เทียบไซส์รองเท้า EUR,US,UK,JP แชร์ทริกซื้อรองเท้าใหม่อย่างไรให้ถูกไซส์แบบ เป๊ะๆ

แชร์บทความนี้

หลายคนคงเจอกับปัญหานี้บ่อยๆ เรื่องของการวัดไซส์ของรองเท้า และเลือกไซส์เดิมทีไรไม่เคยพอดีกับเท้าสักที วันนี้มา แชร์ทริกซื้อรองเท้าใหม่อย่างไรให้ถูกไซส์แบบ เป๊ะๆ กันครับ

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนนะครับว่าเท้าของคุณ ขนาดความกว้างและความยาวเท่าไหร่ วิธีการก็คือ วัดขนาด Size รองเท้าด้วยตนเอง

  1. วัดขนาดเท้าด้วยกระดาษเปล่า โดยการนำเท้าไปเหยียบบนกระดาษและวาดกรอบรูปเท้าตามขนาดจริงวัดไซส์เท้า
  2. เมื่อได้รูปเท้าของตัวเองมาแล้ว ให้เราตีเส้นสมมุติตามรูปตัวอย่างข้างต้น แล้ววัดความยาว (length) และความกว้างของเท้า (width) ทั้งจากข้างซ้ายและข้างขวา จากนั้นจดบันทึกไว้แบบเป็น เซ็นติเมตร (Centimetre)
  3. หักลบ ความคลาดเคลื่อนจากหัวปากกา ตอนลากเส้นรอบเท้า 3 / 16 นิ้ว หรือ  ( ~0.476 cm.)
  4. เมื่อได้ค่า แล้วสามารถเทียบได้ตามตารางดังนี้ กับหน่วยวัดของ JP เป็น cm. ตามตารางด้านล่างนี้ได้ครับ

 

Men’s Shoe Sizes
US UK Europe Japanese (cm)
5.5 5 38 23.5
6 5.5 38.7 24
6.5 6 39.3 24.5
7 6.5 40 25
7.5 7 40.5 25.5
8 7.5 41 26
8.5 8 42 26.5
9 8.5 42.5 27
9.5 9 43 27.5
10 9.5 44 28
10.5 10 44.5 28.5
11 10.5 45 29
11.5 11 46 29.5
12 11.5 46.5 30
12.5 12 47 30.5

 

Women’s Shoe Sizes
US UK Europe Japanese (cm)
4.5 2 34 21.5
5 2.5 35 22
5.5 3 35.5 22.5
6 3.5 36 23
6.5 4 37 23
7 4.5 37.5 23.5
7.5 5 38 24
8 5.5 38.5 24
8.5 6 39 24.5
9 6.5 39.5 25
9.5 7 40 25.5
10 7.5 41 26
10.5 8 42 26.5
11 9 43 28
12 10 44 29
13 11 45 30

 

Trick

ในกรณีที่ท่านจะนำไปเทียบไซส์สำหรับรองเท้าหุ้มส้น หรือหุ้มข้อต่างๆ ทาง thai-safetywiki แนะนำให้ทำการ บวกขนาดสำหรับปลายเท้า 1-1.5 เซนติเมตรโดยประมาณ สำหรับท่านที่มีความกว้างของเท้าปกติ แต่สำหรับท่านที่มีความกว้างของเท้ามากหรือเป็นคนที่มีเท้าแบน แนะนำให้บวกขึ้นอีก 2 เซนติเมตร เช่นถ้าท่านวัดเท้าตัวเองได้ 25 เซนติเมตร ต้องการสั่งซื้อรองเท้าหุ้มส้นเช่นรองเท้าเซฟตี้ รองเท้ากีฬา รองเท้าทำงานต่างๆ เราจะต้องสั่งซื้อขนาด 26-26.5 เซนติเมตร (JP) หรือขนาด 8, 8.5 (US) หรือ UK 7.5, 8 (UK) หรือ 41, 42 (EU) แล้วแต่ความเคยชินหรือความต้องการความกระชับแค่ไหน แต่สำหรับผู้ที่มีหน้าเท้ากว้าง หรือเท้าแบน จะต้องบวกอีก 2 เซนติเมตร ซึ่งก็คือขนาด 27 เซนติเมตร (JP) หรือ 9 (US) หรือ 8.5 (UK) หรือ 42.5 (EU)

