ถังดับเพลิงระเบิดเพราะอะไร ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ระเบิด มาตรฐานถังดับเพลิง มอก.822-2532 และใบบันทึกตรวจสอบถังดับเพลิง

แชร์บทความนี้

หลายคนคงได้รับข่าวเร็วๆที่ผ่านมานี้ว่า เกิดเหตุถังดับเพลิงระเบิดจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ทำให้เราเกิดความสงสัยและตื่นตัวกับ ถังดับเพลิงใกล้ตัวเราว่า ได้มาตรฐานความปลอดภัยมั้ยแล้วถังของเรา ถึงรอบตรวจสอบอุปกรณ์ หรือยัง วันนี้เรามีข้อมูลมาแชร์กันครับ

ข้อมูลในส่วนนี้เป็น ข้อมูลที่ได้รับจากข่าวจาก https://www.thairath.co.th/news/society/2704166#google_vignette

เท่านั้นนะครับอย่างไรก็ตามเราต้องรอข้อมูลคอนเฟิร์มต่างๆเพิ่มเติมอีกนะครับ 

การที่ถังดับเพลิงจะเกิดระเบิดขึ้นได้นั้น มาจาก สาเหตุหลักๆ เบื้องต้น อันได้แก่

  1. แรงดันในถังนั้นมีมากเกินไป
  2. สภาพตัวถังดับเพลิงและระบบเซฟตี้ชำรุด ไม่มีความแข็งแรงเท่าเดิม
  3. การบรรจุสารดับเพลิงโดยผู้ผลิตที่ไม่มีมาตรฐาน หรือผู้ดำเนินการขาดความรู้ความเข้าใจคุณสมบัติของสารดับเพลิง หรือความต้องการลดต้นทุนต่างๆ จะทำให้เกิดปัญหาได้

ในเคสนี้ สารในถังเป็นชนิด Co2 โอกาสที่ถังจะโดนความร้อนแล้ว Co2 จะขยายตัว จนส่งผลให้ถังมีแรงดันมากขึ้นเกินที่จะรับไหว ประกอบกับสภาพตัวถังดับเพลิงชำรุด ไม่มีความแข็งแรงเท่าเดิม อาจรวมไปถึง การเติมสารดับเพลิงที่ไม่ได้มาตรฐานอีกด้วย จนทำให้ตัวถังฉีกขาดและระเบิดได้

ปัจจัยใดบ้างที่มีส่วนทำให้เกิดระเบิดได้

  1. สถานที่ตั้ง หลีกเลี่ยงการตั้งถัง Co2 ในสถานที่ใกล้ จุดกำเนิดความร้อน เช่น ตากแดด เตาไฟ เครื่องจักรหรือเครื่องยนที่มีความร้อนสูง
  2. การบำรุงรักษา ทำความสะอาดและตรวจเช็ค สภาพความพร้อมของอุปกรณ์ อุปกรณ์นั้นควรต้องอยู่ในสภาพดี ไม่มีการรั่ว หรือ ชำรุด

ข้อมูลถังดับเพลิง

ตัวถังดับเพลิงถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับความดันได้อยู่แล้วนะครับ ตามมาตรฐาน มอก. ว่าด้วยเรื่องถังดับเพลิงต้องสามารถทนต่อแรงดันอากาศได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของความความใช้งาน โดยไม่มีข้อบกพร่องของอุปกรณ์ด้วย และต้องถูกทดสอบก่อนจะทาสีถังด้วยนะครับ มอก.882 2532 ข้อ 6.4

ท่านใดที่อยากหาข้อมูลเกี่ยวกับถังดับเพลิงเพิ่มเติม สามารถดูไได้ที่นี่เลยครับ https://service.tisi.go.th/fulltext/TIS-882-2532m.pdf

มาตรฐานที่กำหนดเกี่ยวกับถังดับเพลิงคือ มอก.822 2532

หมายเหตุ 

เครื่องดับเพลิงชนิด CO2 จะไม่มีมาตรวัดแรงดัน ผู้ใช้สามารถตรวจวัดก๊าซ ภายในถังได้โดย วิธีชั่งน้ำหนัก หากน้ำหนักก๊าสภายในถังลดลงต่ำกว่า 80% ควรติดต่อบริษัทเพื่อทำการดำเนินการบรรจุใหม่ในทันที

ภาพแสดงปฏิกิริยา การเเปลี่ยนแปลง เมื่ออุณภูมิเปลี่ยน ส่งผลต่อการขยายต่อของก๊าช Co2 อย่างไร

สามารถอธิบายง่ายๆแบบนี้ครับ 

สมมุติอุณหภูมิที่ 21 องศาเซลเซียส ถ้าเราอัด CO2 เข้าไปในถังจนถึง 850 psi แรงดันจะเริ่มคงที่ที่ 850psiไม่เพิ่มขึ้น และก๊าซที่อัดเพิ่มเข้าไปหลังจาก850psiจะควบแน่นเป็นของเหลวแทน สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือน้ำหนักที่บรรจุในถังจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากก๊าซกลายเป็นของเหลว

ดังนั้นถ้าเราใส่เกจ์แรงดันในถังดับเพลิงCO2 บรรจุเต็มถังเข็มแรงดันชี้ที่ 850psi หรือฉีดใช้ไปแล้วจนเกือบหมดถัง(โดยที่ยังมีของเหลวอยู่) เข็มก็ยังชี้ที่ 850psi เหมือนเดิมครับ

ดังนั้นแล้ว: มาตรวัดแรงดันจึงไม่สามารถบอกน้ำหนักหรือปริมาณที่อยู่ในถังได้ ต้องใช้การชั่งน้ำหนักเท่านั้น

หมายเหตุ:

แรงดันก๊าซจะสูงขึ้นหรือต่ำลง อุณหภูมิมีผลโดยตรงครับ อ้างอิงจากกราฟคุณสมบัติของCO2 

อุณหภมูิที่ 21 องศาเซลเซียส แรงดันจะอยู่ที่ 850 psi

และอุณหภูมิอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส แรงดันจะสูงถึงประมาณ 1040 psi

 

ลิ้งค์ดาวโหลดใบตรวจสอบใบบันทึกตรวจสอบถังดับเพลิง

https://www.federationspaandwellness.com/assets/uploads/download/eca64-11-.pdf

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.saturnfire.com/post/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87-co2-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99

 

https://www.thairath.co.th/news/society/2704166#google_vignette

 

https://service.tisi.go.th/fulltext/TIS-882-2532m.pdf

อุปกรณ์ถ่ายเทอากาศในที่อับอากาศ( Confined Space Ventilator)

แชร์บทความนี้

ระบบการถ่ายเทอากาศจะจำเป็นต้องถูกใช้ในสถานที่ทำงานต่อเมื่อสถานที่ดังกล่าวมีสภาพดังต่อไปนี้ มีอ็อกซิเจนไม่เพียงพอ น้อยกว่า 19.5%

อ่านต่อ »

ประเภทอุปกรณ์ป้องกันทางหายใจ

แชร์บทความนี้

ประเภทอุปกรณ์ป้องกันทางหายใจ ประเภทอุปกรณ์ป้องกันทางหายใจแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ 4.1 ประเภทที่ทำให้อากาศปราศจากมลพิษ ก่อนที่จะ….

อ่านต่อ »