พาราเซตามอล ภัยแฝงจากความไม่รู้ และความเคยชิน

แชร์บทความนี้

ยาพาราเซตามอลคิดว่าคงไม่มีใครรู้จักเพราะเป็นยาแก้ปวด เวลาปวดอะไรก็หา “ยาพารา” เพราะทุกบ้านต้องมีติดบ้านเป็นเสมือนยาสามัญประจำบ้านแท้จริงแล้วเป็นยารักษาอะไร รวมถึงการทานมากเกินไป บ่อยเกินไป หรือติดต่อกันนานเกินไปจะมีผลต่อตับและไตไหม

กลไกการออกฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล

จริงๆแล้วยา พาราเซตามอล หรือชื่อสามัญทางยาคือ acetaminophen เป็นอนุพันธ์ของ para-amino- phenol มีฤทธิ์สำคัญคือการลดความเจ็บปวด ระดับน้อยถึงปานกลาง โดยมีกลไกการทำงานหลังจากทานเข้าไปแล้ว หลังจากย่อยในกระเพาะอาหาร ตัวยาพาราเซตามอลจะเดินทางไปที่ตับและมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการเพิ่มระดับการเจ็บปวดที่เกิดจากการสั่งการของสมอง โดยสามารถอธิบายได้ง่ายๆดังนี้ โดยปกติแล้วถ้าเราล้มข้อเท้าพลิก หลังการพลิกที่รุนแรงถึงระดับนึง สมมติว่าเจ็บระดับ 6 เราจะเกิดความเจ็บปวดมากแล้ว ความเจ็บปวดนี้จะเกิดจากร่างกายส่งสัญญาณไปที่สมองเพื่อบอกร่างกายว่าเกิดความเจ็บปวดระดับ 6 ขึ้นในบริเวณนี้ แต่หากเรากินยาพาราเซตามอลไป ก็จะเกิดสารยกระดับความเจ็บปวดในสมอง โดยสารนี้จะไปทำให้สมองแจ้งการเกิดความเจ็บปวดในระดับที่สูงขึ้นเช่นจากปกติ 5 ก็เจ็บปวดมากแล้วไปเป็นระดับ 7 หรือ 8 (สมมติ) เพราะฉะนั้น การแจ้งความเจ็บปวดของร่างกายมาที่สมองในระดับ 6 จากการล้มที่เกิดขึ้น จึงมีผลให้เกิดความเจ็บปวดน้อยลงกว่าปกติ ซึ่งในทางที่ถูกต้องจะต้องบอกว่า “ยาพาราเซตามอลเป็นยาที่ไปเพิ่มระดับวามสามารถรับการเจ็บปวดได้เพิ่มขึ้น“ แต่สำหรับชาวบ้าน หรือคนทั่วๆไป การบอกว่า “เป็นยาลดปวด หรือยาแก้ปวด” จะง่ายต่อความเข้าใจได้มากกว่า

 

ขนาดรับประทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง

การรับประทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้องจะต้องคำนวณจากน้ำหนักของร่างกาย โดยน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จะใช้ยาพาราเซตามอล 10-12 มิลลิกรัม เช่นน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะรับประทานยา 500 มิลลิกรัม หรือน้ำหนัก 46 กิโลกกรัมก็สามารถอนุโลมให้ใช้ 1 เม็ดได้ (ขนาดยาปกติ 500 มิลลิกรัม) โดยการคำนวณจะต้องให้ใกล้เคียงอัตราส่วนนี้ที่สุด ที่สำคัญการทานยาในโดสที่สูงขึ้นเช่น น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม แต่ทานถึง 2 เม็ด (1,000 มิลลิกรัม) ยาที่ทานเข้าไปในส่วนเกินนั้นจะไม่มีผลในการลดความเจ็บปวดมากขึ้นแต่อย่างใด แต่กลับกันยังมีผลเสียไปที่ตับและไตที่จะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อที่จะขจัดยาส่วนเกินนี้ออกไปจากร่างกาย เพราะฉะนั้นหลายท่านยังเข้าใจผิดว่าเวลาทานยาพาราจะต้องทานครั้งละ 2 เม็ดซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อร่างกายอีกด้วย

 

ระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอลโดยปกติแล้วจะมีฤทธิ์ 6 ชั่วโมง ซึ่งสามารถทานซ้ำได้ถ้ายังมีความเจ็บปวดอยู่ แต่สำหรับผู้สูงอายุฤทธิ์ยาอาจจะยาวนานถึง 8-12 ชั่วโมง เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพน้อยลงตามวัย  ฉะนั้นสำหรับผู้สูงอายุ การใช้ยาพาราเซตามอลควรจะได้รับการแนะนำจากเภสัชกร หรือแพทย์เท่านั้น

 

ข้อควรระวังในการใช้ยา

จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่ายาพาราเซตามอลจะไปเพิ่มการทำงานของตับในการเปลี่ยนเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อสมอง ซึ่งอีกด้านก็จะต้องทำงานในการขจัดออกจากร่างกายด้วย เพราะฉะนั้นทางที่ดีที่สุดคือการรับประทานยาเฉพาะตอนที่จำเป็นเท่านั้น การทานยาในระยะยาวไม่มีผลดีต่อร่างกาย แต่จะส่งผลทำให้ตับและไตทำงานหนักและอาจจะส่งผลให้มีปัญหาการทำงานของอวัยวะในอนาคตได้ ส่วนการทานยาดักไว้ก่อนเพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดอาการนั้นเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะยาพาราเซตามอล ไม่ได้มีผลในการป้องกันแต่อย่างใด หากทานเข้าไปนอกจากจะไม่มีผลดีอะไรแล้วยังเกิดโทษกับร่างกายอีกด้วย

 

ข้อควรจำในการรับประทานยาพาราเซตามอล

  1. กินยาโดยมีระยะห่าง 6 ชั่วโมงขึ้นไป และห้ามกินติดต่อกันเกิน 7 วัน
  2. ห้ามกินยาเกินวันละ 8 เม็ด เพราะจะส่งผลเสียต่อตับ
  3. ยาพาราเซตามอลไม่สามารถลดอาการปวดที่รุนแรงได้ เช่นอาการปวดจากบาดแผลที่รุนแรง
  4. หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือเบื่ออาหารหลังจากรับประทาน ควรไปพบแพทย์ทันที
  5. ให้กินเมื่อมีอาการเท่านั้น
  6. หากลืมกินยาให้กินยามือต่อไปตามปกติ โดยห้ามเพิ่มปริมาณยาโดยเด็ดขาด
  7. ห้ามกินยาพาราร่วมกับแอลกฮอล์ เพราะจะมีฤทธิ์ส่งเสริมกันในการทำลายตับ
  8. ห้ามกินร่วมกับยาบางประเภทเช่นยารักษาวัณโรค หรือยารักษาโรคลมชัก เพราะจะไปเพิ่มการเป็นพิษต่อตับ

การเลือกหน้ากากกันฝุ่น กันเชื้อโรค

แชร์บทความนี้

เราจึงควรต้องมีความรู้ ในการเลือกหน้ากากให้ถูกชนิดจึง แนะนำการเลือกหน้ากากกันโรค เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยได้…

อ่านต่อ »

Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ ELECTROCHEMICAL รู้ไว้ปลอดภัยใช้ถูก

แชร์บทความนี้

จากบทความที่แล้วเรื่องของ sensor วัดแก๊สติดไฟ ครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกถึงชนิดของ Sensor วัดแก๊สพิษ แบบ Electrochemical เพื่อให้ทราบหลักการ

อ่านเพิ่มเติม »