บำรุงสมอง ลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์ด้วย คาร์โนซีน

แชร์บทความนี้

คาร์โนซีน (Carnosine) เป็นหน่วยย่อยของโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนสองชนิดคือ เบต้า-อะลานีน (β-alanine) และแอล-ฮีสทิดีน (L-Histidine) ที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เอง โดยพบที่สมอง กล้ามเนื้อ หัวใจ ผิวหนัง และส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย คาร์โนซีนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านการอักเสบ ช่วยเสริมการทำงานของสมองและความจำ ช่วยชะลอวัย และอาจช่วยป้องกันหรือรักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน อัลไซเมอร์ และมะเร็งอีกด้วย และยังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องเนื้อเยื่อและเซลล์ของร่างกายจากการเสื่อมสภาพที่เกิดจากเอนไซม์และสารออกฤทธิ์อื่น ๆ แต่ร่างกายจะค่อยๆผลิตลดลงตามอายุที่มากขึ้น 

ประโยชน์ของ คาร์โนซีน โดยสรุปมีดังนี้

  • ทำให้สมองยังคงมีประสิทธิภาพ เพิ่มความจำระยะยาว เพิ่มการทำงานของสมองส่วนหน้า
  • ช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทและสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคความจำเสื่อม และโรคพาร์กินสัน ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 
  • คาร์โนซีน ช่วยเพิ่มสมาธิและการจดจ่อ ลดความวิตกกังวล ชะลอปัญหาทางจิตใจ
  • มีคุณสมบัติเป็นบัฟเฟอร์ในระบบกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการออกกำลังกาย
  • มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอความชราของเซลล์ลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ 
  • ป้องกันการเกิดภาวะขาดเลือดสมองและหัวใจ ยังช่วยให้การเต้นของหัวใจดีขึ้น 
  • รักษาป้องกันและชะลอความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 
  • คาร์โนซีนอาจช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด และอาจช่วยกระตุ้นกระบวนการทำลายเซลล์ที่เสื่อมสภาพด้วย

อาหารที่พบคาร์โนซีน

  • อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก ปลาบางชนิด
  • ในกล้ามเนื้อยึดกระดูก หรือ กล้ามเนื้อลายของหมู (skeletal muscle)
  • อาหารเสริมในรูปแบบต่าง ๆ
  • ผลิตภัณฑ์ซุปไก่สกัดเข้มข้นที่มีสารคาร์โนซีน ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีวัตถุกันเสีย ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล ไขมัน และคอเลสเตอรอล

หน้าที่ของสมองส่วนต่างๆ

จะเห็นได้ว่าคาร์โนซีนมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก ซึ่งจะปลอดภัยเมื่อได้รับจากอาหารธรรมชาติเช่นเนื้อสัตว์ต่างๆ ตามที่ที่ได้กล่าวไว้ แต่สำหรับท่านที่คิดจะทานเพื่อให้ได้รับคาร์โนซีนจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ จะต้องพึงระวังและควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพราะการรับประทานเกินปริมาณจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และสำหรับท่านที่เป็นเบาหวาน, ความดัน, ผู้ที่ตั้งครรภ์ และผู้ที่รับประทานยารักษาโรคหัวใจ, โรคเกี่ยวกับไต และเกาน์ ก็ควรรับประทานภายใต้คำแนะนำจากแพทย์ก่อนเช่นกัน

ตะคริว เกิดจากอะไร บริเวณที่มักเกิดตะคริว วิธีแก้การเป็นตะคริว ทำอย่างไรดี ?

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้“ตะคริว คือ “อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ” ที่ทำให้กล้ามเนื้อปวดและเป็

อ่านเพิ่มเติม »

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านเพิ่มเติม »