พาราเซตามอล ภัยแฝงจากความไม่รู้ และความเคยชิน

แชร์บทความนี้

ยาพาราเซตามอลคิดว่าคงไม่มีใครรู้จักเพราะเป็นยาแก้ปวด เวลาปวดอะไรก็หา “ยาพารา” เพราะทุกบ้านต้องมีติดบ้านเป็นเสมือนยาสามัญประจำบ้านแท้จริงแล้วเป็นยารักษาอะไร รวมถึงการทานมากเกินไป บ่อยเกินไป หรือติดต่อกันนานเกินไปจะมีผลต่อตับและไตไหม

กลไกการออกฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล

จริงๆแล้วยา พาราเซตามอล หรือชื่อสามัญทางยาคือ acetaminophen เป็นอนุพันธ์ของ para-amino- phenol มีฤทธิ์สำคัญคือการลดความเจ็บปวด ระดับน้อยถึงปานกลาง โดยมีกลไกการทำงานหลังจากทานเข้าไปแล้ว หลังจากย่อยในกระเพาะอาหาร ตัวยาพาราเซตามอลจะเดินทางไปที่ตับและมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการเพิ่มระดับการเจ็บปวดที่เกิดจากการสั่งการของสมอง โดยสามารถอธิบายได้ง่ายๆดังนี้ โดยปกติแล้วถ้าเราล้มข้อเท้าพลิก หลังการพลิกที่รุนแรงถึงระดับนึง สมมติว่าเจ็บระดับ 6 เราจะเกิดความเจ็บปวดมากแล้ว ความเจ็บปวดนี้จะเกิดจากร่างกายส่งสัญญาณไปที่สมองเพื่อบอกร่างกายว่าเกิดความเจ็บปวดระดับ 6 ขึ้นในบริเวณนี้ แต่หากเรากินยาพาราเซตามอลไป ก็จะเกิดสารยกระดับความเจ็บปวดในสมอง โดยสารนี้จะไปทำให้สมองแจ้งการเกิดความเจ็บปวดในระดับที่สูงขึ้นเช่นจากปกติ 5 ก็เจ็บปวดมากแล้วไปเป็นระดับ 7 หรือ 8 (สมมติ) เพราะฉะนั้น การแจ้งความเจ็บปวดของร่างกายมาที่สมองในระดับ 6 จากการล้มที่เกิดขึ้น จึงมีผลให้เกิดความเจ็บปวดน้อยลงกว่าปกติ ซึ่งในทางที่ถูกต้องจะต้องบอกว่า “ยาพาราเซตามอลเป็นยาที่ไปเพิ่มระดับวามสามารถรับการเจ็บปวดได้เพิ่มขึ้น“ แต่สำหรับชาวบ้าน หรือคนทั่วๆไป การบอกว่า “เป็นยาลดปวด หรือยาแก้ปวด” จะง่ายต่อความเข้าใจได้มากกว่า

 

ขนาดรับประทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง

การรับประทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้องจะต้องคำนวณจากน้ำหนักของร่างกาย โดยน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จะใช้ยาพาราเซตามอล 10-12 มิลลิกรัม เช่นน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะรับประทานยา 500 มิลลิกรัม หรือน้ำหนัก 46 กิโลกกรัมก็สามารถอนุโลมให้ใช้ 1 เม็ดได้ (ขนาดยาปกติ 500 มิลลิกรัม) โดยการคำนวณจะต้องให้ใกล้เคียงอัตราส่วนนี้ที่สุด ที่สำคัญการทานยาในโดสที่สูงขึ้นเช่น น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม แต่ทานถึง 2 เม็ด (1,000 มิลลิกรัม) ยาที่ทานเข้าไปในส่วนเกินนั้นจะไม่มีผลในการลดความเจ็บปวดมากขึ้นแต่อย่างใด แต่กลับกันยังมีผลเสียไปที่ตับและไตที่จะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อที่จะขจัดยาส่วนเกินนี้ออกไปจากร่างกาย เพราะฉะนั้นหลายท่านยังเข้าใจผิดว่าเวลาทานยาพาราจะต้องทานครั้งละ 2 เม็ดซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อร่างกายอีกด้วย

 

ระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอลโดยปกติแล้วจะมีฤทธิ์ 6 ชั่วโมง ซึ่งสามารถทานซ้ำได้ถ้ายังมีความเจ็บปวดอยู่ แต่สำหรับผู้สูงอายุฤทธิ์ยาอาจจะยาวนานถึง 8-12 ชั่วโมง เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพน้อยลงตามวัย  ฉะนั้นสำหรับผู้สูงอายุ การใช้ยาพาราเซตามอลควรจะได้รับการแนะนำจากเภสัชกร หรือแพทย์เท่านั้น

 

ข้อควรระวังในการใช้ยา

จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่ายาพาราเซตามอลจะไปเพิ่มการทำงานของตับในการเปลี่ยนเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อสมอง ซึ่งอีกด้านก็จะต้องทำงานในการขจัดออกจากร่างกายด้วย เพราะฉะนั้นทางที่ดีที่สุดคือการรับประทานยาเฉพาะตอนที่จำเป็นเท่านั้น การทานยาในระยะยาวไม่มีผลดีต่อร่างกาย แต่จะส่งผลทำให้ตับและไตทำงานหนักและอาจจะส่งผลให้มีปัญหาการทำงานของอวัยวะในอนาคตได้ ส่วนการทานยาดักไว้ก่อนเพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดอาการนั้นเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะยาพาราเซตามอล ไม่ได้มีผลในการป้องกันแต่อย่างใด หากทานเข้าไปนอกจากจะไม่มีผลดีอะไรแล้วยังเกิดโทษกับร่างกายอีกด้วย

 

ข้อควรจำในการรับประทานยาพาราเซตามอล

  1. กินยาโดยมีระยะห่าง 6 ชั่วโมงขึ้นไป และห้ามกินติดต่อกันเกิน 7 วัน
  2. ห้ามกินยาเกินวันละ 8 เม็ด เพราะจะส่งผลเสียต่อตับ
  3. ยาพาราเซตามอลไม่สามารถลดอาการปวดที่รุนแรงได้ เช่นอาการปวดจากบาดแผลที่รุนแรง
  4. หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือเบื่ออาหารหลังจากรับประทาน ควรไปพบแพทย์ทันที
  5. ให้กินเมื่อมีอาการเท่านั้น
  6. หากลืมกินยาให้กินยามือต่อไปตามปกติ โดยห้ามเพิ่มปริมาณยาโดยเด็ดขาด
  7. ห้ามกินยาพาราร่วมกับแอลกฮอล์ เพราะจะมีฤทธิ์ส่งเสริมกันในการทำลายตับ
  8. ห้ามกินร่วมกับยาบางประเภทเช่นยารักษาวัณโรค หรือยารักษาโรคลมชัก เพราะจะไปเพิ่มการเป็นพิษต่อตับ

เอลนีโญ ลานีญา คู่แฝดชายหญิงที่ก่อปรากฏการณ์ธรรมชาติแบบต่างกันสุดขั้ว

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้“เอลนีโญ และลานีญา” สองคำนี้เราอาจจะได้ยินกันมาเยอะ แต่ยังคงสร้างคว

อ่านเพิ่มเติม »