ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “ป้ายความปลอดภัย (SAFETY SIGN)”

แชร์บทความนี้

ป้ายความปลอดภัย (Safety Sign) หรือ ป้ายเซฟตี้

คือป้ายที่ใช้สัญลักษณ์ภาพและข้อความที่เป็นมาตรฐานสากลในการสื่อความหมายเพื่อแจ้งเตือน ห้าม หรือบังคับให้พนักงานหรือบุคคลภายนอกได้ทราบว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่อันตรายห้ามเข้าใกล้และต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด สำหรับป้ายความปลอดภัยนั้นจะมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งข้อความและรูปภาพในป้ายแต่ละประเภทจะมีรูปทรง ขนาด สี และเครื่องหมายเสริมของป้ายสัญลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป

ความสำคัญของป้ายความปลอดภัย

  1. เพื่อแจ้งถึงสภาวะ สภาพแวดล้อม ที่มีความปลอดภัย
  2. เพื่อแจ้งเตือนให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องให้ระวัง และปฎิบัติอย่างระมัดระวังตามป้ายเตือน
  3. เพื่อแจ้งข้อบังคับ ข้อกำหนด ในพื้นที่นั้นๆ โดยต้องทำตาม งดการกระทำ รวมถึงการกระทำบางสิ่งบางอย่างตามป้ายที่ระบุไว้
  4. เพื่อแจ้งห้าม ไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้ หรือปฏิบัติสิ่งที่ห้าม
  5. เพื่อแจ้งพนักงานที่ทำงาน ทราบว่าพื้นที่ต่างๆกำลังปฏิบัติงานอะไรอยู่ และต้องปฏิบัติงานอย่างไร
  6. เพื่อให้ทุกคนไม่เข้าใกล้สถานที่ก่อสร้าง โดยเฉพาะในจุดอันตราย

โดยทั่วไป เราจะพบเห็นป้ายความปลอดภัย ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในที่ทำงาน สถานที่ก่อสร้าง ห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งในห้องน้ำ และมีรูปแบบหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้

ประเภทของป้ายความปลอดภัย

1.ป้ายเครื่องหมายสภาวะความปลอดภัย ( No Danger Sign )ป้ายเซฟตี้

2.ป้ายเครื่องหมายเตือน ( Warning Sign )ป้ายเตือน

3.ป้ายเครื่องหมายบังคับ ( Mandatory Sign )ป้ายบังคับ

4.ป้ายเครื่องหมายห้ามและป้องกันอัคคีภัย ( Prohibition Fire Protection Equipment Sign )ป้ายห้าม

5.ป้ายขนส่งสารเคมีในอุตสาหกรรม ( Hazardous Material Shipping Sign & Label )ป้ายสารเคมี

6.ป้ายตั้งพื้น ( Floor Stand )ป้ายตั้งพื้น

7.ป้ายสถิติความปลอดภัย ( Safety Statistic Signs )

ป้ายสถิติความปลอดภัย

8.ป้ายจราจร (Traffic Sign)

ป้ายจราจร

หลังจากเราเริ่มรู้จักป้ายความปลอดภัยชนิดต่างๆแล้ว รู้หรือไม่ว่า สีและสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัย ที่ใช้ในป้ายต่างๆนั้น มีความหมายอย่างไร เดี๋ยวเราไปทำความรู้จักกัน

 

ป้ายความปลอดภัย มาตรฐาน มอก. 635-2554

เพื่อให้ป้ายความปลอดภัยต่างๆ สามารถแสดงสัญลักษณ์ที่ทำให้ประชานชนทุกคนเข้าใจความหมายตรงกัน และมีมาตรฐาน กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้กำหนด ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดสีและมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานเลขที่ มอก. 635-2554 ซึ่งได้แยกประเภทของป้ายความปลอดภัยออกเป็น 5 ประเภทหลัก คือ

  1. เครื่องหมายห้าม
  2. เครื่องหมายบังคับ
  3. เครื่องหมายเดือน
  4. เครื่องหมายแสดงสภาวะปลอดภัย
  5. เครื่องหมายแสดงอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย

โดยแต่ละประเภทจะมีการกำหนดสี และรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป ก่อนที่เราจะไปดูความหมายของแต่ละส่วนนั้น เราไปดูส่วนประกอบที่สำคัญของป้ายความปลอดภัยกันก่อนเลยครับ

 

ส่วนประกอบสำคัญของป้ายความปลอดภัย มีส่วนประกอบหลักอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนดังนี้

องค์ประกอบสำคัญของป้าย

ประเภทและลักษณะของป้ายความปลอดภัย

1. สี และรูปทรงของเครื่องหมายความปลอดภัย ตามประเภทป้ายความปลอดภัย

2. รูปทรงเรขาคณิต สีพื้น และสีตัดของเครื่องหมายเสริม*

ตารางป้ายเสริม

* เครื่องหมายเสริม คืออะไร เครื่องหมายเสริม หมายถึง ส่วนของข้อความที่ใช้สำหรับอธิบายความหมายเกี่ยวกับสัญลักษณ์ความปลอดภัยให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเน้นย้ำให้ผู้ปฎิบัติงานเข้าใจความหมายตรงกัน โดยจะใช้สีเดียวกันกับเครื่องหมายความปลอดภัย โดยทั่วไปแล้วเครื่องหมายเสริม จะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งมักจะระบุอยู่ด้านล่างของเครื่องหมายความปลอดภัยดังรูป