โดยการเพิ่มขนาดนี้เพื่อป้องกันปลายเท้าชนบริเวณด้านหน้าของรองเท้า เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการเดิน หรือทำกิจกรรม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการเล็บหลุดหรือเล็บม่วงถ้ามีการสวมใส่รองเท้าเป็นเวลานาน

ที่มาของการวัดไซส์ และสูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า

เทียบเบอร์รองเท้า EUR

EU ย่อมาจาก Paris Point หรือ (Continental) European Sizing คือ หน่วยเทียบไซส์รองเท้าที่ได้รับความนิยมไม่แพ้หน่วยอื่น พบได้บ่อยในรองเท้าแบรนด์สัญชาติยุโรป ยกเว้นประเทศอังกฤษ ผู้ที่คิดค้นหน่วยเทียบไซส์รองเท้าประเภทนี้คือชาวฝรั่งเศส และนำมาใช้กันแพร่หลายในช่วงกลางศตวรรษที่ 19.

ที่มาของหน่วยวัด The Paris Point มาจากความยาวของรอยเย็บรองเท้า 1 ฝีเย็บ ที่มีความยาวประมาณ 6.6667 มิลลิเมตร โดยเบอร์รองเท้า EUR จะเริ่มต้นที่ 15 ฝีเย็บ และมีวิธีคำนวณด้วยการเอา 

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า EUR

(ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 6.6667

EUR SIZE     

 

เทียบเบอร์รองเท้า UK

UK ย่อมาจาก English Linear Measure คือ ระบบเทียบไซส์รองเท้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ภายใต้การคิดค้นของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่สอง ที่ทรงนำมาประยุกต์ใช้ในปี ค.ศ. 1324 เพื่อความสะดวกในการสั่งทำสั่งตัดรองเท้า

ที่มาของหน่วยวัด UK
กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงบัญญัติให้ความยาวของเม็ดข้าวบาร์เลย์ (Barleycorn) จำนวน 3 เม็ดเรียงกัน จะมีขนาดเท่ากับความกว้างของนิ้วหัวแม่โป้งเฉลี่ยของชายชาวอังกฤษจำนวน 1 นิ้ว เป็นอีกหนึ่งที่มาของหน่วยวัด “นิ้ว” (Inch) หรือประมาณ 25.4 มิลลิเมตรในปัจจุบัน

เบอร์รองเท้า UK ขยับความยาวขึ้นเบอร์ละ 1 Barleycorn หรือประมาณ 8.46 มิลลิเมตร

แล้วครึ่งเบอร์ ( 0.5 )  มาจากไหน ?
เบอร์รองเท้า UK แต่ละเบอร์จะมีความยาวเพิ่มขึ้นเบอร์ละ 1 Barleycorn หรือ 1/3 นิ้ว เทียบได้ประมาณ 8.46 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าแต่ละเบอร์มีความยาวห่างกันค่อนข้างเยอะ ในช่วงปี ค.ศ. 1880 จึงมีการเพิ่มขนาด “ครึ่งเบอร์” เพื่อให้ความยาวของเบอร์รองเท้า UK ขยับขึ้นทีละ 4.23 มิลลิเมตรแทน ช่วยทำให้ไซส์ UK ละเอียดขึ้น

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า UK ผู้ใหญ่ (สำหรับผู้ชาย)
(((ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 25.4) x 3) – 25

 

เทียบเบอร์รองเท้า US

US ย่อมาจาก American Linear Measure คือ ระบบขนาดรองเท้าที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งกำหนดขึ้นมาใช้ในช่วงกลางยุคศตวรรษที่ 19 หน่วยตารางเทียบไซส์รองเท้ามาตรฐาน US อิงกับระบบวัดของ UK เพียงแต่ไซส์รองเท้าของหน่วย US จะเริ่มต้นที่ขนาดเล็กที่สุดที่ 3 11/12 นิ้ว ในขณะที่ UK จะเริ่มที่ 4 นิ้ว

