หน้ากากกันฝุ่น PM2.5 และกันไวรัส แบบไหนหายใจสะดวก แบบไหนปกป้องได้ดี

แชร์บทความนี้

เชื่อว่าตอนนี้ในหลายๆพื้นที่ในประเทศไทยเริ่มมีอุณหภูมิที่ต่ำลง อากาศเปลี่ยนแปลงเริ่มเข้าสู่ช่วง ปลายฝนต้นหนาว ทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ pm2.5 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายๆพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ทางภาคเหนือของไทย ซึ่งตอนนี้หน้ากากกันฝุ่นและกันไวรัส มีมากมายหลายแบบให้เลือก เราจะมาแนะนำกันครับ ว่าเลือกแบบไหนใส่ได้หายใจสะดวก และป้องกันได้ดีเหมาะกับเรามากที่สุด มาช่วยให้เลือกได้ง่ายๆกันครับ

ตารางแนะนำเลือกใช้หน้ากาก

ประเภทหน้ากาก
รูปตัวอย่างประกอบ
ข้อดี
ข้อเสีย
ประสิทธิภาพการกันไวรัส
ประสิทธิภาพการกัน PM2.5
หน้ากากอนามัยแบบ แผ่น Dust Pleat Mask
( น้อยกว่า 3 ชั้น )
Dust Pleat Mask 
1.ราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับ หน้ากากแบบอื่นๆ
2.หาซื้อได้ง่าย
1.ประสิทธิภาพกันฝุ่นต่ำ กันได้แต่อนุภาค ขนาดใหญ่
2.ไม่แนบกระชับหน้า มีช่องให้ฝุ่นหรือเชื้อโรคเข้าได้
20% - 60% ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบ เทียบกับใบหน้าผู้ใช้
น้อยกว่า 20%
หน้ากากอนามัยแบบเเผ่น Surgical Pleat Mask
( มากกว่า 3 ชั้น )
1.ราคาถูก
2.หาซื้อได้ง่าย
3.แผ่นกรองผ่านการรับรองมาตรฐาน Bacterial Filer Efficeincy ( BFE ),Particle Filtration Efficiency ( PFE ),
1.ไม่แนบกระชับหน้า มีช่องให้ฝุ่นหรือเชื้อโรคเข้าได้
60% - 80% ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบหน้ากากเทียบกับหน้าผู้ใช้
30% - 60% ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบหน้ากากเทียบกับหน้าผู้ใช้
หน้ากากผ้า


1.ราคาถูก
1.ประสิทธิภาพกันฝุ่นต่ำ กันได้แต่อนุภาค ขนาดใหญ่
2.ไม่แนบกระชับหน้า มีช่องให้ฝุ่นหรือเชื้อโรคเข้าได้
3.ซึมน้ำได้เร็ว
น้อยกว่า 30%
น้อยกว่า 10%
หน้ากากกันฝุ่น วัสดุฟองน้ำ
1.รูปทรงสวย ใส่กระซับในหน้า
2.น้ำหนักเบา
1.ประสิทธิภาพกันฝุ่นต่ำ กันได้แต่อนุภาค ขนาดใหญ่
2.ราคาแพง
น้อยกว่า 30%
น้อยกว่า 10%
หน้ากากกันฝุ่น 2D วัสดุ PP ( Polypropylyne )
1.รูปทรงสไตล์เกาหลี
2.ราคาถูกกว่ารูปทรงเดียวกัน ที่มีมาตรฐานรับรอง
1.ประสิทธิภาพการป้องกันฝุ่นปานกลาง ขึ้นอยู่กับ รูปทรงของใบหน้าที่รับกับทรงของหน้ากาก
60% - 80% ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบหน้ากากเทียบกับหน้าผู้ใช้
40% - 70% ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบหน้ากากเทียบกับหน้าผู้ใช้
หน้ากากกันฝุ่นขึ้นรูป วัสดุ PP ( Polypropylyne )
แบบ 3 ชั้น ขึ้นไป
1.รูปทรง ใส่สบาย หายใจสะดวก
2.ราคาถูกกว่ารูปทรงเดียวกัน ที่มีมาตรฐานรับรอง
1.ไม่ผ่านการรับรอง
2.อาจจะเกิดการระคายเคือง กับผิวหน้าได้ง่าย
80% - 90% ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบหน้ากากเทียบกับหน้าผู้ใช้
60% - 80% ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบหน้ากากเทียบกับหน้าผู้ใช้
หน้ากากกันฝุ่น
มาตรฐาน N90/FFP1/KN90/KF80