ป้ายเสริมเพิ่ม
ข้อควรระวังในการใช้งานป้ายความปลอดภัย

ในการใช้งานป้ายความปลอดภัยนั้น สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือ ความชัดเจนในการสื่อสาร เพื่อป้องกันการสื่อสารผิดพลาด หรือแม้กระทั่งสื่อความหมายไปในทิศทางที่ไม่ต้องการ เราจึงมีตัวอย่างสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งานป้ายความปลอดภัย มาให้อ่านกันครับ ตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงการรวมเครื่องหมายความปลอดภัยมากกว่า 1 ชนิด รวมอยู่ในเครื่องหมายเดียวกัน ดังนี้

 

วิธีการเลือกป้ายความปลอดภัยแบบมืออาชีพให้เหมาะกับหน้างาน

หากจะนำความรู้ข้างต้นไปใช้งานได้จริงนั้น จะต้องสามารถทราบถึงการสั่งผลิตป้ายเพื่อความปลอดภัย และจะต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างดังนี้

1.เลือกวัสดุที่ใช้ในการทำป้ายความปลอดภัย แบ่งเป็น วัสดุแผ่นรองหลัง และวัสดุสติกเกอร์ปิดผิวหน้า

    • วัสดุแผ่นรองหลัง ที่ใช้ในการทำป้ายนั้นมีหลากหลายชนิด เช่น แผ่นรองอลูมิเนียม แผ่นรองอะคริลิค แผ่นรองพาสวู๊ด โดยแต่ละวัสดุนั้นมี ข้อดีขอเสียและเหมาะกับหน้างานแตกต่างกัน เช่น แผ่นรองอลูมิเนียม จะเป็นที่นิยมที่สุด เนื่องจากมีความทนทาน ทนแดดทนฝน ใช้งานกลางแจ้งได้ดี แต่มีน้ำหนักมาก ราคาไม่สูง ซึ่งต่างจากแผ่นอะคริลิก ที่มีความแข็งแรง สวยงาม ราคาค่อนข้างสูง และไม่เหมาะกับงานกลางแจ้ง
    • วัสดุแผ่นปิดผิวหน้า เป็นส่วนสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงหน้างานมีแสงเพียงพอต่อการมองเห็นที่ชัดเจน โดยวัสดุที่นิยมจะมี 3 ประเภทได้แก่
      • ป้ายความปลอดภัยสะท้อนแสง หากเป็นป้ายเซฟตี้และป้ายจราจรนั้น วัสดุที่ใช้จะมีวัสดุสะท้อนแสงอยู่ในเนื้อแผ่นแบบลูกแก้ว  (Glass bead lens material) หรือ แบบไมโครปริซึม (Micro prismatic material) ทำหน้าที่สะท้อนแสง โดยหลักการสะท้อนแสงจะเป็นการสะท้อนแสงแบบย้อน (Retroreflection) กลับมาแหล่งกำเนิดแสง ทำให้เกิดความสว่างและเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีแสงมากระทบ มองเห็นได้แม้ในตอนกลางคืน
      • ป้ายความปลอดภัยแบบเรืองแสง สติ๊กเกอร์เรืองแสง เหมาะสำหรับป้ายเตือน ป้ายบอกทางออก ทางหนีไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่มืดทุกแห่ง เช่นโรงภาพยนตร์ สถานบันเทิงต่างๆ ภายในอุโมง เหมืองแร่ ลิฟท์ บันได เป็นต้น เหมาะกับการติดตั้งพื้นที่ทางหนีไฟและทางออกฉุกเฉิน เพราะป้ายชนิดนี้จะเรืองแสงออกมาในที่มืดสามารถมองเห็นป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัยได้เช่นกัน
      • ป้ายความปลอดภัยแบบทึบแสง เป็นที่นิยมน้อยที่สุด เนื่องจากแผ่นสติ๊กเกอร์ที่ใช้เป็นแบบทึบแสง จะสามารถมองเห็นได้เฉพาะเวลากลางวันที่มีแสง และไม่มีการสะท้อนแสงใดๆ เหมาะกับการใช้เพื่อสื่อสารข้อมูลเรื่องทั่วไป

นอกจากการพิจาณาลักษณะป้ายความปลอดภัย ว่าจะเป็นแบบสะท้อนแสง เรืองแสง หรือทึบแสง และยังต้องพิจารณาถึงคุณภาพวัสดุผิวหน้าป้ายความปลอดภัยด้วย โดยสามารถแบ่งคุณภาพได้เป็น 2 ประเภท คือ สติ๊กเกอร์แบบ Commercial Grade (CM) จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 18 เดือน และสติ๊กเกอร์แบบ Engineer Grade (EN) ที่มีอายุการใช้งาน 5 ปี

การเลือกป้าย1

2. ขนาดป้าย ที่เหมาะสมกับแต่ละหน้างาน

การเลือกป้าย

3.กำหนดรูปแบบของป้ายความปลอดภัย เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานที่ต้องการ ซึ่งสามารถพิจารณาเลือกรูปแบบ สัญลักษณ์ และข้อความ เพื่อให้เหมาะสมและเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. 635

การเลือกป้าย3

 

คลิกดูตัวอย่างป้ายตามมาตรฐาน มอก. 635 ได้ที่ Pholonline.com

 

เหตุผลที่ควรเลือกใช้ ชุดดับเพลิง ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานNFPA 1971

แชร์บทความนี้

ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดดับเพลิง ในท้องตลาดมีมากมาย ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนในการเลือกใช้งานเป็นอย่างมาก

อ่านเพิ่มเติม »