ทำงานบ้าน รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องอุ้มให้นมบุตร ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมาพบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชาย โดยคนอ้วนจะพบได้บ่อยมากกว่า นอกจากนี้ยังมีอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้แต่ไม่บ่อยนักได้แก่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรครูมาตอยย์ หรือมีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งโรคพวกนี้ทำให้เลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทส่วนปลายได้น้อย

อาการที่พบบ่อย

  1. อาการปวดบริเวณข้อมือด้านนอกใกล้โคนของนิ้วโป้ง และจะปวดมากเวลาตื่นนอน
  2. รู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อขยับข้อมือ หรืองอหัวแม่มือ
  3. ข้อมือบวมและอาจมีเสียงก๊อบแก๊บเมื่อเคลื่อนไหว
  4. รู้สึกตึงหรือมีอาการอ่อนแรงในบริเวณที่อักเสบ

กลุ่มที่พบมากในประเทศไทย
ในประเทศไทย โรคนี้พบมากในกลุ่มคนทำงานที่ต้องใช้ข้อมือเป็นประจำ เช่น พนักงานออฟฟิศที่ใช้คอมพิวเตอร์และแป้นพิมพ์เป็นเวลานานๆ แม่บ้านที่ทำงานบ้านซ้ำๆ ผู้สูงอายุที่ต้องทำงานบ้านหรือเลี้ยงดูหลาน รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการติดต่อสื่อสารหรือเล่นเกมเป็นเวลานาน

วิธีการรักษาและป้องกัน
หากพบว่าตัวเองเป็นหรือมีอาการ ควรพักการใช้งานข้อมือ หลีกเลี่ยงการใช้งานหนัก การประคบร้อนและการทำกายภาพบำบัดสามารถช่วยลดอาการได้ หากอาการไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์ โดยแพทย์อาจจะให้ใส่สนับข้อมือที่คลุมข้อมือและล็อกหัวแม่มือไว้เพื่อลดอาการและแนะนำให้ลดการใช้งานลง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาลดการอักเสบหรือสเตียรอยด์ หรือแนะนำการผ่าตัดหากเป็นซ้ำๆเรื้อรัง มีการรบกวนชีวิตประจำวันมาก โดยเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็กที่มีขนาดเพียง 1-2 เซนติเมตรเท่านั้น หลังผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้เลย

คำถามที่พบบ่อย

Q: อาการปวดข้อมือแบบไหนที่ควรพบแพทย์?
A: หากคุณมีอาการปวดที่รบกวนชีวิตประจำวัน บวมแดง หรือรู้สึกตึงข้อมือจนไม่สามารถใช้งานได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

Q: วิธีป้องกันโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบมีอะไรบ้าง?
A: การป้องกันที่ดีคือการพักการใช้งานข้อมือเป็นระยะ หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้ข้อมืออย่างต่อเนื่อง และการออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของข้อมือและกล้ามเนื้อรอบข้าง

Q: การประคบร้อนหรือเย็นดีกว่าในการบรรเทาอาการ?
A: การประคบเย็นสามารถช่วยลดอาการบวมและปวดในช่วงแรก ส่วนการประคบร้อนอาจช่วยในภายหลังเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเอ็นที่ตึง

สรุป
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยขึ้นในปัจจุบัน โดยมีสาเหตุหลักจากการใช้งานข้อมืออย่างหนักและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโรคนี้ ควรพักการใช้งานข้อมือเป็นระยะ และเลือกทำกิจกรรมที่ลดการใช้งานข้อมือบ่อยๆ เพื่อสุขภาพข้อมือที่ดีในระยะยาว

ระดับชุดปฏิบัติงานสารเคมี

แชร์บทความนี้

ชุดปฏิบัติงานสารเคมี มีการแบ่งระดับตามความสามารถในการป้องกันสารเคมีอย่างชัดเจนคือ ชุดปฏิบัติงานสารเคมี ระดับ A, B, C และ D ซึ่งเป็นไปตามข้อ

อ่านต่อ »

หน้ากากกันฝุ่น PM2.5 และกันไวรัส แบบไหนหายใจสะดวก แบบไหนปกป้องได้ดี

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เชื่อว่าตอนนี้ในหลายๆพื้นที่ในประเทศไทยเริ่มมีอุณหภูมิที่ต่ำลง อากา

อ่านเพิ่มเติม »

ร้อนใน ปัญหาช่องปากที่พบเจอบ่อยและแคสที่หายาก พร้อมวิธีการรักษาอย่างละเอียด

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ร้อนในในช่องปาก (Aphthous ulcers) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกว

อ่านเพิ่มเติม »