ที่มาของหน่วยวัด UK
เบอร์รองเท้า US ใช้พื้นฐานการวัดมาจากเบอร์รองเท้า UK เป็นหลัก อีกทั้งมีการแบ่งเป็นเบอร์เด็กและเบอร์ผู้ใหญ่เช่นกัน แตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่เบอร์รองเท้า US จะเริ่มต้นที่เบอร์ 1 US Adult Size มีความยาวพื้นในที่ 7 13/16 นิ้ว หรือราว 194.7 มิลลิเมตร จากนั้นเพิ่มทีละครึ่งไซส์ด้วยการเพิ่มความยาว 4.23 มิลลิเมตร ต่อครึ่งไซส์ ใกล้เคียงกับระบบ UK

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า US ผู้ใหญ่ (สำหรับผู้ชาย)
(((ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 25.4) x 3) – 24

ด้วยความที่ระบบ UK กับ US มีวิธีวัดที่ใกล้เคียงกัน ทำให้มีหลักการง่าย ๆ ที่นิยมใช้กันก็คือการเอาเบอร์รองเท้า UK ของตัวเอง “บวก  1” ก็จะได้เป็นเบอร์รองเท้า US ไปเลย แต่จริงๆแล้วในการผลิตรองเท้าในแต่ละแบรนด์สินค้ามีความต่างกัน จึงไม่แนะนำให้ใช้วิธี +1 จาก Size US

 

เทียบเบอร์รองเท้า JP

JP หรือ Japanese Linear Measure คือ ระบบเทียบเบอร์รองเท้าของญี่ปุ่นที่อิงกับหน่วยเซนติเมตร ทำให้เป็นหน่วยเทียบเบอร์รองเท้าที่ไม่ต้องแปลงค่าใด ๆ

การเลือกไซส์ ต้องเลือกอย่างไร ต้องเผื่อเท่าไหร่ ?

รองเท้าเซฟตี้แต่ละรุ่นหรือยี่ห้อ อาจมีการใช้หัวรองเท้าไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับดีไซน์ หัวรองเท้าเป็นแบบกว้าง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเผื่อ Size แต่ถ้าเป็นรองเท้าทรงสปอร์ต หัวรองเท้าส่วนใหญ่มักแคบ จึงควรเผื่อขนาดไว้อย่างน้อยครึ่ง Size และหากเป็นคนหน้าเท้ากว้าง ก็ควรจะเผื่อเพิ่มขึ้นอีก

 

บทความที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

วิธีเลือกรองเท้าเซฟตี้ รองเท้านิรภัย

วิธีวัดขนาด size รองเท้าเซฟตี้ด้วยตัวเอง

 

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลและภาพจาก

https://www.nanitalk.com/how-to-general/19171

https://www.mendetails.com/

ลงบ่อเกรอะเสียชีวิตได้อย่างไร จะรู้และป้องกันอย่างไร

แชร์บทความนี้

น่าเสียใจที่เราจะได้ข่าวเหตุการณ์ที่มีผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสูญเสียชีวิตขณะทำงานไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตามข่าวล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2020

อ่านต่อ »

หวยเกษียณคืออะไร งวดนี้! รางวัลที่ 1 รับ 1 ล้านบาท ไม่ถูกหวยได้เงินคืนเต็มจำนวน ใครบ้างที่มีสิทธิซื้อ เงื่อนไขอะไรบ้าง

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ด้วยพฤติกรรมที่ชื่นชอบในการเสี่ยงดวงของสังคมไทย ทำให้เมื่อวานนี้ (6

อ่านเพิ่มเติม »

กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera)

แชร์บทความนี้

กล้องถ่ายภาพความร้อนถูกนำมาใช้ในหลายๆ ด้าน เช่น เถ้ารถของท่านร้อนเกินไป กล้องถ่ายภาพความร้อน หรือ พื่อตรวจดูว่าเราป่วยหรือไม่ อาหารถูก…

อ่านเพิ่มเติม »