การเลือกถุงมือที่ใช้ป้องกัน เมทานอล (Methanol)

แชร์บทความนี้

การเลือกถุงมือที่ใช้ป้องกัน เมทานอล (Methanol)

เมทานอล (Methanol) เป็นสารเคมีที่ใช้อย่างแพร่หลาย ทั่วไปในงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งานล้างและทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ งานเกี่ยวสีและตัวทำละลาย งานเกี่ยวกับการขนส่งเชื้อเพลิง และอื่นๆ ซึ่งทำให้เรามีโอกาสสัมผัสได้ โดยเมทานอลเป็นสารที่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ง่าย และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การสัมผัสเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง อาจส่งผลดังนี้:

ระคายเคืองผิวหนัง – ทำให้ผิวแห้ง, ลอก, หรือเกิดผื่นคัน
ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด – หากสัมผัสในปริมาณมาก เมทานอลสามารถซึมเข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดพิษได้
อาการทางระบบประสาท – หากได้รับในปริมาณมาก อาจมีอาการเวียนศีรษะ, คลื่นไส้ หรือมึนงง

ดังนั้น การเลือกถุงมือที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดย คุณสมบัติที่ถุงมือควรมี ได้แก่:

 

1. วัสดุที่ทนต่อเมทานอล

เมทานอลสามารถซึมผ่านวัสดุถุงมือบางชนิดได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ควรเลือกถุงมือที่ทำจากวัสดุที่มีความต้านทานต่อเมทานอล ได้แก่:

  • Butyl Rubber (ยางบิวทิล) → ทนทานต่อเมทานอลได้ดีที่สุด
  • Viton (ไวตัน/ฟลูออโรอีลาสโตเมอร์) → ทนตัวทำละลายและสารเคมีรุนแรง
  • Laminate Film (ฟิล์มหลายชั้น) → มีการป้องกันสูงแต่ไม่ยืดหยุ่น
  • PVA (Polyvinyl Alcohol) → มีการป้องกันสูง แต่ไม่ทนน้ำ และราคาสูง
  • Nitrile (ไนไตรล์) → ถึงแม้ไนไตรล์จะกันสารเคมีบางอย่างได้ดี และราคาถูก แต่สำหรับเมทานอล ซึ่งระเหยง่ายและโมลิกุลเล็ก จะซึมผ่านถุงมือได้ค่อนข้างไว ยกเว้นถุงมือไนไตรที่มีคุณภาพดี  แต่ก็ยังไม่แนะนำสำหรับการใช้งานเป็นเวลานาน

วัสดุที่ไม่เหมาะสม:

Latex (ลาเท็กซ์) → ไม่ทนต่อเมทานอล

 

ถุงมือกันสารเคมี – ถุงมือเซฟตี้ – อุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคล | PHOL ONLINE

2. มีมาตรฐานการรับรองความปลอดภัย

ควรเลือกถุงมือที่ผ่านมาตรฐาน EN 374-1 (มาตรฐานยุโรปสำหรับถุงมือป้องกันสารเคมี) โดยเฉพาะ และ ต้องมีสัญลักษณ์ “A” ด้านล่างสัญลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สามารถป้องกันเมทานอลได้ อาทิ AJK AKLPT

ตัวอย่างมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง:

EN 374-1 (Chemical Protection) → มาตรฐานถุงมือป้องกันสารเคมี

ASTM D6978 → มาตรฐานป้องกันสารเคมีทางการแพทย์และอุตสาหกรรม

ANSI/ISEA 105 → มาตรฐานอเมริกาสำหรับการป้องกันสารเคมี

3. ระยะเวลาการต้านทานสารเคมี (Breakthrough Time)

สำหรับหน้างานเกี่ยวกับเมทานอล เช่น

  • การผสมสารเคมีที่มีเมทานอลเป็นส่วนประกอบ
  • การผลิตไบโอดีเซลที่ใช้เมทานอลเป็นสารตั้งต้น
  • การจัดเก็บและถ่ายเทเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเมทานอล
  • การผสมและผลิตสีพ่นที่ใช้เมทานอลเป็นตัวทำละลาย
  • การใช้เมทานอลในการทำความสะอาดอุปกรณ์หรือเครื่องมืออุตสาหกรรม
  • การเช็ดพื้นผิวโลหะเพื่อขจัดคราบไขมันด้วยเมทานอล

ถุงมือที่กันเมทานอลได้ดี ต้องมี Breakthrough Time มากกว่า 30 นาที

ถุงมือบางรุ่นที่ทำจากไนไตรล์อาจมี Breakthrough Time เพียง 5-10 นาที ซึ่งไม่เพียงพอ สำหรับหน้างานเหล่านี้

 

 

 

4. ความหนาและความทนทาน

ถุงมือที่หนากว่า (เช่น 0.3 มม. ขึ้นไป) จะป้องกันการซึมผ่านของเมทานอลได้ดีกว่า

ถุงมือแบบ หลายชั้น (Multi-Layer Laminate Gloves) จะช่วยป้องกันเมทานอลได้ดีขึ้น

 

5. ความกระชับและความสบายในการใช้งาน

ถุงมือควร พอดีกับมือ เพื่อป้องกันการรั่วซึม

หากต้องใช้งานเป็นเวลานาน ควรเลือกถุงมือที่มี ซับใน (Lining) เพื่อลดความระคายเคือง

 

สรุป

ถุงมือที่เหมาะสมสำหรับเมทานอลควรเป็นถุงมือที่ทำจาก Butyl Rubber, Viton หรือ Laminate Film และ ต้องมีมาตรฐาน EN 374-1

พร้อมตัวอักษร “A” ควรเลือกถุงมือที่มี Breakthrough Time สูงกว่า 30 นาที เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

 

อุปกรณ์ป้องกันการตก

แชร์บทความนี้

อุปกรณ์ป้องกันการตก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถทำงานในสถานที่เสี่ยงอันตรายในการพลัดตกลงมา โดยเฉพาะใน การปฏิบัติงานบนที่สูง….

อ่านต่อ »

เอลนีโญ ลานีญา คู่แฝดชายหญิงที่ก่อปรากฏการณ์ธรรมชาติแบบต่างกันสุดขั้ว

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้“เอลนีโญ และลานีญา” สองคำนี้เราอาจจะได้ยินกันมาเยอะ แต่ยังคงสร้างคว

อ่านเพิ่มเติม »

ค่าเลือดต่างๆ ที่ได้จากการตรวจสุขภาพ หมายถึงอะไรบ้าง และบ่งบอกถึงอะไรในร่างกาย

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้หลายท่านที่ได้ทำการตรวจสุขภาพประจำปี แล้วได้ทราบค่าตัวเลขเต็มไปหมดท

อ่านเพิ่มเติม »

ขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไร ไม่ให้เครื่องดับ ถ้าเครื่องดับทำยังไง และหลังลุยน้ำแล้วต้องตรวจเช็คอะไรบ้าง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้จากสถานการณ์ฝนตกหนักล่าสุด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ทางส

อ่านเพิ่มเติม »

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ สารเคมีหกรั่วไหล

แชร์บทความนี้

สารเคมีหกรั่วไหล นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่นความประมาทจากการเคลื่อนย้ายสารเคมี อุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ฯลฯ เราจะเตรียมตัว

อ่านเพิ่มเติม »