เมื่อสมองเสื่อมไม่เท่ากับอัลไซเมอร์ แต่อัลไซเมอร์ทำให้สมองเสื่อม

แชร์บทความนี้

เมื่อพูดถึงอาการสมองเสื่อม ยิ่งถ้าเป็นในกลุ่มผู้สูงอายุ เราก็มักจะพูดกันติดปากว่าเป็นผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อันที่จริงแล้วความเข้าใจนี้ไม่ได้ผิด แต่ก็ไม่ได้ถูกซะทีเดียว เพราะตามหลักทางการแพทย์ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ที่ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์เสมอไป และคนสูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์เสมอไป

แยกอย่างไร ใครสมองเสื่อม ใครเป็นอัลไซเมอร์

อย่างที่กล่าวไปว่า คนสมองเสื่อมอาจจะไม่ได้เป็นอัลไซเมอร์ แต่ถ้าพูดต่อว่า คนที่เป็นอัลไซเมอร์ก็คือคนที่จะต้องเจอกับภาวะสมองเสื่อม ก็อาจจะทำให้กระจ่างขึ้นได้ เพราะจริง ๆ แล้วสมองเสื่อมเป็นภาวะความผิดปกติของร่างกายที่มีสาเหตุได้หลายอย่าง และอัลไซเมอร์ก็จัดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดภาวะสมองเสื่อมนั่นเอง

ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร

สมองเสื่อมไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะความผิดปกติของสมองอันเนื่องมาจากสมองกระทบกระเทือน หรือกลุ่มอาการผิดปกติที่เป็นผลมาจากการเสื่อมของสมองหลายส่วน ซึ่งมักพบได้ในผู้สูงอายุ ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจะมีปัญหาเรื่องความทรงจำ สติปัญญาลดลง รวมถึงมีอารมณ์แปรปรวนง่าย ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะสมองเสื่อมนี้อาจจะแบ่งได้เป็น สาเหตุที่สามารถรักษาให้หายได้ อาการสมองเสื่อมจะดีขึ้น เช่น การติดเชื้อในสมอง หรือมีเนื้องอกในสมอง หลอดเลือดสมองตีบ ขาดวิตามิน ขาดฮอร์โมน ฯลฯ

แต่โชคร้ายที่ก็มีอีกกลุ่มสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมแบบที่รักษาไม่ได้ ตัวอย่างเช่น การได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่สมอง โรคพาร์กินสัน หลอดเลือดในสมองตีบ รวมถึงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วย

โรคอัลไซเมอร์คืออะไร

โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการที่มีโปรตีนในสมองชนิดชื่อว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) เป็นโปรตีนชนิดไม่ละลายน้ำ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นและไปจับกับเซลล์สมองทำให้สมองมีการทำงานลดน้อยลง จนส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง ซึ่งจะมีผลต่อความทรงจำโดยตรง โดยเริ่มจากความทรงจำระยะสั้นก่อน และจะลุกลามไปจนถึงสมองส่วนที่เป็นการเรียนรู้ รวมถึงส่วนที่เป็นส่วนพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนลึกในสมอง อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาศที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ รวมทั้งผู้ที่เคยมีประวัติได้รับการบาดเจ็บทางสมองอย่างรุนแรง ผู้ที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรม หรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มาก่อน

อาการของโรคอัลไซเมอร์นั้นสามารถจัดได้เป็นลำดับขั้น 

ระยะแรกเริ่ม อาจเป็นแค่การหลงลืมวันเดือนปี ชอบถามซ้ำ สับสนเรื่องทิศทาง มีความเครียด หรือมีอาการเศร้าหมอง 

ระยะที่สอง อาการต่างๆจะชัดเจนขึ้น นอกจากความหลงลืมที่เพิ่มมากขึ้น พบว่าส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแบบชัดเจน เช่นปกติเป็นคนใจเย็น กลับเป็นคนที่มีอาการฉุนเฉียวง่าย พูดคำหยาบ ก้าวร้าว และจะเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันเช่นใช้รีโมท หรือโทรศัพท์มือถือของตัวเองไม่ได้ จำไม่ได้ว่าทานข้าวไปแล้วหรือยัง และอาจจะมีอาการเหมือไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริงเช่น กลัวคนมาทำร้าย หรือกลัวคนมาขโมยของ หรือคิดว่าคู่ชีวิตจะนอกใจ

 และเมื่อพัฒนาถึงระยะที่สามซึ่งเป็นระยะท้ายสุด ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงสุขภาพทรุดโทรม ทานอาหารได้น้อยลง เคลื่อนไหวตัวน้อยลง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่พูดจา อาจแย่ถึงขั้นกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง และโดยมากจะเสียชีวิตจากการติดเชื้อที่เกิดจากภูมิคุ้มกันลดต่ำลงมาก

สรุปได้ว่า ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์เสมอไป เพราะอัลไซเมอร์มีสถานะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อมแบบรักษาไม่ได้ ดังนั้นหากพบว่าคนใกล้ชิดมีอาการขี้หลงขี้ลืม หรือมีอาการต่างๆ ตามข้อมูลข้างต้นควรพาเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับการประเมินเบื้องต้นว่า เป็นแค่การหลงลืมตามวัย สมองเสื่อม หรือเป็นอัลไซเมอร์กันแน่

จุดยึดสำหรับการทำงานใน สถานที่อับอากาศ

แชร์บทความนี้

หนึ่งในการวางแผนสำหรับการทำงานใน สถานที่อับอากาศ นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือแผนการช่วยเหลือฉุกเฉินในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดอุบัติเหตุ

อ่านต่อ »

The New ANSI Z87.1-2003

แชร์บทความนี้

จากการที่มาตรฐานใหม่ ANSI Z87.1-2003 ได้รับการอนุมัติ หลังจากคณะกรรมการ ANSI

อ่านต่อ »

สารเคมีรั่วไหล ปฏิบัติตัวยังไงให้ปลอดภัย และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ปัญหาสารเคมีรั่วไหล ยังคงเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความอันตรายทั้งต่อผู้

อ่านเพิ่มเติม »