1.ประสิทธิภาพกันฝุ่นขนาดเล็กได้
2.หายใจสะดวกกว่า N95
3.ผ่านการรับรองมาตรฐาน
1.ราคาค่อนข้างสูง
2.ประสิทธิภาพการกันฝุ่น ด้อยกว่า N95 ในขณะที่ราคาใกล้เคียงกัน
เฉลี่ย 80%
เฉลี่ย 80%
หน้ากากกันฝุ่น
มาตรฐาน N95/FFP2/KN95/KF94
 
1.ประสิทธิภาพกันฝุ่นขนาดเล็กได้
2.ผ่านการรับรองมาตรฐาน
3.รูปทรง หายใจสะดวก
4.รุ่นของ KF94 มีมาตรฐานการระคายเคืองต่อ ผิวหน้า
5.รุ่น KF94 เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน
1.ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับหน้ากากรุ่นอื่นๆ
2.มาตรฐาน N95 ส่วนใหญ่จะหายใจลำบาก
3.รูปทรงแนบกระชับกับใบหน้า ทำให้รู้สึกใส่ได้ไม่นาน
เฉลี่ย 95%
เฉลี่ย 95%
หน้ากากแบบใช้ไส้กรอง P100
1.ประสิทธิภาพกันฝุ่นขนาดละเอียดได้ดี
2.ผ่านการรับรองมาตรฐาน
3.ใช้ได้นาน
1.ราคาค่อนข้างสูง
2.ต้องมีการดูแลรักษาทำความสะอาด
เฉลี่ย 99%
เฉลี่ย 99%

 

 

ความเสี่ยงจากความหนาแน่นของฝุ่นและเชื้อโรคในอากาศ

สภาพแวดล้อมนั้นแตกต่างกัน มีความเสี่ยงของการมีการแพร่ของฝุ่นและเชื้อโรคมากน้อยเพียงไร อาทิ หากบริเวณที่ใกล้จุดกำเนิด หรือในบริเวณที่แคบ ความเข้มข้นของฝุ่นและเชื้อโรคในอากาศก็จะมาก การเลือกหน้ากากก็ควรจะเลือกหน้ากากที่มีอัตราการรั่วต่ำ หรือมีค่า Average Protection Factor (APF)* สูง

 

หากท่านใด สงสัยเกี่ยวกับการเลือกหน้ากากไปใช้งานให้ละเอียดกว่านี้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มได้ที่

หมวดความรู้เกี่ยวกับ อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ (Respirator) คลิกเลย !!

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

www.cdc.gov/niosh/npptl/pdfs/UnderstandingDifference3-508.pdf

www.cdc.gov/niosh/npptl/RespiratorInfographics.html

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน มาตรฐาน NFPA 1981/1982 :2018

แชร์บทความนี้

อย่างที่ทราบกันสำหรับ มาตรฐาน NFPA 1981/1982 ฉบับปีล่าสุด 2018 ที่ถือได้ว่าเข้มงวดและมีการปรับปรุงมาตรฐานทุกๆ 5 ปี โดยในแวดวงของผู้พัฒนา

อ่านต่อ »

ตู้จัดเก็บสารเคมีไวไฟ Flammable Storage Cabinet Requirements

แชร์บทความนี้

พื้นฐานในการป้องกันไฟอีกอย่างหนึ่งคือการใช้ ตู้จัดเก็บสารไวไฟ NFPA, OSHA และ UFC ได้กำหนดให้ ตู้จัดเก็บสารไวไฟได้รับการออกแบบและสร้าง….

อ่านต่อ »