หาข้อมูล เตรียมตัวลงทะเบียนขอรับสิทธิ Digital Wallet ให้พร้อมก่อนใคร เช็คเงื่อนไข ด่วน

แชร์บทความนี้

 

คุณสมบัติและข้อกำหนดในการเข้าร่วมโครงการ

  1. เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. สัญชาติไทย
  3. มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน
  4. ไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566 โดยกรมสรรพากร ประมวลผลข้อมูล ผู้มีรายได้ 7 วันก่อนเปิดลงทะเบียนโครงการ
  5. เงินฝาก

    ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 รวมกันเกิน 500,000 บาท โดยเป็นการตรวจสอบเงินฝาก จำนวน 6 ประเภท ได้แก่

    1. เงินฝากกระแสรายวัน
    2. เงินฝากออมทรัพย์
    3. เงินฝากประจำ
    4. บัตรเงินฝาก
    5. ใบรับฝากเงิน
    6. ผลิตภัณฑ์เงินฝากในชื่อเรียกอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันกับข้อ 1 – 5

โดยเงินฝากให้หมายถึง เฉพาะเงินฝากที่อยู่ในรูปแบบสกุลเงินบาทเท่านั้น และไม่รวมถึงเงินฝากในบัญชีร่วม

ต้องไม่เป็น

  1. ผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกในเรือนจำ
  2. ผู้ที่ถูกระงับสิทธิหรือถูกเรียกเงินคืนในมาตรการ/โครงการอื่นๆ ของรัฐ
  3. ผู้ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการ/โครงการอื่นๆ ของรัฐ

 

ขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมโครงการ Digital Wallet จากเว็บไซต์มีดังนี้

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” จาก App Store หรือ Google Play
  2. สมัครสมาชิกโดยใช้บัตรประชาชน
  3. สแกนบัตรประชาชนและใบหน้าตามคำแนะนำในแอป
  4. ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลและยืนยันความถูกต้อง
  5. ตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน
  6. ตั้งค่า PIN Code และเปิดใช้งานการสแกนใบหน้าหรือสแกนลายนิ้วมือ

หรือหากอยากดูขั้นตอนอย่างละเอียดได้ที่ www.digitalwallet.go.th

เริ่มลงทะเบียนรับสิทธิโครงการได้เมื่อไหร่

  1. สมัครใช้งานแอปพลิเคชั่น “ ทางรัฐ” ผ่านสมาร์ตโฟนได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
  2. ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการฯ สำหรับผู้ที่มีสมาร์ตโฟน โดยเปิดลงทะเบียน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2567 – 15 กันยายน 2567

ผู้ดำเนินโครงการขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลต่อไปนี้

  1. เลขบัตรประชาชน
  2. ชื่อ
  3. นามสกุล
  4. วัน/เดือน/ปี เกิด
  5. เบอร์โทรศัพท์มือถือ

เงินดิจิตอล ซื้ออะไรได้บ้าง?

  1. สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ เป็นต้น
  2. เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรส เป็นต้น
  3. ยารักษาโรค เช่น ยาแก้ไข ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น
  4. ธูปเทียนและเครื่องสักการะ ชุดถวายสังฆทาน เป็นต้น
  5. สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เป็นต้น
  6. สินค้าวัตถุดิบเพื่อการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น
  7. สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผักสด ผลไม้ อาหารสด เครื่องจักสาน เป็นต้น

สินค้าประเภทไหนที่ใช้ เงินดิจิตอล 10,000 บาท ซื้อไม่ได้?

  1. สลากกินแบ่งรัฐบาล
  2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  3. ยาสูบ
  4. กัญชา
  5. กระท่อม
  6. พืชกระท่อม
  7. ผลิตภัณฑ์กัญชา-กระท่อม
  8. บัตรกำนัล
  9. บัตรเงินสด
  10. ทองคำ
  11. เพชร
  12. พลอย
  13. อัญมณี
  14. น้ำมันเชื้อเพลิง
  15. ก๊าซธรรมชาติ
  16. ร้านทำผม
  17. ร้านนวด
  18. ร้านเสริมสวย

ระมัดระวังในช่วงนี้ อาจมีผู้ไม่หวังดี ที่ให้กดลิ้งค์ที่ไม่ใช่ของโครงการรัฐ เช็คแหล่งที่มาของข้อมูลให้น่าเชื่อถือจากทางรัฐบาล หรือสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ

www.digitalwallet.go.th หรือ แอปพลิเคชั่น “ ทางรัฐ” เท่านั้น

สอบถามรายละเอียดและเช็คข้อมูลได้ที่ สายด่วนโทร 1111

แว่นตานิรภัย Polarized คืออะไร

แชร์บทความนี้

แว่นตานิรภัย Polarized เป็นแว่นตาสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกลางแจ้งซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดแสงจ้า และแสงสะท้อนได้ดีกว่าแว่นกันแดดปกติทั่วไป

อ่านเพิ่มเติม »