การเลือกเครื่องวัดแก๊ส สำหรับงานพื้นที่อับอากาศ

แชร์บทความนี้

เครื่องวัดแก๊สสำหรับงานพื้นที่อับอากาศ  (Confined Space)

เครื่องวัดแก๊สสำหรับงานพื้นที่อับอากาศ (Confined Space) กับเครื่องวัดแก๊สที่ในงานทั่วไปนั้น มีข้อแตกต่างที่ต้องพิจารณาอย่างไร ในบทความนี้เราจะมาดูถึงความแตกต่างว่ามีจุดไหนอย่างไร ในการพิจารณาเลือกเครื่องวัดแก๊สสำหรับพื้นที่อับอากาศ (Confined Space)ได้อย่างรัดกุมและปลอดภัย

หากพิจารณาในเชิงของหลักวิศวกรรมแล้วคงไม่ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ สำหรับเครื่องวัดแก๊สทั่วไปผู้ใช้งานสามารถที่จะระบุเป้าหมาย และแยกระบบการวัดได้อย่างชัดเจนตรงตามแก๊สที่เราจะตรวจวัด แต่สำหรับงานพื้นที่อับอากาศแล้วในบางครั้งเราไม่สามารถทราบได้อย่างชัดเจน

 หัวใจสำคัญของการเลือกเครื่องวัดแก๊สสำหรับงานพื้นที่อับอากาศ  (Confined Space)จะอยู่ที่การเลือกชนิด รูปแบบ และความสามารถของตัวเครื่องที่ครอบคลุม ในการที่จะสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยอย่างสูงสุด

หากสรุปหัวข้อที่จะช่วยให้เราสามารถพิจารณาได้อย่างรัดกุมแล้วหลักๆจะมีข้อพิจารณาดังนี้

1.ความครอบคลุมของหัว Sensor ในการตรวจวัดบรรยากาศอันตราย

 ในการประเมินบรรยากาศอันตรายตามที่กฎกระทรวงปี 2562 ในเรื่องของการบริหารจัดการความปลอดภัยสำหรับการตรวจประเมินก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ จะต้องตรวจสอบและคำนึงถึงปริมาณออกซิเจน (O2), แก๊สติดไฟ (LEL), แก๊สพิษ (Toxic) โดยแก๊สพิษส่วนใหญ่ที่จะพบได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ไฮรโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)   ที่กล่าวมาเป็น 4 แก๊สพื้นฐานที่พบบ่อย และควรมีไว้ในการตรวจวัดเป็นอย่างน้อย หากสามารถรวมกันอยู่ในอุปกรณ์ตัวเดียวกันได้จะทำให้การทำงานมีความสะดวกสบายขึ้น

2.ความสามารถในการป้องกันการก่อให้เกิดประกายไฟ

 เนื่องจากตัวอุปกรณ์เองเป็นอุปกรณ์อีเล็คทรอนิกส์ อาจก่อให้เกิดประกายไฟ หากพื้นที่หน้างานมีไอระเหยของเชื้อเพลิง หรือสารเคมีที่มีความเสี่ยงในการระเบิดหรือติดไฟได้  ดังนั้นควรเลือกตัวอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานในการกันการระเบิดจากประกายไฟ ส่วนจะสามารถกันได้ในระดับใด โซนใดบ้างนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของอุปกรณ์ซึ่งแตกต่างตามยี่ห้อและราคา และการเลือกซื้อตามแต่ละประเภทของงานที่จะนำไปใช้

 

3.ระบบการแจ้งเตือน และร้องขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน

ฟังก์ชั่นการทำงานระบบนี้หากผู้ปฏิบัติงานประสบเหตุอันไม่พีงประสงค์ สามารถส่งเสียงที่มีความดังเพียงพอ หรือมีระบบสื่อสารระยะไกล เพื่อร้องขอความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างานได้ หรือในบางกรณี ที่ผู้ปฏิบัติงานหมดสติ ตัวอุปกรณ์ควรสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวและแจ้งเตือนได้

 

4.อุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มความสามารถ และความปลอดภัย

ในบางสถานที่ตัวอุปกรณ์ไม่สามารถนำเข้าไปตรวจสอบในหน้างานได้ เนื่องจากความเสี่ยงสูง จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์เสริม จำพวกปั้มภายนอกและสายต่อพ่วง เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและตัวอุปกรณ์ 

5.การสอบเทียบ และการแจ้งเตือน 

การสอบเทียบเครื่องวัดแก๊สมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ควรใช้เครื่องที่ขาดการบำรุง หรือเสียหาย เข้าในสถานที่อับอากาศ เพราะอาจให้การอ่านค่าผิด เป็นผลให้ผุ้เข้าปฎิบัติงานเป็นอันตรายได้ โดยทั่วไปเราสามารถทำการสอบเทียบได้เอง หากมีเครื่องมือและก๊าซสำหรับสอบเทียบและปฎิบัติตามคู่มือการใช้งาน หรือหากไม่สะดวก ก็สามารถติดต่อส่งผู้ให้บริการเพื่อสอบเทียบได้ ซึ่งจะช่วยเราประหยัดค่าอุปกรณ์ที่ใช้ทำการสอบเทียบเอง และหากผู้ให้บริการมีระบบแจ้งเตือนการสอบเทียบหรือช่วยเก็บประวัติให้จะช่วยให้เราสะดวกมากขึ้นและป้องกันการลืมสอบเทียบอุปกรณ์

 

สนใจดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pholonline.com

มาตรฐานการจัดเก็บสารเคมีไวไฟ 29 CFR 1910.106

แชร์บทความนี้

จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม การใช้สารเคมีที่ไม่มีส่วนประกอบของน้ำได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นนี้จึงทำให้มีโอกาสในการเกิดอันตรายเกี่ยวกับสารเคมี

อ่านต่อ »