ถังอัดอากาศ หรือ ภาชนะรับแรงดัน (pressure vessel) ตรวจสอบอะไรบ้าง หาศูนย์บริการได้ที่ไหน

แชร์บทความนี้

วันนี้ เรามาทบทวนข้อบังคับจาก ราชกิจจานุเบกษาในส่วนของ ภาชนะรับความดัน ซึ่งมีข้อกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องมี การควบคุม ทดสอบความปลอดภัยในการใช้ภาชนะรับความดัน โดยเฉพาะการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งาน กำหนดระยะเวลา เมื่อไหร่ เท่าไหร่ รวมไปถึง ใบรับรองหัวข้อการทดสอบอุปกรณ์ ศูนย์บริการการตรวจสอบ และ Certificate หาได้ที่ไหน ไปดูกันครับ

ภาชนะรับความดัน ( ในที่นี้จะมุ่งไปที่ถังอัดอากาศ โดยเฉพาะที่ใช้กับ SCBA ที่มีการบรรจุแรงดันที่สูง ) ราชกิจจานุเบกษา ระบุไว้ดังนี้ 

ข้อ 114 นายจ้างต้องจัดให้มีการทดสอบความปลอดภัยในการใช้ภาชนะรับความดันที่มีปริมาตรตั้งแต่ 1 ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป หรือมีความดันตั้งแต่ 500 กิโลปาสคาลขึ้นไป (5 bar หรือ 72.5 psi ) ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามข้อ 97 และต้องมีเอกสารสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานความปลอดภัยตรวจสอบได้

ตัวอย่างภาชนะรับความดัน

 

ศูนย์บริการตรวจเช็คสภาพ ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจาก SCOTT

คลิปตัวอย่างการทดสอบ

หัวข้อการตรวจสอบ เช็คสภาพ

  1. ตรวจสอบสภาพชุดแคร่ / ถังอัดอากาศมาตรฐาน EN , NFPA
  2. ตรวจสอบสภาพการทำงานของชุด SCBA Functional Test by Posi check
  3. ตรวจสอบระดับแรงดันภายในหน้ากาก
  4. ตรวจเช็คสภาพการจ่ายอากาศ
  5. ตรวจเช็ค การรั่ว ซึมของสายแรงดัน
  6. ตรวจเช็คระบบปล่อยอากาศ
  7. ตรวจเช็คสภาพการเตือนเมื่ออากาศใกล้จะหมด
  8. ตรวจเช็คการทำงานทั้งระบบของอุปกรณ์ทุกชิ้น
  9. การทดสอบตัวถังด้วยระบบ Hydrostatic
  10. การเช็คสภาพเกลียวคอถัง
  11. ตรวจสอบสภาพถังภายใน

คำแนะนำ ภาชนะรับแรงดัน หรือ ถังอัดอากาศจะต้องมีการ Hydrostatic Test ทุกๆ

3 – 5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของถัง

หาศูนย์บริการ ตรวจเช็คสภาพ ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ได้ที่นี่เลย

ลองเทียบให้เห็นภาพง่ายๆนะครับ

ยางลมรถยนต์ที่เราเติมกันทั่วไป แรงดันจะอยู่ที่ 30-35 PSI หรือ 2-2.4 บาร์

ถังอัดอากาศ แรงดันจะอยู่ที่ 4500 – 5500 PSI หรือ 300 – 379 บาร์

 

พอจะเห็นภาพความรุนแรงมั้ยครับหาก อุปกรณ์เกิดความเสียหายหรือชำรุด และไม่ได้ผ่านการทดสอบตามที่กำหนดไว้ หมั่นตรวจสอบความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก อย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ภาชนะรับแรงดันให้ปลอดภัยอยู่เสมอนะครับ

ต่อไปเราจะพาไปรู้จักกับถังรับแรงดัน Hight Pressure ว่าทำมาจากอะไร ทำไมถึงรับแรงดันได้มากขนาดนี้ และมีแบบไหนที่นิยมใช้ทั่วไปกันครับ

ท่านใดอยากสอบถามข้อมูลรายละเอียดสินค้าหรือปรึกษาการใช้งานติดต่อเราได้ที่

บริษัท ผลธัญญะ จำกัด ( มหาชน )

โทรสอบถามข้อมูล : 02 791 0111

LINE : @PHOL