ไวรัส “เลย์วี” (LayV) คืออะไร มีความรุนแรง วิธีการแพร่เชื้ออย่างไร

แชร์บทความนี้

จากกรณีที่จีนพบเชื้อไวรัส “เลย์วี” (LayV) แล้ว 35 เคส ซึ่งเป็นการได้รับเชื้อมาจากหนู ซึ่งส่งผลให้โลกออนไลน์มีการพูดถึงกันและกังวลว่าจะซ้ำรอยโควิด-19 หรือไม่นั้น ซึ่ง ณ ขณะนี้ ยังไม่มีหลักฐานแพร่สู่คนได้หรือไม่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้โพสต์ประเด็นเชื้อไวรัส เลย์วี (LayV) โดยได้พูดถึงลักษณะของการแพร่เชื้อ อาการ และความรุนแรงของโรคด้วย

ดร.อนันต์ ระบุว่า “เลย์วี (LayV) ที่พบติดเชื้อในประเทศจีนนั้น ก่อนที่ข่าวจะเริ่มออกมาพร้อมกับข้อมูลที่น่าวิตกกังวล โดยไวรัสตัวใหม่ที่ทางทีมวิจัยในจีนได้ตีพิมพ์ผลงานในวารสาร New England Journal of Medicine ว่า

  1. ชื่อเต็มของไวรัสตัวนี้มีชื่อว่า Langya henipavirus เรียกย่อๆว่า LayV ไวรัสชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม paramyxovirus โดยมีไวรัสที่เรารู้จักกันในกลุ่มนี้ เช่น ไวรัสโรคหัด และ ไวรัสคางทูม ไวรัสกลุ่มนี้มีไวรัสที่ก่อโรครุนแรงมากเช่นกัน เช่น Nipah and Hendra viruses ซึ่งทำให้คนติดเชื้อและเสียชีวิตได้สูง แต่ความรุนแรงดังกล่าวทำให้การแพร่อยู่ในวงจำกัด
  2. ประเทศจีนพบการติดเชื้อไวรัส LayV ในคนครั้งแรกตั้งแต่ปลายปี 2018 แล้ว และพบต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนับได้ 35 เคส และที่สำคัญคือ การระบาดไม่เกิดเป็นกลุ่มก้อนหรือคลัสเตอร์ แต่เป็นแบบกระจัดกระจาย ซึ่งแสดงว่า ไวรัสสามารถติดจากสัตว์สู่คนได้ แต่ไวรัสจะยังไม่สามารถแพร่จากคนสู่คนได้ หรือยังได้ไม่ดี
  3. ไวรัสที่แยกได้จากผู้ป่วย มีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงมากกับไวรัสที่แยกได้จาก Shrew หรือ ที่เราเรียกกันว่า “หนูผี” ทำให้เชื่อว่า หนูน่าจะเป็นสัตว์ตัวกลางที่แพร่เชื้อดังกล่าวมาให้คน แต่อาจเป็นไปได้ว่า สัตว์ชนิดอื่นอาจจะเป็นแหล่งรังโรคของไวรัสนี้ได้เช่นกัน
  4. อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ LayV จะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย โดยบางรายอาจมีการทำงานของตับและไตลดลง ซึ่ง ณ ตอนนี้ยังไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อเสียชีวิต

กล่าวโดยสรุป ไวรัส LayV ติดคนได้จากสัตว์ตัวกลาง โดยยังไม่มีหลักฐานการแพร่จากคนสู่คน อาการไม่รุนแรงมาก และยังไม่มีผู้เสียชีวิต จึงยังไม่ต้องตื่นกลัวแต่อย่างใด

 

ขอขอบคุณข้อมูล

CR ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา และเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

ลงบ่อเกรอะเสียชีวิตได้อย่างไร จะรู้และป้องกันอย่างไร

แชร์บทความนี้

น่าเสียใจที่เราจะได้ข่าวเหตุการณ์ที่มีผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสูญเสียชีวิตขณะทำงานไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตามข่าวล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2020

อ่านต่อ »

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านต่อ »

ลดความอ้วนด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ไม่ต้องพึ่งยา หรือโปรแกรมลดน้ำหนักราคาแพง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้เมื่อพูดถึงการลดน้ำหนัก เดี๋ยวนี้ก็มีหลายโซลูชันให้เลือกปฏิบัติ ทั้

อ่านเพิ่มเติม »