การดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ต้องทำอย่างไรบ้าง

แชร์บทความนี้

ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ และต้องใส่ใจมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป นั่นก็เพราะว่า ผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียงจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในหลาย ๆ อย่าง เราเลยจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถหายและกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติให้ได้มากที่สุด และนอกจากการดูแลเรื่องสุขภาพกายแล้ว สุขภาพใจเองก็สำคัญไม่แพ้กัน

 

การดูแลสุขภาพกายที่ต้องใส่ใจ

เพราะสาเหตุของการป่วยของผู้ป่วยติดเตียงก็คือ สุขภาพกาย นี่คือสาเหตุว่าทำไมการดูแลผู้ป่วยที่ต้องนั่งหรือนอนติดเตียงจะต้องเริ่มต้นที่การดูแลสุขภาพกายก่อน และต่อไปนี้ก็คือเรื่องสำคัญในการดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

  1. อาหารการกินที่จัดตามคำแนะนำ แม้จะเป็นผู้ป่วยที่ต้องอยู่ติดเตียงเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นเรื่องโภชนาการของผู้ป่วยจะไม่เหมือนกัน นอกจากจะต้องจัดอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว ก็อาจต้องมีการเน้นอาหารบางประเภทเป็นพิเศษด้วย ตรงนี้สามารถขอคำแนะนำจากแพทย์เจ้าของไข้ได้ ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นอาหารที่ย่อยง่าย มีโปรตีนที่เพียงพอ และอิ่มนาน
  2. ความสะอาดของ ร่างกายและสภาพแวดล้อม

ผู้ป่วยติดเตียงส่วนมากจะไม่สามารถดูแลเรื่องความสะอาดของตัวเองได้ ทั้งในเรื่องของการอาบน้ำและการขับถ่าย เราเองจึงต้องหมั่นดูแลเรื่องนี้ให้มากเป็นพิเศษ นอกจากการอาบน้ำให้แล้ว ก็ต้องหมั่นเช็ดตัว และพลิกตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ และหาผ้าอ้อมใส่ไว้เพื่อรองรับการขับถ่ายทั้งเบาและหนัก ซึ่งจะช่วยให้สุขภาวะของผู้ป่วยดีขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนก็จะลดลง

 

การดูแลสุขภาพใจของผู้ป่วยที่ห้ามละเลย

กำลังใจหรือสุขภาพใจที่ดี คืออีกปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความสุขและสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของผู้ป่วยติดเตียงด้วย และนี่คือวิธีการดูแลสุขภาพใจของผู้ป่วยที่ผู้ดูแลไม่ควรมองข้าม

  1. ต้องมีคนคอยดูแลอยู่ข้าง ๆ เสมอ

พยายามอย่าปล่อยให้ผู้ป่วยติดเตียงต้องใช้ชีวิตอยู่คนเดียวนาน ๆ เพราะความเหงาจะส่งผลทางลบต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยโดยตรง อาจมีบ้างที่ผู้ดูแลจะต้องลุกไปทำภารกิจหน้าที่ของตัวเอง แต่อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยนอนเฉาคนเดียวโดยไม่มีคนอยู่ข้าง ๆ นานเป็นวัน เพราะนั่นจะทำให้สุขภาพใจของผู้ป่วยแย่ลงเรื่อย ๆ ได้

  1. กิจกรรมระหว่างวัน
    ใครว่าคนนอนติดเตียงจะไม่สามารถทำอะไรได้ สำหรับคนที่จำเป็นต้องนอนรักษาตัว แต่ยังสามารถรับรู้ สื่อสาร และทำอะไรบางอย่างด้วยตัวเองได้บ้าง เราไม่ควรจะปล่อยให้ผู้ป่วยนอนอยู่เฉย ๆ ควรจะหากิจกรรมที่เหมาะสมให้ได้ทำบ้าง เช่น การดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ การทำงานศิลปะ และการพูดคุยในประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยสนใจ กิจกรรมเหล่านี้นอกจะช่วยแก้เบื่อได้แล้ว ก็ยังช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และมีอะไรที่ต้องคิดต้องทำ ไม่ใช่แค่นอนอยู่บนเตียงเฉย ๆ ปล่อยให้เวลาผ่านไปเพียงอย่างเดียว

 

ถ้าหากเราสามารถดูแลทั้งสุขภาพใจและสุขภาพกายของผู้ป่วยติดเตียงได้ดี ก็จะยิ่งช่วยให้อาการป่วยทุเลาลง และสามารถกลับมามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ พร้อมกับความสุขในใจ ที่ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงมีกำลังใจ และพร้อมสู้กับอาการป่วยได้มากขึ้นด้วย

แว่นตานิรภัย Polarized คืออะไร

แชร์บทความนี้

แว่นตานิรภัย Polarized เป็นแว่นตาสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกลางแจ้งซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดแสงจ้า และแสงสะท้อนได้ดีกว่าแว่นกันแดดปกติทั่วไป

อ่านต่อ »