ติดโควิด รอบ2 อันตรายไหม อาการจะรุนแรงไหม และทำไมจึงติดซ้ำ

แชร์บทความนี้

ติดโควิดซ้ำรอบ 2 หรือมากกว่า ซึ่ทำให้ใครหลายคนเริ่มกังวล ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร เป็นซ้ำๆแล้ว อาการจะรุนแรงมากกว่าครั้งแรกหรือไม่

ติดโควิดซ้ำ

การติดโควิดซ้ำ ซึ่งสถานะการณ์ในปัจจุบันมีการเกินขึ้นบ่อย จึงทำให้เริ่มมีการกลับมาตั้งคำถามขึ้นบ่อยครั้ง หลังจากที่มีข่าวนักการเมืองรายหนึ่งติดโควิดซ้ำ 2 ครั้ง ในระยะเวลาเพียง 1 เดือน โดยเฉพาะสายพันธุ์ “โอไมครอน” หรือ “โอมิครอน” (Omicron) ที่มีการติดได้ง่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีคำแนะนำ “ติดโควิดซ้ำ” หมายถึงอะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร

การ ติดเชื้อโควิดซ้ำ หมายถึง ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อแล้ว แต่ต่อมาติดเชื้อซ้ำ ซึ่งส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง โดยเฉพาะสำหรับโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ได้มีการพบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการติดเชื้อซ้ำ โดยพบผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อซ้ำภายใน 1-2 เดือนแรกหลังจากที่ได้รับเชื้อมา โดยวิธีในการพิสูจน์การติดเชื้อซ้ำ ดูได้จากค่า CT (Cycle threshold) หรือ ค่าการเพิ่มของสารพันธุกรรมไวรัสโควิด จากการตรวจ RT-PCR พบว่า มีค่าลดลง และมีอาการขึ้นมาใหม่ จากเดิมที่ผู้ป่วยไม่มีไข้ กลับมามีไข้สูงอีกครั้ง โดยจากการศึกษาข้อมูลทั่วโลกพบว่า มีการติดเชื้อซ้ำได้ภายใน 1-2 เดือนแรก มากถึง 10-20%

 

สาเหตุการติดเชื้อซ้ำนั้นมักเกิดในช่วงที่ภูมิคุ้มกันต่ำเช่นตอนป่วย ผู้ที่มีมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่างกายอ่อนแอ หรือในคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ได้รับวัคซีนไม่ครบ หรือรับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานกว่า 6 เดือน โดยเชื้อที่มีการระบาดในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อเดิม ทำให้มีอากาศเสี่ยงมากขึ้น โดยสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ผู้ที่ลดมาตรการป้องกันตัวและมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นการไม่ใส่หน้ากาก หรือการละเว้นการใช้มาตรการ Social Prevention อย่างเคร่งครัด

 

ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุว่า การ ติดโควิดซ้ำรอบ ที่ต่างสายพันธุ์กันสามารถติดเชื้อซ้ำได้ เช่น คนที่หายจากโควิดสายพันธุ์เดลตา ก็สามารถติดสายพันธุ์โอไมครอนซ้ำได้เช่นกัน

 

อาการรุนแรงกว่าการติดเชื้อครั้งแรกหรือไม่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ระบุว่า การติดเชื้อครั้งซ้ำหรือครั้งที่ 2 อาการจะลดลงกว่าการติดเชื้อครั้งแรก การติดเชื้อครั้งที่ 3 และ 4 ต่อไป อีกอาการจะยิ่งลดลง ยกตัวอย่างเช่นเดียวกับ RSV ที่เป็นครั้งแรก อาการจะมากที่สุด และครั้งต่อๆไปอาการจะลดลง เมื่อเด็กยิ่งโตขึ้น การติดเชื้อจะเป็นแบบไม่มีอาการ

คณะนักวิจัยในกาตาร์ศึกษาเปรียบเทียบประชาชน 1,304 คนที่ติดโควิด-19 รอบที่ 2 กับประชาชน 6,520 คนที่ติดโควิดเป็นครั้งแรก พบว่าคนที่ติดซ้ำ 90% โอกาสเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรก และกลุ่มที่ติดเชื้อครั้งที่ 2 ไม่มีใครต้องเข้าไอซียูหรือเสียชีวิตจากโควิด-19 เลย

 

ขณะที่ “หมอเฉลิมชัย” น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข บอกเหตุผลว่า ทำไมผู้ที่หายจากการติดเชื้อโควิดเพียง 1 เดือน จึงเกิดติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ได้ มีความเป็นไปได้จากเหตุผล ดังนี้ 

 

ถ้าการติดเชื้อโควิด ครั้งที่ 1 มีปริมาณเชื้อน้อย และอาการไม่รุนแรง อาจจะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่สูงนักในร่างกาย เมื่อไปสัมผัสเสี่ยงกับผู้ที่มีปริมาณเชื้อไวรัสมาก จึงอาจเกิดติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว ระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อในครั้งแรกควรจะสามารถป้องกันได้อย่างน้อย 3-6 เดือน

หรือในการติดเชื้อครั้งที่ 2 อาจเกิดจากเป็นไวรัสคนละสายพันธุ์กัน เช่น ติดเชื้อครั้งที่ 1 ติดเชื้อ โอไมครอน เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.1 ต่อมาติดสายพันธุ์ย่อยที่สอง คือ BA.2 ซึ่งจะทำให้ภูมิคุ้มกันจากสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่ง ไม่สามารถทำหน้าที่ป้องกันได้เต็มที่นัก

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เพิ่งหายป่วยจากการติดเชื้อแล้ว ไม่ควรประมาท เพราะมีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ได้ หรือครั้งต่อๆไป ได้โดยอาจทิ้งระยะห่างน้อยกว่าที่เคยเชื่อกัน (3-6 เดือน) ดังนั้นการป้องกันตนเอง การมีวินัย ไม่ประมาท ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ในสถานที่หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดหรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ตลอดจนฉีดวัคซีนเมื่อถึงกำหนดเวลา ยังคงเป็นมาตรการที่สำคัญ รวมถึงการได้รับวัคซีน จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยพบว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับเข็มที่ 3 หรือ เข็มที่ 4 จะสามารถช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากโควิดได้ 2-3 เท่า (อ้างอิงข้อมูลจาก: วารสารทางการแพทย์นิว อิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซิน, ประเทศอิสราเอล)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร

แชร์บทความนี้

Surgical Mask VS N95 แตกต่างอย่างไร ใช้อย่างไร ในความเป็นจริงแล้ววัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ถูกแบ่งแยกเอาไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้เกิด

อ่านเพิ่มเติม »