ขั้นตอนการใช้งานอุปกรณ์ชำระล้างฉุกเฉิน (Emergency Shower)

แชร์บทความนี้

ในการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายนั้นอุปกรณ์ป้องกันนิรภัยส่วนบุคคลหรือPPEนับว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการให้ความปลอดภัยต่อผู้สวมใส่เมื่อทำงานร่วมกับสารเคมี อย่างไรก็ตามหากเกิดความผิดพลาดเนื่องจากเหตุผลใดก็ตามจนเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดการสัมผัสกับสารเคมีอันตรายโดยตรง เช่น ร่างกาย ใบหน้า หรือดวงตาก็ตาม สิ่งแรกที่ผู้สัมผัสกับสารเคมีอันตรายต้องปฏิบัติคือ การล้างหรือเจือจางสารเคมีดังกล่าวออกให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อลดความรุนแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด

การชำระล้างสารเคมีดังกล่าวสามารถทำได้โดยการใช้อุปกรณ์ชำระล้างฉุกเฉินหรือEmergency Shower ในปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวถูกออกแบบมาให้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละหน้างาน เช่น อุปกรณ์ชำระล้างดวงตาชนิดติดตั้งบนเคาร์เตอร์ ,อุปกรณ์ชำระล้างดวงตาชนิดตั้งพื้น, อุปกรณ์ชำระล้างร่างกายและดวงตาชนิดตั้งพื้น รวมถึงยังมีอุปกรณ์ชำระล้างชนิดเคลื่อนย้ายได้ หรือPortable Unitโดยที่อุปกรณ์ชนิดPortable Unitนี้จะถูกออกแบบให้มีถังบรรจุน้ำอยู่ภายในตัวอุปกรณ์เองทำให้สามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปตามหน้างานต่างๆได้อย่างไม่ยากเย็น

เพื่อให้สามารถเข้าถึงการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วที่สุดควรเลือกตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวให้เหมาะสม โดยมาตรฐานANSI Z358.1-2014ได้แนะนำตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ว่า ผู้ปฏิบัติงานควรเข้าถึงอุปกรณ์ดังกล่าวได้โดยง่ายภายในระยะเวลาประมาณ10วินาที และไม่มีสิ่งกีดขวาง

สรุป ขั้นตอนการใช้งานอุปกรณ์ชำระล้างฉุกเฉินหรือEmergency Shower ได้ดังนี้

1 เลือกรูปแบบของอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสถานที่ทำงาน เช่น ติดตั้งบนเคาร์เตอร์, ติดตั้งแบบตั้งพื้น, หรือติดตั้งบนผนังหรือเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดเคลื่อนย้ายได้ เป็นต้น
2 อุปกรณ์ต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เช่น ANSI Z358.1-2014
3 การติดตั้งอุปกรณ์ต้องปฏิบัติตามคู่มือจากผู้ผลิตแนะนำ
4 แรงดันน้ำที่ใช้ในระบบควรอยู่ระหว่าง30psi-80psi
5 อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสมต่อการใช้งานควรอยู่ระหว่าง16-38องศาเซลเซียส
6 จุดติดตั้งอุปกรณ์ต้องเข้าถึงได้โดยง่ายภายในระยะเวลาประมาณ10วินาที และไม่มีสิ่งกีดขวาง
7 เมื่อสารเคมีสัมผัสกับผิวหนัง, ใบหน้าหรือดวงตาให้รีบชำระล้างออกด้วยอุปกรณ์ชำระล้างฉุกเฉินให้เร็วที่สุดโดยใช้เวลาในการชำระล้างประมาณ15นาที
8 ในกรณีสารเคมีสัมผัสกับดวงตาให้พยายามถ่างตาให้กว้างขณะชำระล้างเพื่อที่จะสามารถชำระล้างสารเคมีให้ได้มากที่สุดเป็นระยะเวลาประมาณ15นาที
9 รีบนำผู้ประสบเหตุที่ผ่านขั้นตอนการชำระล้างในเบื้องต้นแล้วพบแพทย์เพื่อวินิฉัยในการรักษาต่อไป
10 น้ำทิ้งจากการชำระล้างสารเคมีหากเป็นสารเคมีอันตรายหรือเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมให้ดำเนินการในการกำจัดตามนโยบายความปลอดภัยของกฏหมายในแต่ละประเทศต่อไป

กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera)

แชร์บทความนี้

กล้องถ่ายภาพความร้อนถูกนำมาใช้ในหลายๆ ด้าน เช่น เถ้ารถของท่านร้อนเกินไป กล้องถ่ายภาพความร้อน หรือ พื่อตรวจดูว่าเราป่วยหรือไม่ อาหารถูก…

อ่านต่อ »

Face Mask, Surgical Mask/Medical Mask, Respirators ตามนิยามสากล

แชร์บทความนี้

ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสการส่วมใส่หน้ากากและการเว้นระยะห่าง กลายเป็นเรื่องพื้นฐานที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

อ่านต่อ »

การป้องกันอันตรายจากการอาร์คในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า(Arc Flash Protection)

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้านั้นหากไม่มีความระมัดระวังหรือไม่ปฏิบัติตาม

อ่านเพิ่มเติม »