ROHS II คืออะไร บ่งชี้ถึงอะไรการทดสอบความสอดคล้องกับกฎ ROHS มีความสำคัญอย่างไร ?

แชร์บทความนี้

RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด ที่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้นซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงสายไฟ จะต้องผ่านตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยเครื่องหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งในในการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการผลิตและการใช้งานรวมถึงการย่อยสลายที่สามารถปลดปล่อยสารอันตรายเหล่านี้ออกสู่สิ่งแวดล้อมในลักษณะขยะอิเล็กทรอนิกส์ ก่อให้เกิดมลพิษในดินและน้ำ

สารต้องห้ามตามคำสั่งและค่าขีด จำกัดตามข้อกำหนด RoHS ที่กำหนดมีดังนี้:

  1. Lead(Pb) ตะกั่วซึ่ง (สูงสุด 1000 ppm) Lead(Pb)
  2. Mercury ปรอท (สูงสุด 100 ppm) 
  3. Cadmium(Cd) แคดเมียม (สูงสุด 100 ppm)
  4. Hexavalent chromium (Cr6+) 6 (สูงสุด 1000 ppm)
  5. Polybrominated biphenyls (PBB) (สูงสุด 1000 ppm)
  6. Polybrominated diphenyl ethers (PBDE) (สูงสุด 1000 ppm)

RoHS ได้รับการแก้ไขในภายหลังและขอบเขตของสารเคมีที่ถูก จำกัด ใน 2011 ถูกขยาย(Directive 2011 / 65 / EU) คำสั่งนี้เรียกว่า RoHS2ไว้เพิ่มอีก 4 ชนิด รวมทั้งสิ้น 10 ชนิดดังนี้

  1. Bis(2-Ethylhexyl) phthalate (DEHP): 0.1% (added in 2015);
  2. Benzyl butyl phthalate (BBP): 0.1% (added in 2015);
  3. Dibutyl phthalate (DBP): 0.1% (added in 2015);
  4. Diisobutyl phthalate (DIBP): 0.1% (added in 2015).

โดยสารอัตรายแต่ละชนิดถ้ารั่วไหลออกสู่ธรรมชาติจะมีอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอย่างมากมายเช่น

ตะกั่ว (Lead) จะมีความเป็นพิษต่อระบบประสาท การพัฒนาการของทารกในครรภ์ เด็กเล็ก และอวัยวะอื่นๆในร่างกาย ส่วนมากพบในแบตเตอรี่ แผ่นวงจร ไอซี

ปรอท (Mercury) เป็นพิษต่อระบบประสาทและสมอง ไตและตับ พบมากในหลอดไฟ เครื่องมือวัด รีเลย์ และในพลาสติกบางชนิด

แคดเมี่ยม (Cadmium) เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง พบมากในแบตเตอรี่ สี พีวีซี และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

เฮกซะวาเลนท์ (Hexavalent Chromium) เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง มีผลกระทบต่อยีน มีความระคายเคืองต่อผิดหนังและปอด พบมากในแบตเตอรี่ และอุปกรณ์ที่แลกเปลี่ยนความร้อน การเคลือบกันการกัดกร่อนต่างๆ

 โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (Polybrominated Biphenyls) โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ เป็นสารหน่วงการติดไฟ สามารถสะสมในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิต 

โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (Polybrominated Diphenyl Ethers)

เป็นส่วนผสมในพลาสติก สามารถสะสมในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อสิ่งมีชีวิต พบได้ในแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สายไฟ และขั้วสายไฟ

Bis (2- เอทิลเฮกซิล) เป็นสารเคมีที่ใช้ทำให้พลาสติกให้มีความเหนียว แตกหักยาก เป็นสารอันตรายก่อให้เกิดมะเร็งตัวหนึ่ง เป็นพิษต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อ ทำให้ระบบสืบพันธุ์มีปัญหา มักใช้ผสมในพลาสติก ผลิตภัณฑ์โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) เช่น สายไฟ

 

เบนซิล บิวทิล พาทาเลต (Benzyl Butyl Phthalate หรือ BBP) เป็นพิษต่อการทำงานของฮอร์โมนและระบบสืนพันธุ์ มักถูกใช้ในการผลิตพลาสติกเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและความทนทาน เช่น สายเคเบิล สายไฟ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางชนิด

ไดบิวทิล พาทาเลต (Dibutyl Phthalate) การสัมผัสจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ การเจริญพันธุ์ และพัฒนาการ มันพบในสายไฟต่างๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้มีความยืดหยุ่นของวัสดุ

ไดโอโซบิวทิลพทาเลต (Diisobutyl Phthalate หรือ DIBP) มักใช้เป็นพลาสติไซเซอร์ ถูกเติมลงไปเพื่อปรับปรุงความยืดหยุ่นและทนทาน มักใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงสายเคเบิล สายไฟ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นสารอันตรายที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ รบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ และการเจริญพันธุ์

สินค้าประเภทใดบ้างที่อยู่ในข้อกำหนดของ RoHS

ในประเทศสมาชิก EU จะกำหนดมาตรการและวิธีการดำเนินการเพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกประเภท ทั้งที่ใช้ภายในบ้าน และในอุตสาหกรรมโดยจำแนกประเภทไว้ 10 ประเภท ดังนี้

  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดใหญ่ เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น
  2. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านขนาดเล็ก เช่น ที่เป่าผม โคมไฟ
  3. อุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ
  4. เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่นซีดี
  5. อุปกรณ์แสงสว่าง เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดไฟต่างๆ
  6. เครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สว่านไฟฟ้า เลื่อยยนต์
  7. ของเล่นและอุปกรณ์กีฬาที่ใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องเกมส์ ลู่วิ่งไฟฟ้า
  8. อุปกรณ์การแพทย์ เช่น อุปกรณ์ทัตกรรม หรืออุปกรณ์ทางรังสีวิทยา
  9. อุปกรณ์ตรวจวัดต่างๆ เช่น เทอร์โมสตัด เครื่องวัดอุณภูมิต่างๆ
  10. เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เช่น เครื่องจำหน่ายแบบหยอดเหรียญ หรือ ATM เป็นต้น

การทดสอบความสอดคล้องกับกฎ ROHS มีความสำคัญอย่างไร

การปฏิบัติตาม RoHS เป็นสิ่งจำเป็นหากคุณต้องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทใดๆ ในตลาดสหภาพยุโรปและเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA) 

  • เครื่องหมาย CE ตามข้อกำหนด RoHS เป็นข้อกำหนดภาคบังคับ ดังนั้น การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเครื่องหมายนี้ในสหภาพยุโรปจึงถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
  • เครื่องหมาย CE ตามข้อกำหนด RoHS ทำให้ผู้บริโภคและผู้มีอำนาจควบคุมเกิดความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของคุณมีความปลอดภัย เพราะการทดสอบจะช่วยให้คุณค้นพบปัญหาและหลีกเลี่ยงการถูกเก็บค่าปรับและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่อาจก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงตามมา

ส่วนในประเทศอื่นๆเช่นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ก็กำลังเริ่มกำหนดข้อบังคับเหล่านี้เช่นกัน สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีการพูดถึงข้อกำหนดในลักษณะนี้นัก แต่ที่ควรจะศึกษาไว้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อสินค้า และใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสด และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่

ความสำคัญของเก้าอี้เพื่อสุขภาพ เพื่อคนทำงาน พร้อมไอเดียช่วยเลือก

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้จากปัญหาและผลกระทบด้านสุขภาพซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานติดต่อกันเป็นเวล

อ่านเพิ่มเติม »